ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    014138 การตีความกฏหมายนิติธรรม30 พฤษภาคม 2548

    คำถาม
    การตีความกฏหมาย

    เรียน  ท่านอาจารย์มีชัยทีเคารพ

             ขออนุญาตอาจารย์แสดงความคิดเห็น ดังนี้(ผมไม่ได้เรียนกฏหมายนะครับ)

             ๑. กรณีของผู้ว่า สตง. เมื่อศาลวินิจฉัยว่ากระบวนการสรรหาไม่ถูกต้องตั้งแต่ต้น แสดงว่าการแต่งตั้งท่านผู้ว่า ฯ คนเดิม โมฆะ ใช่หรือไม่ ถ้าใช่ ก็แสดงว่ายังไม่ได้เป็นผู้ว่า ฯ เมื่อเป็นเช่นนี้จะต้องลาออกทำไม หรือ ต้องมีกระบวนการอะไรอีกที่จะต้องให้ผู้ว่าคนเก่าพ้นตำแหน่ง เพราเมื่อไม่ได้รับตำแหน่ง จะต้องรอให้พ้นตำแหน่งอย่างไร ผมเข้าใจผิดหรือเปล่าครับ

             ๒. ผมไม่เข้าใจว่าการที่กฏหมายที่เขียนว่า"ลงโทษจำคุก" และ"ลงโทษถึงที่สุดให้จำคุก" น่าจะมีความหมายหรือสื่อความหมายแตกต่างกัน แต่เท่าที่ผมฟังคำพิพากษาของศาล(บางคดี) จะให้ความหมายเหมือนกัน เจตนารมย์ของกฏหมายน่าจะปรากฏชัดแจ้งในการประชุมยกร่างกฏหมายและการประชุมสภาผู้แทนราษฏรพิจารณากฏหมายดังกล่าว ทำไมเวลาวินิจฉัยจึงไม่มีการอ้างอิงบ้างเลย ขณะนี้ประชาชนอย่างผมค่อนข้างหงุดหงิดเกี่ยวกับวิกฤติการทางกฏหมายในประเทศไทย และเหบื่อหน่าย ความดื้อรั้นของผู้หลักผู้ใหญ่จังเลยครับ จะมีกลไกได ๆ หรือไม่ที่จะป้องกันมิให้เกิดวิกฤติการทางด้านกฏหมาย ซ้ำ ๆ ซาก ครับ

               ขอบพระคุณครับ/นิติธรรม

    คำตอบ

    เรียน นิติธรรม

        1. ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ากระบวนการสรรหาและการให้ความเห็นชอบไม่ถูกต้อง และถือว่าไม่ได้ดำรงตำแหน่งมาแต่ต้น  ที่เป็นปัญหาก็เพราะศาลรัฐธรรมนูญไม่พูดให้ชัดเจนว่าการแต่งตั้งนั้นมีผลอย่างไร จึงทำให้เกิดข้อกังขากันอยู่ร่ำไป  เมื่อมีใครไปถามศาลรัฐธรรมนูญ ๆ ก็ตอบว่าที่ไม่ได้พูดไว้ให้ชัดเจนก็เพราะไม่ได้ถามมา เรื่องมันเป็นอย่างนี้   ศาลรัฐธรรมนูญจะมีเจตนาอย่างไรก็ไม่รู้ แต่เดาเอาว่า (ซึ่งอาจถูกหรือผิดก็ได้) ศาลรัฐธรรมนูญคงหลีกเลี่ยงไม่อยากวินิจฉัยอะไรให้กระทบถึงพระบรมราชโองการที่โปรดเกล้าฯแต่งตั้งคุณหญิงจารุวรรณ เพราะเห็นว่าเมื่อวินิจฉัยเพียงเท่านี้แล้ว องค์กรที่เกี่ยวข้องก็ย่อมต้องไปสรรหาและให้ความเห็นชอบกันใหม่  ซึ่งผลก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ เรื่องจึงทำให้เกิดกังขาและคาราคาซังอยู่

          3. ความที่มีปัญหากันอยู่คือความที่ว่า "ต้องคำพิพากษาให้จำคุก" กับ ความที่ว่า "ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษา" หรือ "ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก"  ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญท่านวินิจฉัยว่ามีความหมายเหมือนกัน  ซึ่งนักกฎหมายอีกส่วนหนึ่งเห็นว่า ความดังกล่าวมีความชัดเจนอยู่ในตัวว่าแตกต่างกัน และกฎหมายประสงค์จะให้แตกต่างกัน  แต่เมื่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญผูกพันองค์กรทุกองค์กร จึงจำเป็นต้องถือปฏิบัติกันตามนั้น  ทางออกของคนออกกฎหมายต่อไปในวันข้างหน้าก็คือ ต้องเขียนเสียให้ชัด เช่น "ต้องคำพิพากษาให้จำคุก ไม่ว่าจะได้รับโทษจำคุกหรือไม่ก็ตาม"  หรือถ้าเขียนอย่างนี้แล้วศาลยังตีความว่าเหมือนกันอีก  ก็คงต้องเขียนให้ชัดยิ่งขึ้น ทำนองว่า " ต้องคำพิพากษาให้จำคุกไม่ว่าจะได้รับโทษจำคุกจริงหรือศาลสั่งให้รอลงอาญาก็ตาม สาบานก็ได้ว่าต้องการอย่างนั้นจริง ๆ ให้ตายเถอะ"   ทีนี้ถ้าท่านยังแปลว่าเหมือนกันอีก ทุกคนก็ต้องต้องร้องพร้อม ๆ กันว่า "ปลงเสียเถิดแม่จำเนียร"

     

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    30 พฤษภาคม 2548