ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    045926 รถไฟเก็บค่าที่จอดรถข้องใจ1 ธันวาคม 2554

    คำถาม
    รถไฟเก็บค่าที่จอดรถ

    จากการที่ตั้งแต่สมัยนายสมัคร  สุนทรเวช  เป็นนายกรัฐมนตรี  ได้มีการออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยหลายมาตรการ เช่น ใช้ไฟฟ้า  ประปาฟรี รถเมล์ฟรี และรถไฟฟรี

    เนื่องจากเป็นผู้ใช้บริการรถไฟเป็นประจำโดยจะขึ้นจากจังหวัดฉะเชิงเทรามาทำงานที่ กทม. (หัวลำโพง) เสียค่าโดยสาร 13 บาท ต่อมาเมื่อมีรถไฟฟรีก็ไม่เสียค่าโดยสาร  แต่หลังจากมีรถไฟฟรีไม่นานตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2551 สถานีชุมทางฉะเชิงเทราก็เรียกเก็บค่าจอดรถ

    ซึ่งผมก็คิดว่าทำไมรถไฟถึงมีความคิดอย่างนี้ บริหารไม่ดีโกงกันจนเป็นหนี้ แล้วจะมาหารายได้โดยการขูดรีดกับประชาชน เคยเห็นแต่นโยบายรัฐบาลที่ให้ผู้ให้บริการขนส่งสาธารณะอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการในการจัดหาที่จอดรถให้ฟรี บางที่จัดรถรับ-ส่งให้ด้วย เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนใช้บริการรถสาธารณะ แต่รถไฟนี่มีนโยบายแปลกๆ แบบสวนกระแส ประชาชนเคยจอดรถฟรีมาแต่ไหนแต่ไร อยู่ๆ จะมาเรียกเก็บค่าจอด มันสมควรแล้วหรือ ?

    ปัจจุบันค่ารถโดยสารก็ขึ้นราคา บางคนเลยขับรถมาเอง หรือบางคนบ้านไกลกลับมาไม่มีรถกลับบ้านก็เอารถมาจอด หรือว่านายสถานีฉะเชิงเทรารู้เห็นกับรถรับจ้างที่ขึ้นราคาค่าโดยสาร

    อยู่การรถไฟที่ตั้งขึ้นมาเดินรถจะมาหารายได้จากการบริการที่จอดรถ ถ้าเปรียบเทียบกับห้างสรรพสินค้าเค้ายังแฟร์กว่าเลย ถ้าใครมาซื้อของเค้าก็ไม่ต้องเสียค่าจอดรถ บางห้างให้จอดฟรีด้วยซ้ำไปไม่ว่าจะซื้อของหรือไม่ แต่นี่มาขึ้นรถไฟแท้ๆ กลับเก็บค่าจอดรถ

    จึงมีคำถาม ดังนี้

    1. การเรียกเก็บค่าจอดรถดังกล่าวผมเข้าใจว่าสามารถทำได้ตาม พ.ร.บ.การรถไฟฯ แต่อาจขัดต่อหลักการให้บริการสาธารณะ (ขอความเห็นจากอาจารย์)

    2. ที่จังหวัดฉะเชิงเทรามีสถานีรถไฟหลายแห่งแต่มีการเรียกเก็บค่าจอดรถเพียงสถานีเดียว ขัดกับหลักความเสมอภาคในการจัดบริการสาธารณะหรือไม่ ?

    3. การเก็บค่าจอดรถของการรถไฟขัดต่อ พ.ร.บ.การรถไฟฯ มาตรา 38 ที่ให้ดำเนินกิจการโดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชน และมาตรา 41 ขัดต่อนโยบายทางเศรษฐกิจและการคลังของคณะรัฐมนตรีหรือไม่ (การลดค่าครองชีพโดยให้ประชาชนโดยสารรถไฟฟรี ที่ยังคงมีอยู่ถึงปัจจุบัน)

    ขอบคุณครับ

    คำตอบ

    1. ในการให้บริการสาธารณะ หน่วยงานที่ให้บริการก็มีต้นทุน ทั้งค่าพนักงาน ค่าน้ำมัน ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมทั้งหาเงินมาลงทุนต่อ ถ้าฟรีไปเสียหมด เขาก็คงไม่มีปัญหาเดินรถต่อไป อะไรที่หาเงินได้ ก็คงต้องหา ขนาดที่ดินที่จตุจักรให้ กทม.เช่าไปทำตลาด ยังจะเอาคืนมาทำเองเพื่อหารายได้เพิ่มขึ้น

    2.  เขาก็ไม่ได้ห้ามใครไม่ให้ไปจอดรถในที่ที่เขาให้ฟรีไม่ใช่หรือ  ไม่บังคับให้เขาทำให้เหมือนกันหมด เขาก็เลยเรียกเก็บทุกสถานี จะยิ่งแย่กันไปใหญ่

    3. ไอ้ที่เขาหาเงินตัวเป็นเกลียวน่ะ ก็คงเกิดจากนโยบายเศรษฐกิจที่บังคับให้รัฐวิสาหกิจต้องเลี้ยงตัวเองให้ได้ และต้องหากำไรมาส่งรัฐด้วย ส่วนมติคณะรัฐมนตรีนั้นไปบังคับเขาไม่ได้หรอก เว้นแต่จะเอาเงินไปจ่ายค่ารถให้แทนประชาชน เพราะเขาก็มีต้นทุนของเขา


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    1 ธันวาคม 2554