ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    052535 ในกรณีที่ สนช.ได้ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเป็นครั้งที่สอง ตาม ม.267 ว.5 ของ รธน. แล้วนั้น สนช.หรือ องค์กรอิสระหรือบุคคลใด จะใช้สิทธิยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้วินิจฉัยว่า พรป.ดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้อีกหรือไม่ลูกศิษย์ท่านอาจารย์6 กรกฎาคม 2560

    คำถาม
    ในกรณีที่ สนช.ได้ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเป็นครั้งที่สอง ตาม ม.267 ว.5 ของ รธน. แล้วนั้น สนช.หรือ องค์กรอิสระหรือบุคคลใด จะใช้สิทธิยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้วินิจฉัยว่า พรป.ดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญได้อีกหรือไม่
    ในข้อนี้ผมได้ตรวจดูคำให้สัมภาษณ์( 5 ก.ค.60)ของท่านอาจารย์ให้ความเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย กกต.ทำนองว่า สามารถส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้อีกก็ต่อเมื่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า.กกต.มีผลใช้บังคับแล้ว ด้วยความเคารพต่อความเห็นของท่านอาจารย์ครับ ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว ในกรณีศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า พรป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ เช่นนี้ ก็ต้องตั้ง กมธ.วิสามัญ จำนวน 11 คน ตาม ม.267 ว.5 เพื่อพิจารณาแล้วเสนอความเห็น ซึ่งถ้าผลมติ สนช.เห็นชอบร่าง พรป.ดังกล่าวให้ใช้เป็นกฎหมาย (คือตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแล้ว) ปัญหาว่า ถ้ามีการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอีกภายหลังมีผลใช้บังคับแล้ว ในชั้นนี้ ผมเชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญก็คงต้องวินิจฉัยว่า พรป.ดังกล่าว ขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญ ดังนั้น เมื่อเป็นแล้วเช่นนี้ ม.267 วรรคห้า จะมีไว้เพื่อประโยชน์อะไร ส่วนตัวกลับมองว่า บทบัญญัติตาม ม.267 ว.5 นั้นประสงค์ให้องค์กรที่มีอำนาจวินิจฉัยในวาระแรกเฉพาะร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญทั้ง 10 ฉบับ ว่า ฉบับใดไม่ตรงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ(ไม่ขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญ) หรือไม่นั้น เป็นอำนาจของ สนช.เท่านั้น กราบเรียนท่านอาจารย์ ไม่ทราบว่าความเห็นของกระผมถูกต้องไหมครับ     
    คำตอบ
    ม. ๒๖๗ วรรค ๕ เป็นขั้นตอนก่อนที่จะส่งร่าง พรบ.ให้นายกฯนำขึ้นทูลเกล้า  ซึ่งมาตราดังกล่าวกำหนดให้มีคณะกรรมาธิการร่วมกันจำนวน ๑๑ คน ไปร่วมกันพิจารณาตามข้อทักท้วงขององค์กรอิสระที่เกี่ยวข้องหรือคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อตกลงกันว่าอย่างไรก็นำไปเสนอต่อ สนช. ๆ จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ได้ แต่ถ้าจะไม่เห็นด้วยจะต้องมีคะแนนเกิน ๒ ใน ๓  เมื่อเห็นด้วยแล้ว หากนายกรัฐมนตรี หรือสมาชิกจำนวน ๑ ใน ๑๐ อาจส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ ตามมาตรา ๑๔๘ ของ รธน.  ข้อที่คุณว่ามาน่ะ เป็นขั้นตอนที่จะตั้งกรรมาธิการร่วมกัน คือ ถ้าองค์กรอิสระหรือ กมธ เห็นว่าไม่ตรงตามเจตนารมณ์  ก็ให้ไปพิจารณาร่วมกันในกรรมาธิการ
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    6 กรกฎาคม 2560