ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    045585 ซื้อที่ดินโดยสุจริตผู้มีทุกข์31 สิงหาคม 2554

    คำถาม
    ซื้อที่ดินโดยสุจริต

    กราบเรียนท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธ์

             จากคำถามที่ 045580 ดิฉันไม่ได้ทบทวนรายละเอียดเดิมให้อาจารย์ทราบ ต้องขอประทานโทษด้วยค่ะ  จึงขอตั้งคำถามใหม่ ดังนี้ ค่ะ

          ดิฉันได้ซื้อที่ดิน แปลงหนึ่งจากการประกาศขายของ ธนาคาร ก. เมื่อปี 2552 โดยที่ดินมีประวัติดังนี้

    1. นาย ข. เจ้าของเดิมนำไปจำนองกับ ธนาคาร ก. เมื่อ ปี 2536

    2. นาย ข. ถูกศาลตัดสินให้แพ้คดี นาย ค. ชดใช้เงิน ประมาณ 1 ล้านบาท เมื่อ ปี 3538

    3. นาย ค. ฟ้องขอให้นำที่ดินขายทอดตลาด   ธนาคาร ก. ร้องขอรับชำระหนี้จำนอง

    4. กรมบังคับคดี นำที่ดินออกขาย 3 ครั้ง  ครั้งแรก ไม่มีผู้ซื้อ  ครั้งที่ 2 ธนาคาร ก.ซื้อได้  ผู้แทน นาย ข.คัดค้านการขายทอดตลาด ว่าราคาต่ำไป

    5. กรมบังคับคดี ยกเลิกการขายครั้งที่ 2 โดยกำชับว่าครั้งที่ 3 ให้นาย ข.หาผู้ซื้อให้ได้ในราคาที่ต้องการ 

    6. กรมฯ ขายทอดตลาดครั้งที่ ปี 2548 ธ.ซื้อได้ในราคาเท่าครั้งที่ 2 โดยผู้ที่ นาย ข.หามาเพื่อสู้ราคามาไม่ทัน  ได้มีการเคาะขายให้ธนาคารไปเรียบร้อยแล้ว

    7. ปี 2548 ธนาคาร ก. นำไปโอนกรรมสิทธิตามคำสั่งศาลเรียบร้อย   นาย ข.ไปร้องศาลขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด เนื่องจากเจ้าพนักงานบังคับคดีประมาทเลินเล่อร้ายแรง ขายในราคาที่ต่ำไป

    8. สำนักงานบังคับคดีมีหนังสือรายงานมาที่ศาลว่าดำเนินการถูกต้องทุกประการ ราคาที่ขายเหมาะสม  

    9. ในการไต่สวนของศาล ธนาคารไม่ได้เข้ามาคัดค้าน (เนื่องจากเกิดความผิดพลาดบางอย่าง)  เจ้าพนักงานบังคับคดี ก็ไม่ได้มา  ศาลจึงฟังแต่พยานของผู้ร้องฝ่ายเดียว (คือผู้ที่จะเข้ามาซื้อที่ดินในการขายทอดตลาดครั้งที่ 3 แต่มาไม่ทัน) ว่าเขาพร้อมที่จะให้ราคาที่สูงกว่า เนื่องจากที่ดินทำเลดี แต่ข้อเท็จจริงที่ดินมีลักษณะเป็นที่ดินตาบอด)  ศาลมีคำพิพากษาให้ยกเลิกการขายทอดตลาด ให้ดำเนินการขายทอดตลาดใหม่ ในปี 2549

    10 หลังจากศาลมีคำสั่ง ตามข้อ 9 ไม่มีการดำเนินการใดๆ จากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย  (นาย ข.ถูกศาลสั่งล้มลาย ปี 2549   ปี 2553 ถูกปลดจากการล้มละลาย)

    11. ปี 2552 ธนาคาร ก. ประกาศขายที่ดินนี้ และดิฉันซื้อมาและโอนทางทะเบียนที่สำนักงานที่ดินเรียบร้อยโดยสุจริตโดยไม่ได้รับทราบเรื่องใดๆ มาก่อน หลังจากนั้นได้ดำเนินการพัฒนาที่ดิน จดภาระจำยอมโดยจ่ายค่าตอบแทนเพื่อให้ออกถนนได้และปลูกสร้างอาคารไปบางส่วน หมดเงินไปมาก

    12. เดือนมิถุนายน 2554 ทนายความของ นาย ข. ยื่นโนติสให้ดิฉัน โอนที่ดินกลับให้นาย ข. รื้อถอนสิ่งก่อสร้างต่างๆ และจ่ายค่าเสียโอกาสให้นาย ข.    แต่จนถึงปัจจุบัน นาย ข.หรือทนายความของนายข.ก็ยังไม่ดำเนินการใดๆ ต่อ

