ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    014101 สถานภาพของป.ป.ช.หลังศาลฎีกา แผนกคดีอาญานักการเมืองตัดสินว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และทุจริตขึ้นเงินเดือนตัวเอง แต่รอลงอาญานันทิช26 พฤษภาคม 2548

    คำถาม
    สถานภาพของป.ป.ช.หลังศาลฎีกา แผนกคดีอาญานักการเมืองตัดสินว่าปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และทุจริตขึ้นเงินเดือนตัวเอง แต่รอลงอาญา

    อยากเรียนถามอาจารย์ว่าป.ป.ช.จะทำหน้าที่ต่อได้หรือไม่ หรือต้องพ้นจากตำแหน่งได้เลยทันที หลังผลตัดสินออกมาว่าผิด แม้ว่าจะให้รอลงอาญา

    ดูเหมือนบ้านเมืองจะเกิดสุญญากาศหรือไม่ เพราะถ้าป.ป.ช.เกิดแสดงสปิริตลาออกขึ้นมา แล้วต้องเข้าสู่กระบวนการสรรหาใหม่ ก็ต้องไปติดที่การสรรหาจะเกิดขึ้นไม่ด้ เพราะตอนนี้พรรคการเมืองมีเพียง 4 พรรค ขณะที่รธน.ให้มี 5 พรรค ก็ต้องไปสู่ขั้นการแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งจะกลายเป็นหนังเรื่องยาวขึ้นมาทันที ระหว่างนี้กระบวนการตรวจสอบ ถอดถอนก็ต้องเป็นหมันอย่างน้อยก็เป็นปี  ขณะเดียวกันถ้าป.ป.ช.ไม่ลาออก แล้วยืนยันทำงานต่อ สังคมก็ไม่เชื่อถือไปแล้ว จะทำงานได้อย่างไร  อาจารย์คิดว่าพอจะมีทางออกเรื่องนี้อย่างไร

    หลังจากนี้เชื่อว่าอาจมีคนหยิบยกกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญและก.ก.ต.ขึ้นเงินเดือนตัวเอง ส่งให้ศาลพิจารณาซ้ำอีก  ถ้าผลคำวินิจฉัยออกมาเหมือนกันบ้านเมืองจะเป็นอย่างไร ในเมื่อองค์คณะที่ต้องทำหน้าที่ตีความรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ไม่ได้ องค์กรที่ทำหน้าที่จัดการเลือกตั้ง โดยเฉพาะต้นปีหน้าต้องเลือกตั้งส.ว. และกลางปีนี้ต้องจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นอีก

    ขอถามแค่นี้ก่อนค่ะ ขอบคุณค่ะ

     

    คำตอบ

       1. กระบวนการในการตรวจสอบ ปปช.ตามรัฐธรรมนูญ กำหนดไว้ ๒ ระดับ คือ ระดับที่เอาออกจากตำแหน่ง  หรือการถอดถอน ตามมาตรา ๒๙๙ ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้มีสิทธิเข้าชื่อกันยื่นต่อประธานวุฒิสภาเพื่อให้มีมติถอดถอน  กับระดับที่จะลงโทษโดยไม่เกี่ยวกับการถอดถอน ตามมาตรา ๓๐๐ ซึ่งทั้ง สส.และ สว.มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อให้ลงโทษเมื่อเห็นว่า ปปช.กระทำความผิด ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่เกี่ยวกับการถอดถอน

            เมื่อบัดนี้ศาลฎีกาฯได้มีคำพิพากษาว่า ปปช.ทั้งคณะกระทำความผิดมีโทษจำคุก แต่โทษจำคุกให้รอการลงอาญาไว้  ปัญหาจึงมีว่า ปปช.พ้นจากตำแหน่งโดยอัตตโนมัติหรือไม่  ซึ่งเมื่อดูกฎหมายแล้ว เห็นมีแต่กฎหมายของ ปปช.ที่กำหนดว่า ปปช.พ้นจากตำแหน่งเมื่อ "ต้องคำพิพากษาให้จำคุก"  ซึ่งความที่ว่า "ต้องคำพิพากษาให้จำคุก" นั้น เคยเข้าใจกันในหมู่นักกฎหมายส่วนไม่น้อยว่า หมายถึงมีคำพิพากษาให้จำคุก โดยไม่จำเป็นต้องถูกจำคุกจริง ๆ คือแม้ศาลจะสั่งให้รอลงอาญา ก็เข้าข่ายแล้ว เพราะถ้าเป็นกรณีที่ต้องได้รับโทษจำคุกจริง ๆ กฎหมายจะเขียนว่า "ได้รับโทษจำคุก" บ้าง "ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล" บ้าง  แต่ปรากฏว่าเมื่อไม่นานนี้ ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยในคดีของคุณเนวิน ว่า คำที่ว่า "ต้องคำพิพากษาให้จำคุก" นั้น เมื่อศาลรอลงอาญา ก็ถือไม่ได้ว่า เป็นการ "ต้องคำพิพากษาให้จำคุก" กล่าวคือ มีความหมายว่าต้องได้รับโทษจำคุกจริง ๆ ดังนั้นตราบที่ยังไม่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเป็นอย่างอื่น จึงต้องถือเอาเป็นที่ยุติไปพลางก่อนว่า กรณีของ ปปช.ยังไม่เข้าข่ายที่จะพ้นจากตำแหน่งตามที่กฎหมายกำหนดไว้

