ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    014155 จำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่สุรชาติ ชายณรงค์1 มิถุนายน 2548

    คำถาม
    จำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่

            เรียน  ท่านอาจารย์ที่เคารพ

                     ผมเป็นคนไทยคนหนึ่งที่สนใจกฎหมาย และความเป็นไปในสังคมของเราขณะนี้และติดตามสถานการณ์อยู่เสมอครับ  ผม มีข้อสงสัยในการอธิบายกฏหมายของนักกฏหมายใหญ่ ๆ อยู่เรื่องหนึ่ง คือการสรรหาคณะกรรมการ ปปช.(ที่ว่าคณะกรรมการสรรหาจากตัวแทนพรรคการเมืองไม่ครบตามที่กำหนด) ที่หลายคนให้ข้อคิดเห็นว่าต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนจึงจะทำได้ แต่อีกฝ่ายหนึ่งบอกว่าไม่ต้องแก้ไข มีแค่ใหนก็ทำแค่นั้นตีความกฏหมายให้ปฏิบัติได้ ไม่ใช่ตีความให้เป็นปัญหา  ผมไม่ทราบว่ากฏหมายของเราเป็นอย่างไรถึงมีข้อยุติยากจริง ๆ กว่าจะจบสักเรื่องก็ถกเถียงโต้แย้งกันวุนวายไปหมด ตกลงข้อที่ถูกต้องจริง ๆ จำเป็นหรือไม่ต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยครับ

                      ด้วยความเคารพ/สุรชาติ

    คำตอบ

    เรียน คุณสุรชาติ

            ความเห็นในทางกฎหมายนั้น ต่างคนย่อมต่างมีวิธีคิด สุดแต่พื้นฐานของแต่ละบุคคล  ในทางกฎหมายจึงต้องตั้งองค์กรผู้มีอำนาจในการชี้ขาดให้เป็นที่สุด  ซึ่งเมื่อใดที่องค์กรดังกล่าวชี้ขาดแล้ว ก็ต้องปฏิบัติไปตามนั้น แต่ก็มิได้หมายความว่าจะมีคนเห็นด้วยไปทั้งหมด การโต้เถียงกันก็ยังมีอยู่ได้ เพียงแต่การปฏิบัติต้องปฏิบัติไปตามที่องค์กรสูงสุดชี้ขาด ที่เขาเรียกว่า "ยุติธรรม" นั้น ก็บอกอยู่ในตัวว่า เป็น "ธรรม" ที่ต้อง "ยุติ" กันเพียงนั้น ซึ่งบางครั้งก็อาจไม่เป็นธรรมได้เหมือนกัน  อย่างไรก็ตามแม้แต่ละคนจะมีสิทธิคิดเห็นแตกต่างกันได้ แต่ความคิดเห็นนั้นก็ต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วไป หรือหลักเกณฑ์ที่มีกฎหมายกำหนด  เหตุที่มีความยุ่งยากส่วนใหญ่มักจะเนื่องจากการไม่ยอมยุติ หรือบางทีก็ไปนึกถึงเรื่องศักดิ์ศรีมากกว่าจะคิดถึงความที่ควรจะเป็น

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    1 มิถุนายน 2548