ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    045152 เรื่องนิติบุคคลในหมู่บ้านจัดสรรครับจักรพันธ์29 มิถุนายน 2554

    คำถาม
    เรื่องนิติบุคคลในหมู่บ้านจัดสรรครับ

    เรียน ท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์

         ขออนุญาตท่านอาจารย์ครับ กระผมอยากสอบท่านอาจารย์เกี่ยวกับเรื่องของกฎหมายที่เกี่ยวกับนิติบุคคลในประเทศไทย อย่างคนที่ไม่รู้เรื่องกฎหมายนักนะครับ คืออยากทราบว่าท่านอาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไร กับการที่ในประเทศไทยค่อนข้างจะมีปัญหาเรื่องของความขัดแย้งในบรรดานิติบุคคล โดยเฉพาะในหมู่บ้านจัดสรร หรืออาคารชุดต่างๆ ทั้งในช่วงเวลาที่ผ่าน และในปัจจุบันครับ

         อย่างตัวผมเองไม่ได้อาศัยอยู่ในหมู่บ้านจัดสรร แต่มีที่ดินเปล่าอยู่แปลงหนึ่งในหมู่บ้านนั้นๆ แต่นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นมากันเองภายในหมู่บ้าน กลับมีมติให้คิดราคาค่าส่วนกลาง (ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ) เทียบเท่ากับผู้ที่มีบ้านพร้อมที่ดิน และได้อาศัยอยู่ในหมู่บ้านแห่งนั้น เช่นนี้ท่านอาจารย์คิดว่ามีความเป็นธรรมหรือไม่อย่างไรครับ

         อีกเรื่องคือการก่อตัวขึ้นของปัญหาต่างๆ ที่ทางนิติบุคคล หรือเจ้าของหมู่บ้านเอง มักจะชอบทำอะไรที่เป็นการขัดกับความรู้สึกของผู้ที่อยู่อาศัยคนอื่นๆ โดยเฉพาะกับผู้ที่ไม่ได้มีอำนาจอะไรใดๆ ในหมู่พวกที่ตั้งขึ้นมาเป็นนิติบุคคล เช่น การสร้างบ้านส่วนตัวของเจ้าของหมู่บ้าน ทั้งที่บอกไว้ว่าจะเอาที่ดินตรงที่เขาสร้างบ้านนั้นมาเป็นของส่วนรวม เช่น ทำเป็นสวนหย่อม ฯลฯ

         ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ท่านอาจารย์คงได้เคยได้ยินได้ฟังมาบ้าง จึงอยากเรียนถามท่านอาจารย์ว่าในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ทางการเขามีวิธีจัดการกับปัญหาเหล่านี้อย่างไร โดยเฉพาะในทางกฎหมาย เพราะผมเชื่อว่าปัญหาเหล่านี้อาจจะลุกลามบานปลายเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคตได้ เนื่องจากผมมักจะได้ยินจากเพื่อนบ้างจากญาติบ้าง ที่เขาอาศัยอยู่ภายในหมู่บ้านหรือาคารชุด ว่ามักจะมีปัญหาเกี่ยวกับการที่เขารู้สึกไม่ค่อยได้รับความเป็นธรรมจากกลุ่มคนกลุ่มหนุ่งที่เรียกตัวเองว่าเป็นนิติบุคคล ที่คอยเข้ามาจัดระเบียบวางกฎเกณฑ์ต่างๆ ซึ่งถ้ามีความเป็นธรรมก็ดีไป แต่ถ้าไม่เป็นธรรมแล้วเราจะทำอะไรได้บ้างในทางกฎหมายครับ

         สุดท้ายนี้กระผมเห็นว่าพวกกลุ่มนิติบุคคลภายในหมู่บ้านหรืออาคารชุดทั้งหลาย ทำไมจึงเหมือนพวกนักการเมืองเข้าไปทุกที คือต้องการจะมีตำแหน่งในกลุ่มนิติบุคคลกันมาก มีทั้งข้าราชการ ทหาร ตำรวจ ฯลฯ ซึ่งกระผมมีความสงสัยเป็นอย่างยิ่งว่าทำไมคนเหล่านี้ถึงอยากเป็นกันนัก ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้แล้วเราควรแก้ที่ตรงไหนครับ โดยเฉพาะเรื่องอัตราค่าส่วนกลาง ทำไมกฎหมายถึงไม่มีการกำหนดอัตราเฉพาะมาเลยครับ ทำไมถึงมาปล่อยให้เก็บกันตามอำเภอใจแบบนี้ กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูงครับ.