           แต่ถ้าจะถามว่าแล้วจะยังปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้หรือไม่ ก็ต้องไปพิจารณารัฐธรรมนูญมาตรา ๒๙๗ วรรคสอง ซึ่งกำหนดว่า "กรรมการ ปปช.ต้องเป็นผู้ซึ่้งมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์" นอกจากนั้นในการปฏิบัติหน้าที่ของ ปปช.ซึ่งมีอำนาจในการชี้ว่าใครจะทุจริตคิดไม่ชอบ จึงจำเป็นต้องอยู่ในภาวะที่ "ได้รับความเชื่อถือ" หรือ "ไว้วางใจ"  จริงอยู่การกระทำของ ปปช.ที่ถูกลงโทษนั้น เมื่อมองสภาพของความทุจริตที่มีในสังคมแล้ว ก็น่าอนาถใจนัก เพราะต้องมาถูกลงโทษจากผลการกระทำอย่างเปิดเผย ตรง ๆ โดยเข้าใจว่ามีอำนาจกระทำได้  ด้วยเงินที่เพิ่มขึ้นเดือนละ ๔ หมื่นบาท  แต่เมื่อศาลฎีกาพิพากษาเช่นนั้นแล้ว จึงเป็นธรรมดาที่สังคมจะขาดความไว้วางใจ และเมื่อไม่ได้รับความวางใจ การทำงานต่อไปก็ย่อมเป็นไปได้ยาก ทั้งนี้ยังไม่ต้องพูดถึงความขัดข้องที่จะมีในเงื่อนแง่ของกฎหมายที่จะมีอยู่ต่อไปอีกมากมาย   ดังนั้นถามถามว่า แล้วจะทำหน้าที่ต่อไปได้หรือไม่  คำตอบก็คือ ยังสงสัยอยู่  และถ้าถามต่อไปว่าแล้วจะทำอย่างไรต่อไป คำตอบก็คือ ต้องสุดแต่ความคิดของแต่ละคน ที่จะรับรู้ถึงวิบากกรรมทีจะเกิดขึ้นในวันหน้ามากน้อยเพียงใด

           ในส่วนที่ว่าถ้า ปปช.ลาออกทั้งหมด การสรรหา ปปช.ใหม่จะทำอย่างไร เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดเงื่อนไขของคณะกรรมการสรรหาไว้ตายตัว คือ ต้องมีกรรมการ ๑๕ คน และต้องมีผู้แทนพรรคการเมืองทุกพรรคที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคละหนึ่ง คนซึ่งเลือกกันเองให้เหลือห้าคน  แต่บัดนี้ในสภาผู้แทนมีพรรคการเมืองเพียง ๔ พรรคเท่านั้น เงื่อนไขทั้ง ๒ อย่าง จึงไม่มีทางจะทำให้ครบถ้วนได้ ทั้งในจำนวน ๑๕ คน (เพราะอย่างมากก็มีได้ ๑๔ คน) และผู้แทนพรรคการเมืองก็มีได้อย่างมากเพียง ๔ คน

          อันที่จริงปัญหานั้นเกิดขึ้นแล้ว แม้ ปปช.จะไม่ลาออกหมด เพียงลาออก ๑ คน ดังที่เป็นข่าว ก็เกิดปัญหาแล้วว่าจะสรรหาเพื่อแต่งตั้งแทนคนที่ลาออกกันได้อย่างไร  ถ้าตีความตามตัวอักษรโดยเคร่งครัด การสรรหาก็ทำไม่ได้ เพราะไม่มีทางที่จะหากรรมการสรรหาได้ครบตามที่กำหนดไว้ ทางออกก็คือต้องไปแก้ไขรัฐธรรมนูญเสียก่อน แต่หลักในการตีความกฎหมายนั้น ถือกันว่า เมื่อเกิดปัญหาขึ้น ต้องตีความในทางที่จะให้เกิดผลปฏิบัติได้  ซึ่งถ้าถือหลักเช่นนั้น เมื่อจำเป็นต้องสรรหาโดยหลีักเลี่ยงไม่ได้ ก็ต้องตีความว่าเมื่อมีพรรคการเมืองอยู่ในสภาเท่าใด ก็ต้องเลือกไปเพียงเท่านั้น คือเมื่อมีเพียง ๔ คน ก็ต้องเลือกให้ไปทำหน้าที่ตามที่มีอยู่   ที่ว่ามานั้่นก็เป็นเพียงความคิดเห็น แต่ถึงเวลาเข้าจริง คนที่เกี่ยวข้องเขาจะคิดกันอย่างไร เขาจะอยากทำอย่างไร ก็สุดจะเดา เพราะเดี๋ยวนี้อะไร ๆ ก็เกิดขึ้นได้เสมอ  ใกล้จะเป็นพาราสาวัตถีเข้าไปทุกทีแล้ว

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    26 พฤษภาคม 2548