ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    045560 การทะเบียนราษฎรคนทะเบียน27 สิงหาคม 2554

    คำถาม
    การทะเบียนราษฎร

    เรียน ท่านอาจารย์มีชัย ที่เคารพ

            ผมมีคำถามสองคำถามที่ขออนุญาตรบกวนท่านอาจารย์กรุณาให้คำแนะนำเพื่อให้การปฏิบัติมีความถูกต้องครับ

    คำถามแรก ตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.๒๕๓๔ มาตรา ๒๘ กำหนดให้ข้าราชการสถานทูต/สถานกงสุลที่ รมว.กต.แต่งตั้ง เป็นนายทะเบียนรับจดทะเบียนการเกิดสำหรับคนไทยที่เกิดต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันก็มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยสูติบัตรที่นายทะเบียนต่างประเทศออกให้กับเด็กไทยจะไม่มีเลขประจำตัวประชาชน ๑๓ หลักและเด็กจะไม่มีชื่อและรายการบุคคลในทะเบียนบ้าน จนกว่าจะกลับเข้ามาในประเทศไทยแล้วไปติดต่อนายทะเบียนเพื่อขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านแล้วจึงจะได้เลข ๑๓ หลัก  ปัจจุบันด้วยประสิทธิภาพของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร เราสามารถจะกำหนดให้เลข ๑๓ หลักกับเด็กไทยที่เกิดต่างประเทศได้ตั้งแต่ขั้นตอนการแจ้งเกิดโดยไม่ต้องกลับเข้ามาประเทศไทย แต่มีปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องพิจารณาว่ากฎหมายเอื้ออำนวยให้ทำเช่นนั้นได้หรือไม่ กล่าวคือตามมาตรา ๑๖ ของ พ.ร.บ.ฉบับเดียวกันนี้กำหนดให้อธิบดีกรมการปกครองในฐานะผู้อำนวยการทะเบียนกลางมีอำนาจกำหนดให้เลข ๑๓ หลักแก่คนที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย  เด็กที่เกิดต่างประเทศและยังไม่ได้เข้ามาในราชอาณาจักรจึงไม่อาจกำหนดเลข ๑๓ หลักให้ได้ กรณีจึงเป็นปัญหาต่อการพัฒนาระบบการทะเบียนราษฎร อยากทราบว่าประเด็นเรื่องนี้มีวิธีการอย่างไรหรือไม่โดยไม่ต้องแก้ไขกฎหมาย

    คำถามที่สอง สถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลไทยในต่างประเทศจะถือว่าเป็นบ้านและกำหนดให้เลขที่บ้านตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร ได้หรือไม่ อย่างไร เพราะถ้ากำหนดบ้านเลขที่ได้ ก็จะได้ใช้เพิ่มชื่อคนไทยที่ไปอยู่ต่างประเทศ รวมถึงเด็กไทยที่เกิดต่างประเทศด้วย เด็กเหล่านี้จะได้สามารถขอทำบัตรประจำตัวประชาชนที่สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลได้ กรณีนี้มีความเป็นไปได้หรือไม่ อย่างไร

    อาจารย์กรุณาให้คำแนะนำด้วยครับ ขอขอบพระคุณอย่างสูง

    คำตอบ

    1. เมื่อกฎหมายกำหนดไว้ตายตัวเช่นนั้น ก็ต้องปฏิบัติตามนั้น หากประสงค์จะเปลี่ยนแปลงก็มีทางเดียวคือต้องแก้ไขกฎหมาย

    2. ถึงจะกำหนดให้สถานทูตฯเป็นบ้านได้ ก็ไม่ได้แปลว่าคนที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านนั้นเป็นผู้ที่อยู่ในราชอาณาจักรไทย เพราะไม่ว่าในทางความเป็นจริงหรือในทางกฎหมาย คนเหล่านั้นก็ยังอยู่ในต่างประเทศอยู่นั่นเอง


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    27 สิงหาคม 2554