ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    045180 การทำสัญญาค้ำประกันปุยฝ้าย1 กรกฎาคม 2554

    คำถาม
    การทำสัญญาค้ำประกัน

    กราบเรียนท่านอาจารย์มีชัยค่ะ

             เพื่อนหนูจะเข้าทำงานที่บริษัทแล้วเขาขอให้หนูค้ำประกันให้เขา เพราะว่าหนูและสามีเป็นข้าราชการทั้งคู่ กรณีนี้หนูสามารถทำสัญญาค้ำประกันแบบจำกัดความรับผิดได้ไหมคะ คือร่างเองน่ะค่ะไม่ทราบจะได้ไหมคะ คือทำโดยที่บริษัทเขาไม่ได้ขอมาหรือว่าทางบริษัทจะเป็นผู้ทำคะ ถ้าไม่ทำหนูกลัวว่าจะมีปัญหาค่ะ เพราะเพื่อนบอกเขาจะเอาทั้งบัตรข้าราชการ สำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาทะเบียนสมรส ใบรับรองเงินเดือน ซึ่งไม่รู้ว่าทำไมต้องเอาเยอะขนาดนี้ หนูกลัวว่าจะมีปัญหาเกิดขึ้นแล้วต้องค้ำทั้งหนูกับสามีเลยหรือคะทำไมต้องค้ำมากขนาดนี้  เพราะต้องส่งเอกสารไปทางไปรษณีย์เกรงว่าจะสูญหายได้ค่ะ แล้วในสัญญาต้องเซ็นต์กำกับไว้าว่าอย่างไรคะ รบกวนท่านอาจารย์ช่วยตอบคำถามหนูหน่อยนะคะ

                                                                  ขอบพระคุณท่านอาจารย์มากค่ะ

                                                                                 ปุยฝ้าย

          

    คำตอบ
    การทำสัญญาค้ำประกัน เป็นสัญญา ๒ ฝ่าย ต่างฝ่ายต่างต้องพอใจในสัญญา ใครจะร่างขึ้นก็ไม่สำคัญ ข้อสำคัญอยู่ที่ว่าทั้งสองฝ่ายพอใจหรือไม่  แต่ส่วนใหญ่บริษัทซึ่งมีนักกฎหมายดีกว่าก็มักจะร่างเตรียมไว้ คนไทยขี้เกรงใจอยู่แล้ว ก็มักจะยอมลงนามตามที่เขาร่างมา  เพราะถ้าไม่ใช่เป็นคนขี้เกรงใจก็คงไม่ยอมเอาตัวเข้าไปค้ำประกันใครง่าย ๆ หรอก เนื่องจากการค้ำประกันนั้นคือการเข้าไปแบกรับชำระหนี้ให้คนอื่น (ลองอ่านคำถามเลขที่ 45176 ดู)  การที่เขาเรียกร้องให้เอาเอกสารมากมายน่ะ เป็นเพียงส่วนน้อย เพราะนั่นคือสัญญาณบอกให้รู้ว่าเขาเอาจริง เวลาที่คนที่คุณไปค้ำ ทำอะไรผิด จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้เขา แล้วไม่ชำระ เขาก็จะต้องมาเอาจากคุณแน่นอน  ถ้ายิ่งไม่ได้กำหนดวงเงินค้ำประกัน ก็แปลว่า เขาทำความเสียหายกี่ล้าน คุณก็ต้องรับผิดชอบทั้งหมด ชีวิตคุณกำลังเคราะห์ร้ายหนัก เพราะถ้าค้ำประกันให้เขา คุณก็ต้องแบกรับความรับผิดไปจนกว่าจะตาย (ถ้าตายไปก็ไม่ได้แปลว่าจะหมดความรับผิด ลูกหลานที่เป็นทายาทก็ต้องรับผิดต่อไป) แต่ทำถึงขนาดนั้นแล้วก็ไม่ได้แปลว่าคนที่เขามาให้คุณค้ำประกันจะรู้สึกถึงบุญคุณ เพราะเขาจะรู้สึกว่าเพียง "หน่อยเดียว" เท่านั้น ไม่ได้หนักหนาอะไร  แต่ถ้าคุณไม่ค้ำประกันให้เขา เขาก็จะว่าคุณไม่แน่ ไม่มีน้ำใจ  จึงต้องตัดสินใจเอาว่าจะยอมตนแบกภาระให้คนอื่น หรือจะยอมเป็นคนไม่แน่
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    1 กรกฎาคม 2554