ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    045628 การชดใช้ทุนการศึกษาพนักงาน วว.9 กันยายน 2554

    คำถาม
    การชดใช้ทุนการศึกษา

    หน่วยงานผมเป็นรัฐวิสาหกิจ พนักงานท่านหนึ่งได้รับทุนเพื่อไปศึกษาต่อ หลังจากจบมาแล้วก็ทำงานใช้ทุนและได้เลื่อนตำแหน่ง จนเป็นผู้บริหารระดับสูง

    พอดีหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่กำลังทำงานอยู่ มีการเปิดรับสมัครตำแหน่งผู้ว่าการ

    ซึ่งจำเป็นจะต้องลาออกจากการเป็นพนักงานเพื่อรับตำแหน่งผู้ว่าการ

    และหากได้ตำแหน่งผู้ว่าการ ซึ่งน่าจะเป็นการว่าจ้างตามสัญญา ซึ่งน่าจะเทียบเท่าลูกจ้าง ซึ่งมีอายุสัญญาไม่เกิน 4 ปี หรืออายุครบ 60 ปี

    ทางฝ่ายนิติกร ได้ตีความว่า การลาออกไปแล้วกลับมาทำงานในฐานะผู้ว่าการ ก็ไม่จำเป็นจะต้องใช้ทุน เนื่องจากยังสามารถทำประโยชน์ให้องค์กรเดิมอยู่ดี

    ซึ่งการตีความว่าไม่ต้องชดใช้ทุนนั้น ผมไม่ค่อยเห็นด้วย

    เนื่องจากสัญญาทำกันในฐานะเป็นพนักงานกับนายจ้าง เมื่อพ้นจากการเป็นพนักงาน ก็จำเป็นที่จะต้องใช้ทุน 

    ก่อนหน้านี้ก็มีตัวอย่างพนักงานลาออกในขณะที่ใช้ทุนไม่หมด แต่จะไม่ใช้ทุนโดยอ้างว่าได้บรรจุเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตร ซึ่งก็ถือว่ายังทำงานให้ราชการอยู่ดี  แต่สุดท้ายก็แพ้คดี และต้องชดใช้ทุน

    และในกรณีนี้ หากหน่วยงานไม่นิ่งเฉยหรือไม่ฟ้องบังคับให้ชดใช้ จะถือว่าทำผิดหรือไม่ เพราะหากมีตำแหน่งผู้ว่าการ ก็คงไม่มีลูกน้องกล้าฟ้องร้อง

    จึงขอเรียนถามความเห็นจากท่านอาจารย์ครับ

     

     

    คำตอบ
    ถ้าเขาออกไปเพื่อสมัครเป็นพนักงานในตำแหน่งอื่นตามเงื่อนไขของการสมัคร และเป็นหน่วยงานเดียวกัน ก็ยังถือไม่ได้ว่าเขาผิดสัญญาจนถึงกับจะต้องปรับ  ส่วนกรณีตัวอย่างนั้นเป็นคนละหน่วยงานกัน
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    9 กันยายน 2554