ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    045875 หลักประกันค้ำสัญญานายสุรศักดิ์ นาคนาคา18 พฤศจิกายน 2554

    คำถาม
    หลักประกันค้ำสัญญา

    กราบเรียนท่านอาจารย์ที่เคารพอย่างสูง

    กระผมมีข้อสงสัยอยากเรียนถามท่านอาจารย์ดังนี้

    1.ในทางกฏหมาย หลักประกันค้ำสัญญาคืออะไร?

    2.ในการทำนิติกรรมใดๆทางกฏหมาย เขาใช้อะไรเป็นหลักประกันค้ำสัญญาที่จะทำให้คู่สัญญาไม่เกิดการได้เปรียบและเสียเปรียบ(ยุติธรรมทั้งสองฝ่าย)?

    3.เช็คสามารถใช้เป็นหลักประกันค้ำสัญญาได้หรือไม่?

    4.การทำนิติกรรมอำพราง แสวงหาผลประโยชน์ ผิดกฏหมายอย่างไร?

    ขอให่ท่านอาจารย์มีสุขภาพแข็งแรง ท่ามกลางภาวะมหาอุทกภัย

    ด้วยความเคารพอย่างสูง

    อ.สุรศักดิ์ นาคนาคา

    คำตอบ

    1. หลักประกัน ก็คือ ทรัพย์สินหรือสิ่งที่มีค่าหรือบุคคล ที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งให้ไว้กับอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อเป็นหลักประกันว่าจะมีการชำระหนี้หรือปฏิบัติตามสัญญา เช่น ไปเช่าบ้านเขาแล้ว ผู้ให้เช่าเกรงว่าถึงเวลาจะไม่จ่ายค่าเช่า เขาก็ให้วางเงินไว้ล่วงหน้า ๓ เดือน เงินนั้นก็เป็นหลักประกันในการชำระค่าเช่า  หรือถ้าคุณไปกู้เงินเขา แล้วเขาไม่วางใจ เขาก็ให้ไปหาใครสักคนหนึ่งที่มีหลักฐานมาค้ำประกัน  คนค้ำประกันนั้นก็เป็นหลักประกันว่าถ้าคุณไม่ชำระหนี้เขา เขาก็จะได้ไปเอาจากคนค้ำประกันได้

    2. โดยปกติถ้าคู่สัญญาทัดเทียมกัน เขาก็อาศัยความซื่อตรงต่อกันเป็นหลักประกัน หรือการปฏิบัติตามสัญญาในทันทีเป็นเครื่องป้องกันการไม่ปฏิบัติตามสัญญา  เช่น คุณไปซื้อเครื่องรับทีวี พอคุณชำระเงิน เขาก็ยกทีวีให้คุณเอากลับบ้าน ต่างคนต่างก็ไม่ต้องเกรงว่าใครจะไม่ปฏิบัติตามสัญญา  แต่บางกรณี เช่น คุณเข้าไปในร้านก๋วยเตี๋ยว สัก ก๋วยเตี๋ยวแห้ง ๑ ชาม น้ำ ๑ ชาม  เจ้าของร้านเขาก็ทำให้ โดยตั้งความหวังไว้ว่าคุณกินแล้วจะจ่ายเงินให้เขา ถ้ากินแล้วไม่จ่าย เขาก็คงขาดทุน

    3. อะไรที่มีค่าก็ใช้เป็นหลักประกันได้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับความพอใจของคู่กรณี

    4. ถ้านิติกรรมที่อำพรางกันนั้นไม่มีวัตถุประสงค์ที่ผิดกฎหมาย การทำนิติกรรมอำพรางก็ไม่มีความผิดอะไร  เช่น คุณตั้งใจจะยกรถยนต์ให้เพื่อน แต่กลัวเมียจะว่าเอา ก็เลยทำเป็นสัญญาซื้อขายกัน  อย่างนี้กฎหมายก็ไม่ว่าอะไร อยากทำก็ทำไป เวลาจะบังคับก็บังคับตามสัญญาให้ที่อำพรางไว้


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    18 พฤศจิกายน 2554