รบกวนสอบถามเพิ่มเติมค่ะ พอดีมีสนใจอยากจะเรียนกฏหมายเพิ่มเติมค่ะ เลยได้เข้ามาในเว็บไซด์ของอาจารย์ค่อนข้างบ่อยส่วนใหญ่จะเป็นผู้อ่านค่ะ จากกระทู้ที่ 046779 ค่ะ ภรรยาคนที่ 2 ที่จดทะเบียนสมรสซ้อน มีอายุความการฟ้องร้องหรือเปล่าค่ะ เพราะที่อ่านดูเหมือนจะผ่านมา 30 กว่าปีแล้วและสามีก็ได้หย่ากับภรรยาคนที่ 1 มาในระยะเวลาใกล้เคียงกันต่างกัน 2 ปีแล้วด้วยค่ะ และจากที่อ่านนะค่ะภรรยาคนที่ 2 เขาไม่ได้เรียกร้องสิทธิในบำเหน็จตกทอด ถ้าบุตรของภรรยาคนที่ 1 จะฟ้องร้องฟ้องได้ในกรณีให้ศาลสั่งให้ทะเบียนสมรสเป็นโมฆะและฟ้องเรียกร้องมรดกใช่หรือเปล่าค่ะ แล้วถ้าในกรณีบุตรของภรรยาคนที่ 1 ตลอดระยะเวลาไม่เคยมาเลี้ยงดูบิดาเลย และทราบมาตลอดว่าทะเบียนสมรสของบิดาและภรรยาคนที่ 2 ซ้อน แต่ไม่ดำเนินการใด ๆ พอบิดาเสียชีวิตจึงได้ดำเนินการฟ้อง การนิ่งเฉยของบุตรของภรรยาคนที่ 1 ถือเป็นการยอมรับหรือเปล่าค่ะ จะมีผลทางกฏหมายและยังฟ้องร้องได้หรือไม่ค่ะ (ข้อนี้เพื่อน ๆ ช่วยกันตั้งคำถามค่ะ)เพราะถ้าตลอดระยะเวลา 30 กว่าที่หย่าจากภรรยาคนที่ 1 แล้วบิดาและภรรยาคนที่ 2 มีทรัพย์สมบัติที่ทำร่วมกันมา บุตรของภรรยาคนที่ 1 จะสามารถฟ้องร้องเอาทรัพย์สินในส่วนนั้นได้หรือไม่ค่ะ
ถ้าในกรณีที่บุตรคนที่ 1 ไปพูดกับเพื่อน ๆ บุตรคนที่ 2 ถ้าเจตนาชี้แจงก็อาจไม่เข้าข่ายหมิ่นประมาท ในที่นี้ต้องดูเจตนาในการพูดของเขาใช่หรือไม่ค่ะว่าเขาพูดเพื่ออะไร(ดูยากค่ะ) แต่สมมติว่าเขาประกาศจะต้องการให้บุตรภรรยาคนที่ 2 เสียหายต้องการให้อยู่ในที่ทำงานไม่ได้โดยนำเรื่องของภรรยาคนที่มา 2 มาเล่าให้เพื่อน ๆ ของบุตรคนที่ 2 ฟัง รวมถึงเล่าให้บุคลลอื่น ๆ ฟัง เช่นนี้จึงถือว่าเป็นการเจตนาหมิ่นประมาทในทางกฏหมายใช่หรือไม่ค่ะ (เป็นการยกตัวอย่างนะค่ะ เพราะในปัจจุบันการพูดจาที่ทำให้คนอื่นเดือนร้อนมีค่อนข้างมากเลยค่ะ)
สำหรับกฏหมายครอบครัวในปัจจุบันจะหาอ่านได้ที่ไหนค่ะ เพราะมันเป็นกฏหมายใกล้ตัวที่ควรจะทราบและมีความสำคัญในชีวิตประจำวันค่ะ
ต้องกราบขอบพระคุณอาจารย์ที่สละเวลามาให้ความรู้กับพวกเรานะค่ะ
อะไรที่เป็นโมฆะ จะอ้างขึ้นมาเมื่อไรก็ได้ ไม่มีอายุความ แต่ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สมบัติที่ภรรยาคนที่ ๒ ร่วมกันกับสามีหามาได้นั้น ฐานะทั้งสองฝ่ายอาจตกอยู่ในลักษณะของการเป็นหุ้นส่วนกัน เมื่อได้อะไรมาก็ต้องแบ่งกันคนละครึ่ง
ความผิดฐานหมิ่นประมาท ถือหลักสำคัญอยู่ที่ใส่ความผู้อื่น ในประการที่อาจทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง
กฎหมายครอบครัว อ่านได้จาก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๕ ว่าด้วยครอบครัว