    คำตอบ

    นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร หรือนิติบุคคลอาคารชุด (คอนโด) ก็เหมือนกับเวทีจำลองประชาธิปไตยของประเทศแหละ ผลของมันบอกให้รู้ถึงสภาพความเป็นประชาธิปไตยของไทยอย่างแท้จริง คือ คนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ได้คิดว่าทั้งหมดเป็นเรื่องของตน คิดว่าเป็นเรื่องของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่เขาสนใจ เมื่อเวลาจะต้องไปใช้สิทธิ(ซึ่งควรเป็นหน้าที่ด้วย) จึงไม่ค่อยได้ใส่ใจ ส่วนใหญ่จะไม่ได้ไป และถึงไป ก็มักจะไม่ได้คิดอย่างรอบคอบหรือละเอียดว่าคนที่กำลังจะเลือกเข้าไปนั้น เป็นการมอบความสุข ความปลอดภัย ความสะดวก ความเป็นธรรมของตัวเองและภาระที่ตนจะต้องรับ ให้อยู่ในมือของเขาโดยสิ้นเชิง  คิดแต่เพียงว่าคนนี้น่าจะดี หรือเราชอบคน ๆ นี้ หรือคนนี้เขาบริการเราดี  โดยไม่ได้ดูละเอียดว่าเขาเป็นคนมีนิสัยอย่างไร จะฝากผีฝากไข้ได้หรือไม่  เมื่อเขาได้รับเลือกไปแล้ว เขาย่อมได้ไปทั้งอำนาจทั้งปวงในการที่จะกลับมาปกครองและออกกฎบังคับกับเรา  ผลจึงเป็นอย่างที่คุณรู้สึกนี่แหละ  นี่ก็จะถึงเวลาเลือกตั้งแล้ว ก็ลองคิดทบทวนดูผลอันเกิดจากนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร มาเทียบเคียงกับประเทศ แล้วคิดให้รอบคอบ ก็จะเป็นประโยชน์

         อัตราค่าส่วนกลาง ก็เหมือนกับภาษีนั่นแหละ ถ้าคนที่เขามาสมัครให้เลือก เขามีค่าใช้จ่ายมากและเป็นคนไม่สุจริต เขาก็ย่อมต้องหาทางเอาเงินส่วนกลางมาคืนตัวเองเสียบ้างบวกกำไรบ้าง และยิ่งถ้าเป็นคนใช้จ่ายมือเติบ เงินที่จะต้องนำมาใช้จ่ายก็ต้องมากขึ้น อัตราที่จะเรียกเก็บจึงย่อมต้องสูงขึ้น กฎหมายกำหนดอัตราตายตัวไม่ได้หรอก เพราะไม่รู้ว่าแต่ละหมู่บ้านมีความจำเป็นอย่างไร ต้องการความสะดวกสบายมากน้อยเพียงไหน ถ้าต้องการมาก ค่าใช้จ่ายก็ต้องมาก การเรียกเก็บค่าส่วนกลางก็ต้องสูง แต่ละหมู่บ้านจึงต้องตัดสินใจเอาเองว่าจะอยู่อย่างพอไปได้ หรือจะอยู่อย่างไฮโซ  การตัดสินใจดังกล่าวก็คือการตัดสินใจว่าจะเลือกคนประเภทไหนให้มาเป็นกรรมการนั่นเอง


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    29 มิถุนายน 2554