ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    045101 เรื่องสติ๊กเกอร์ติดด้านข้างหลังคายกสูงของรถกระบะ ถูกจับสติ๊กเกอร์บอย25 มิถุนายน 2554

    คำถาม
    เรื่องสติ๊กเกอร์ติดด้านข้างหลังคายกสูงของรถกระบะ ถูกจับ

    สวัสดีครับ

         รบกวนสอบถามเรื่องสติ๊กเกอร์ติดด้านข้างหลังคายกสูงของรถกระบะ ถูกจับบ่อย โดยสถานีตำรวจธรรมศาลา ด้วยข้อหา สีรถไม่ตรงกับที่จดทะเบียนไว้
     
    อยากทราบว่า
    1. ติดสติ๊กเกอร์ข้างรถ เพื่อบอกว่าสินค้าเราขายอะไร ผิดกฏหมายมั้ยครับ (สีรถทั้งคันสีเดิม แต่สติ๊กเกอร์ที่ติดที่ด้านข้างหลังคายกสูงหลายสี แต่สีพื้นหลักยังคงใช้สีเดิมกับตัวรถ)
    2. ทำไม สถานีตำรวจอื่นถึงไม่จับเลย จับแต่สถานีธรรมศาลาเท่านั้นครับ
    3. เคยสอบถามตำรวจว่าทำไง เขาบอกไม่รู้ให้ไปถามขนส่ง แต่ตอนนี้จะจับ มีอะไรมั้ย แต่พอไปถามขนส่ง ขนส่งบอกไม่ผิดเพราะเป็นสติ๊กเกอร์ไม่ได้เป็นสีถาวรติดตัวรถ ให้ไปถามตำรวจว่า แก้ไง แล้วผมควรต้องถามใครดีครับ
    4. ถ้าการติดสติ๊กเกอร์ผิด ผมต้องแก้ไขอย่างไรได้บ้างครับ นอกจากการลอกสติ๊กเกอร์ออก (เคยถามที่กรมขนส่งเขาบอกว่าจดได้แค่ 4 สี แต่สติ๊กเกอร์ที่ต้องทำ เกิน 4 สีแน่นอนครับ)

    ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ
    วิณ

    คำตอบ
    คราวต่อไปถ้าเขาจับ ก็ให้เขาเขียนใบสั่งให้ระบุให้ชัดว่าคุณผิดอะไร แล้วนำใบสั่งไปปรึกษาทนายความ หากเห็นว่าคุณไม่ได้ผิดอะไร ก็จะได้ไม่ต้องไปเสียค่าปรับ ให้เขาฟ้อง แล้วสู้คดีในศาล
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    25 มิถุนายน 2554