ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    049929 สหกรณ์สมชาย27 มีนาคม 2557

    คำถาม
    สหกรณ์

    เรียน อ.มีชัยที่เคารพ

    คราวก่อนข้อเท็จจริงไม่ชัดก็เลยทำให้สับสน คราวนี้ถามใหม่ครับ

    ปกติสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ กู้เงินจากสหกรณ์ จะต้องมีสมาชิกคนอื่นเป็นผู้ค้ำประกัน เมื่อผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ เนื่องจากหนีงาน ถูกไล่ออก  หรือทำผิดกฎหมายจนต้องรับโทษจำคุก ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดชอบ (ส่วนกรณีผุ้กู้ตายนั้นผู้ค้ำฯไม่ต้องรับผิดชอบ เพราะจะมีประกันชีวิตอยู่แล้ว)

    เนื่องจากมีความเสี่ยงเช่นนี้ สหกรณ์จึงจัดให้มีประกันภัยความเสี่ยงเพื่อให้ผู้รับประกันภัย ชำระหนี้ให้สหกรณ์ออมทรัพย์ แทนผู้ค้ำประกัน  โดยให้ผู้กู้จ่ายเบี้ยประกัน ในกรณ๊ ผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ เนื่องจากหนีงาน ถูกไล่ออก  หรือทำผิดกฎหมายจนต้องรับโทษจำคุก

    เบี้ยประกันที่จ่ายคิดตามวงเงินกู้ ซึ่งปรากฎว่าเป็นเงินจำนวนมาก และอายุกรมธรรม์เพียง ปีเดียว อีกทั้งโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวมีน้อย  สหกรณ์จึงได้ออกระเบียบตั้งกองทุนผุ้ค้ำประกัน เพื่อเอาเงืนกองทุนช่วยเหลือผู้ค้ำประกัน โดยหักเองเงินจากสัญญากู้เงินบางส่วน(0.25%) เข้าไว้เป็นกองทุน และหักจากทุกสัญญาเงินกู้ที่สมาชิกขอกู้เงิน   เพื่อจ่ายช่วยเหลือผู้ค้ำประกันเมื่อเกิดกรณีผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ เนื่องจากหนีงาน ถูกไล่ออก  หรือทำผิดกฎหมายจนต้องรับโทษจำคุก โดยแบ่งเบาความรับผิดของผู้ค้ำประกันได้บางส่วน

    ต่อมาได้มีคำวินิจฉัยของนักกฏหมายของกรมส่งเสริมสหกรณ์ว่า การตั้งกองทุนผู้ค้ำประกัน มีลักษณะเป็นสัญญาสองฝ่ายระหว่างสหกรณ์-สมาชิด(ที่กู้เงิน) ที่มีการกำหนดเงื่อนไขการชำระเงิน และมีการส่งเงินที่มีลักษณะเป็นเบี้ยประกัน  จึงมีลักษณะเป็นการประกันภัย ที่สหกรณ์ไม่สามารถทำกิจการรับประกันภัยได้

    สหกรณ์จึงพยายามออกระเบียบใหม่ ที่มีการช่วยผู้ค้ำประกันอย่างเดิม เพียงแต่กำหนดที่มาของเงินกองทุนเสียใหม่  เช่นเพิ่มค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยนสัญญากู้เงิน(กรณีสมาชิกที่มีการกู้เงินอยู่แล้วยังชำระหนี้เดิมไม่หมด แล้วมาขอกู้เงินเพิ่ม)เงินกู้ทุกสัญญา จะมีการหัก 0.25 % ของเงินกู้ที่ได้รับนั้น นำเข้าฝากในบัญชีของสมาชิกที่กู้เงิน และมีเงื่นไขว่า ให้บริจาคเฉพาะ"ดอกเบี้ย" เพื่อนำเข้ากองทุน

    คำถาม

    1. การคิดค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยนสัญญา(ที่แต่เดิมไม่เคยมี)  สหกรณ์สามารถทำได้ทันที หรือต้องออกระเบียบรองรับเสียก่อน

    2.เฉพาะ"ดอกเบี้ย" ที่บริจาคเข้ากองทุนนั้น เนื่องจากเป็นเงินเป้นดอกผลของเงินฝากของสมาชิก   ยังมีลักษณะเป็น เบี้ยประกันอยู่หรือไม่

    3.การตั้งกองทุนต่างๆ จะมีกฎหมายว่าด้วยการตั้งกองทุนไว้เฉพาะ การพยายามตั้งกองทุนผู้ค้ำฯ มีลักษณะที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการตั้งกองทุนหรือไม่

    ขอบพระคุณครับ

    คำตอบ

    1. ถ้าไม่มีระเบียบ แล้วจะอาศัยอำนาจอะไรไปหักเงินจากเขาได้ล่ะ

    2. ถ้าเป็นการบริจาค ก็ไม่ใช่เบี้ยประกันภัย

    3. ไม่มีกฎหมายอะไรกำหนดว่าจะต้องทำอย่างไร  เว้นแต่เป็นกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบางอย่างที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้น

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    27 มีนาคม 2557