ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    045305 กรมธรรม์ประกันสุขภาพที่ไม่เป็นธรรมพรกมล ไตรวิทยางกูร12 กรกฎาคม 2554

    คำถาม
    กรมธรรม์ประกันสุขภาพที่ไม่เป็นธรรม

    กราบเรียนถามท่านอาจารย์มีชัยที่เคารพอย่างสูง

     ดิฉันซื้อกรมธรรม์ประกันสุขภาพให้กับคุณแม่ตั้งแต่คุณแม่มีอายุ 71 ปีกับบริษํทประกันแห่งใหม่ (เนื่องจากแห่งเก่าไม่รับประกันอายุเกิน 70 ปี) โดยซื้อผ่านบริษัทนายหน้าแห่งหนึ่ง ซึ่งกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของกรมธรรม์นี้คือ ชาวต่างประเทศที่พำนักในประเทศไทย เบี้ยประกันค่อนข้างสูงมาก คือ ประมาณ 150,000 บาทคุ้มครองคนไข้ในสำหรับช่วงอายุ 71-75 ปี โดยหากจ่ายส่วนแรก 40,000 บาทต่อปีเองจะได้ส่วนลด 25% โดยในปีแรกที่ซื้อ คุณแม่ของดิฉันเข้ารับการรักษาอาการท้องเสียในโรงพยาบาล มีค่าใช้จ่ายประมาณ 50,000 บาท ดิฉันจ่าย 40,000 บาทแรก บริษัทจ่าย หมื่นบาทเศษ เมื่อถึงเวลาต่อสัญญาในปีที่สอง บริษัทคิดเบี้ย และส่วนลดเท่ากับปีแรก แต่แอบมีเงื่อนไขต่อท้ายตัวเล็ก ๆ ว่าต้อง co-pay 200,000 บาทแรก ซึ่งในความจริงถ้าดิฉันเลือกจ่าย 200,000 บาทแรกเอง เบี้ยจะลดไปประมาณ 40 % ซึ่งดิฉันไม่ยอมรับเงื่อนไข co-pay โดยแจ้งบริษัทว่าเป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรม บริษัทอ้างว่าเพราะคุณแม่ดิฉันมีการเรียกร้องค่าสินไหม ดิฉันได้แย้งว่าเรียกร้องแค่หมื่นเศษ บริษัทยังกำไรแสนกว่าบาท และอาการท้องเสียไม่ใช่โรคเรื้อรัง ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการรักษาพยาบาลต่อเนื่องแต่อย่างใด ให้พิจารณาใหม่ ไม่เช่นนั้นดิฉันจะร้องเรียน คปภ. ทางบริษัทจึงยินยอมลบเงื่อนไขนั้น และดิฉันยังคงจ่ายเบี้ยเท่าเดิม และรับจ่าย 40,000 บาทแรก เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาถึงเวลาต่ออายุปีที่สาม ปีนี้บริษัทยกเลิกชื่อกรมธรรม์แบบที่คุณแม่ซื้อ แต่ใช้ชื่อกรมธรรม์ใหม่ซึ่งบริษัทขายอยู่แล้ว โดยบอกว่าความคุ้มครองต่อเนื่อง อีกทั้งเบี้ยประกันถูกลงเหลือประมาณ 90.000 บาท โดยดิฉันจ่าย 40,000 บาทแรก ดิฉันสนใจจะซื้อความตุ้มครองคนไข้นอกเพิ่มเติม โดยวิธีการคิดเบี้ยประกันสำหรับผู้ที่มีอายุอยู่ในช่วงคุณแม่คือ ค่าเบี้ยเต็ม 150,000 บาทโดยประมาณ ลดให้ 20% ถ้าไม่เอาความคุ้มครองคนไข้นอก และลดอีก 25% โดยจ่ายสี่หมื่นบาทแรกเอง และลดอีก 5% เนื่องจากประวัติปีที่ผ่านมาดี ไม่มีการเรียกร้องค่าสินไหม เมื่อดิฉันขอปรับเปลี่ยนโดยขอเพิ่มความคุ้มครองคนไข้นอกเบี้ยก็จะเพิ่มประมาณ 20% แต่บริษัทก็แอบมีข้อความเล็ก ๆ ต่อท้ายอีกแล้วว่าต้อง co-pay 200,000 บาทแรก เมื่อดิฉันแย้ง และคราวนี้ได้พูดกับผู้บริหารระดับสูงชาวต่างชาติ เขาย้ำแต่ว่าคุณแม่เสี่ยง เพราะอายุมาก เขาไม่ได้ทำการกุศล

    ดิฉันใคร่ขอกราบเรียนถามว่า บริษัทมีสิทธิ์ยื่นเงื่อนไข co-pay นี้หรือไม่ ผิดกฎหมายหรือไม่ เอาเปรียบผู้บริโภคหรือไม่ เนื่องจากหากอ้างความเสี่ยง ตรรกะคือ บริษัทคิดเบี้ยตามช่วงอายุ อายุมากเบี้ยก็สูงสะท้อนความเสี่ยงอยู่แล้ว จะมาอ้างคิดซ้ำซ้อนได้อีกหรือ อย่างไรก็ตามดิฉันได้จ่ายเบี้ยประกันที่รวมเฉพาะคนไข้ในไปก่อนแล้ว เพราะเกรงว่าจะมีการตุกติกอีกค่ะ

    กราบขอบพระคุณค่ะ

    คำตอบ
    การกำหนดเงื่อนไข ย่อมเป็นสิทธิของบริษัทประกัน ในขณะเดียวกันผู้เอาประกันก็มีสิทธิที่จะรับหรือไม่รับก็ได้ ถ้าเห็นว่าบริษัทนี้เอาเปรียบ ก็ควรหาบริษัทอื่น  แต่ถ้าทุกบริษัททำอย่างเดียวกันอันมีลักษณะเป็นการ "ฮั้ว" กัน ก็อาจร้องเรียนต่อทางราชการที่เกี่ยวข้องได้ อันที่จริงกิจการประกันภัยและกิจการธนาคาร (รวมทั้งสถาบันการเงิน) เป็นกิจการที่ผลกำไรส่วนใหญ่มักจะได้จากการเอาเปรียบลูกค้าโดยลูกค้าอยู่ในภาวะจำยอมหรือไม่รู้ทัน
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    12 กรกฎาคม 2554