    13. ดิฉันได้มีหนังสือถึง ธนาคาร ก. แจ้งขอให้ธนาคารตรวจสอบข้อเท็จจริง และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะดิฉันซื้อที่ดินจากธนาคารมาโดยสุจริต และธนาคารได้มีหนังสือตอบว่า   "ได้ตรวจสอบแล้ว และศาลมีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดจริง  อย่างไรก็ตาม ธนาคารตระหนักถึงปัญหา และไม่ได้นิ่งนอนใจ จะเร่งดำเนินการให้พนักงานบังคับคดีนำที่ดินออกขายทอดตลาดใหม่โดยเร็ว"   คำถามที่ต้องการเรียนถามท่าน คือ

              1. คำตอบของธนาคารเพียงแค่นี้จะสามารถยืนยัน(มีผลทางกฎหมาย) ได้หรือไม่ว่าธนาคารจะรับผิดชอบซื้อที่ดินดังกล่าวคืนมาให้ดิฉัน โดยที่ดิฉันไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพิ่มเติมอีก

               2. หากข้อความยังไม่รัดกุมเพียงพอ ควรให้ธนาคารยืนยันอย่างไร หรือข้อความใดจึงจะทำให้ดิฉันปลอดภัย ไม่เสียเปรียบธนาคาร  และจะได้ไม่ต้องฟ้องร้องธนาคารให้เสียเวลา เสียเงินอีก

               3. โดยข้อเท็จจริง สภาพที่ดินเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เนื่องจากเมื่อซื้อมาแล้วดิฉันได้นำมาจดภาระจำยอมเพื่อให้ออกสู่ถนนสาธารณะได้  ถมดิน ปลูกสร้างอาคาร และทำถนน โดยค่าใช้จ่ายของดิฉันเอง  และถนนที่ทำดิฉันได้จดภาระจำยอมให้ชาวบ้านเดินทางผ่านได้ไปแล้วหลายราย     การขายทอดตลาดใหม่ตามคำสั่งศาล สำนักงานบังคับคดีควรจะประเมินราคาที่ดินตามราคาที่ประเมินไว้เดิม เมื่อขายทอดตลาดครั้งก่อน    หรือควรจะประเมินตามสภาพปัจจุบัน  และดิฉันควรจะร้องทุกข์ต่อสำนักงานบังคับคดีหรือไม่ อย่างไร

              4. หากทอดตลาดใหม่ ธนาคารซื้อมาได้ในราคาที่สูงกว่าเดิมมาก ธนาคารมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ดิฉันจ่ายเพิ่มหรือไม่

               5. หากดิฉันต้องฟ้องร้องธนาคาร  ควรฟ้องแพ่งในคดีอะไร ละเมิด หรือคดีซื้อขาย และมีอายุความเท่าไร

               6. หากฟ้องร้องธนาคารดิฉันควรเรียกค่าเสียหายอะไรได้บ้าง และจะเมินเป็นวงเงินได้อย่างไร   และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการฟ้องร้อง (ค่าทนายความ แลอื่นๆ) ดิฉันจะเรียกร้องให้ธนาคารจ่ายได้หรือไม่

    คำตอบ

    1.  ยืนยันไม่ได้ เพราะที่เขาตอบมานั้นไม่ได้มีความหมายอะไรมากไปกว่า เสียใจด้วยนะ แล้วจะดู ๆ ให้

    2. ธนาคารเขาไม่มีทางที่จะเขียนอะไรที่ผูกมัดเขาอย่างที่คุณอยากให้เขาเขียนหรอก  และไม่ว่าจะเขียนอย่างไรถึงเวลาก็ต้องฟ้องอยู่นั่นเอง

    3.-6 คุณจะไปยอมให้เขาขายทอดตลาดทำไมล่ะ ในเมื่อที่ดินนั้นโอนมาเป็นของคุณโดยชอบแล้ว และคุณไม่ได้เป็นคู่ความในคดีระหว่างธนาคารกับนาย ข. คำพิพากษาของศาลไม่ผูกมัดคุณ  คุณควรคอยเงี่ยหูฟังให้ดี เวลาเขาจะดำเนินการขายทอดตลาด คุณก็ไปคัดค้านการขายทอดตลาด เพราะทรัพย์นั้นไม่ใช่ของเจ้าหนี้หรือลูกหนี้แล้ว แต่เป็นของคุณซึ่งไม่ได้เป็นหนี้สินอะไรด้วย ถ้า นาย ข.เขาจะฟ้อง เขาก็ต้องไปฟ้องธนาคาร เพื่อเรียกค่าเสียหายเอาจากธนาคาร เพียงแต่เวลาเขาขายทอดตลาดหรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินผืนนี้คุณก็ต้องคอยระมัดระวังไม่ให้ใครเข้ามาละเมิดสิทธิของคุณ   ควรปรึกษากับทนายความไว้ จะได้ให้เขาคอยไปดูแลให้ แต่ควรต้องเป็นทนายความจากสำนักงานที่เป็นหลักเป็นฐานหน่อย


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    31 สิงหาคม 2554