ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    046804 การนับระยะเวลาราชการเพื่อการคำนวณบำเหน็จบำนาญพลเรือนสามัญ27 เมษายน 2555

    คำถาม
    การนับระยะเวลาราชการเพื่อการคำนวณบำเหน็จบำนาญ

    เรียน ท่านอาจารย์มีชัย

    (เดิม) ดิฉันเป็นข้าราชการ กทม. ตั้งแต่ปี 2551-2554 อายุราชการ 3 ปี ต่อมาได้ลาออกเพื่อมาบรรจุเป็นข้าราชการใหม่ : ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ

    จึงขอเรียนปรึกษาท่านว่า จะสามารถนำอายุราชการเดิมของ กทม. มานับระยะเวลาราชการเพื่อการคำนวณบำเหน็จบำนาญ ตามพระราชบัญญัติกองทุน บำเหน็จ บำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 มาตรา 38 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า"ข้าราชการที่ออกจากราชการ ถ้ากลับเข้ารับราชการใหม่ตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ ให้นับเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญตอนก่อนออกจากราชการต่อเนื่องกับการรับราชการ ในตอนหลังได้ เว้นแต่ผู้นั้นถูก ปลดออก หรือไล่ออกจากราชการ... " ได้หรือไม่

    ขอขอบพระคุณท่านเป็นอย่างยิ่งค่ะ

    คำตอบ
    การที่คุณกลับเข้ารับราชการใหม่ เป็นการกลับโดยวิธีสอบบรรจุใหม่ จึงเป็นปัญหาว่าจะถือว่าเป็นการกลับเข้ารับราชการใหม่หรือไม่ เพราะถ้าคุณสอบได้แล้วและร้องขอกลับเข้ารับราชการใหม่ ก็จะมีสิทธินับอายุต่อเนื่องกัน  อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ควรถามกรมบัญชีกลางซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่โดยตรงเสียก่อน บางทีเขาอาจคิดอีกอย่างหนึ่งก็ได้
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    27 เมษายน 2555