ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    045945 การฟ้องคดีนายสุรศักดิ นาคนาคา4 ธันวาคม 2554

    คำถาม
    การฟ้องคดี

    กราบเรียนท่านอาจารย์ที่เคารพอย่างสูง

    กระผมมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการฟ้องร้องดำเนินคดีฯอยากกราบเรียนถามท่านอาจารย์รายละเอียดมีดังนี้ครับ

    คณะกรรมการดำเนินการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูแห่งหนึ่งไปดำเนินการธุรกิจซื้อขายสลากกินแบ่งรัฐบาลต่อมารู้ว่าถูกฉ้อโกงจึงได้ดำเนินการแจ้งความดำเนินคดีกับบริษัทคู่สัญญา ในคดีอาญา ตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 83,341,343และตามกกหมายพระราชกำหนดฉ้อโกงประชาชน พ.ส.2527เรื่องนี้มีความเสียหายเกิน 100 ล้านบาทจึงมีกรมสอบสวนคดีพิเศษ( DSI)เข้าสอบสวนและร่วมดำเนินการด้วย เรื่องคดีความยังอยู่ในชั้นพนักงานสอบสวน ต่อมาคณะกรรมการดำเนินการอยากจะฟ้องร้องดำเนินคดีทางแพ่งด้วยทำให้เกิดข้อคิดเห็นที่แตกต่างกันจึงขอเรียนถามท่านอาจารย์ดังนี้ครับ

    1.ควรดำเนินคดีทางอาญาให้สิ้นสุดลงก่อนแล้วค่อยดำเนินฟ้องร้องคดีทางแพ่งต่อหรือว่าดำเนินคดีฟ้องร้องทั้งทางอาญาและทางแพ่งไปพร้อมๆกัน

    2.ในหลักกฏหมายการฟ้องร้องทางอาญาและทางแพ่งผู้พิพากษาเป็นคนละองค์คณะฯจะมีวิธีการดำเนินคดีอย่างไร?

    3.ในด้านกฏหมายเป็นไปได้หรือไม่คำพิพากษาของศาลเป็นไปคนละทิศคนละทาง(อาญาไปทางคดีแพ่งไปทาง)เพราะขนาดเรื่องเดียวกัน ศาลชั้นต้นไปทาง ศาลอุทธรณ์ไปทาง ศาลฏีกากลับไปเหมือนชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ก้เคยปรากฏให้เห็นบ่อยๆ

    4.ความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินคดีทางอาญากับการดำเนินคดีทางแพ่งในหลักกฏหมายตามที่กระผมกราบเรียนถามท่านอาจารย์มานี้เขามีกระบวนการพิจารณาคดีอย่างไร?และส่งผลถึงกันและกันอย่างไร?

    5.กฏหมายมาตรา 157.(การทุจริต,การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ฯ)สามารถนำมาใช้กับองค์กร(สหกรณ์ออมทรัพย์ครู)ได้หรือไม่?เนื่องจากไม่ได้เป็นหน่วยงานราชการแต่เป็นตัวแทนข้าราชการครูมาปฏิบัติหน้าที่และบริหารเงินของข้าราชการครูโดยเป็นคณะกรรมการดำเนินการกิจการสหกรณ์

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    อ.สุรศักดิ์ นาคนาคา

    คำตอบ

    1. จะแยกกันดำเนินคดีก็ได้ ไม่จำเป็นต้องรอคดีอาญา เพราะถ้ามัวรอก็อาจมีปัญหาเรื่องอายุความได้

    2 เป็นคนละศาลกัน  คดีแพ่งก็ต้องฟ้องต่อศาลทื่มีเขตอำนาจทางแพ่ง ส่วนคดีอาญาก็ต้องฟ้องในศาลที่มีเขตอำนาจในทางอาญา  แต่ถ้าเป็นต่างจังหวัด บังเอิญศาลจังหวัดมีอำนาจทั้งในทางแพ่งและทางอาญา

    3. เป็นคนละทางอยู่แล้ว  เพราะในคดีอาญา สาระสำคัญอยู่ที่ว่าจำเลยทำผิดอาญาหรือไม่  ส่วนในทางแพ่ง เป็นเรื่องการฟ้องเรียกเงินและค่าเสียหาย เช่น นาย ก.กู้เงินจากนาย ข. โดยอ้างว่าจะนำไปรักษาพ่อที่ป่วย นาย ข.สงสารเลยให้กู้ไป ถึงเวลาไม่ใช้เงิน นาย ข.ฟ้อง นาย ก. เป็นคดีอาญาฐานฉ้อโกง และฟ้องคดีแพ่งเรียกเงินที่กู้ไปคืนพร้อมด้วยดอกเบี้ย  ในทางอาญา ศาลอาจตัดสินว่า นาย ก. ไม่ได้ฉ้อโกง จึงยกฟ้อง  แต่ในทางแพ่งศาลอาจตัดสินว่า นาย ก.กู้เงินนาย ข.ไปจริง จึงตัดสินให้ นาย ก.ใช้เงินคืนพร้อมด้วยดอกเบี้ย

    4. อาจส่งผลถึงกันหรือไม่ก็ได้ ลองคุยกับทนายความเขาดูเถอะ

    5. กรณีสหกรณ์ ไม่ได้ใช่เรื่องการปฏิบัติงานในหน้าที่ เป็นเรื่องของความสมัครใจ ระหว่างกัน เป็นเรืองบุคคลต่อบุคคล ไม่ใช่เรื่องราชการ จึงใช้ มาตรา ๑๕๗ ไม่ได้


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    4 ธันวาคม 2554