ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    044989 ละเมิดลิขสิทธิ์การ์ตูน (ความผิดซึ่งหน้า)ผู้ไม่รู้16 มิถุนายน 2554

    คำถาม
    ละเมิดลิขสิทธิ์การ์ตูน (ความผิดซึ่งหน้า)

    เรียน ท่านอาจารย์มีชัย ที่เคารพ

    ผมขอเรียนถามอาจารย์เป็นข้อๆ ดังนี้ ครับ

    การที่เราขายสินค้าการ์ตูนที่มีลิขสิทธิ์ (เปิดร้านขายของ) รับของมาขาย  โดยตำรวจพร้อมผู้รับมอบอำนาจ ฯ เข้าจับกุมข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์เวลา 20.00 น.(โดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ถ้ารู้ไม่ขายแน่นอน)  จำเป็นต้องมีหมายค้นหรือไม่ครับ

    ตอนนี้ผมสับสนมาก (เพราะคำตอบที่ผมได้บางท่านบอกว่าต้องมี บางท่านบอกไม่มี โดยบางท่านอธิบายผมว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า เหมือนกับเรากำลังขโมยของหรือฆ่าคนตายประมาณนี้)

    ผมต้องขอรบกวนอาจารย์ให้คำตอบกรณีนี้ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับผมและบุคคลที่ไม่ทราบข้อกฎหมายด้วย

    ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้

    เรื่องเสร็จที่ ๔๕๒/๒๕๔๖

    บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

    เรื่อง  หารือปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการจับกุมตามมาตรา ๗๘ มาตรา ๑๑๗

                          มาตรา ๑๓๔ และมาตรา ๑๓๖ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

    สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  ได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ ตช ๐๐๐๔.๖/๔๙๒๑ ลงวันที่๒๘ ตุลาคม ๒๕๔๕ ถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ขอหารือในประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการตามมาตรา ๗๘ มาตรา ๑๑๗ มาตรา ๑๓๔ และมาตรา ๑๓๖ แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

    ข้อหารือ (น่าจะตรงประเด็นนี้ครับ)

          (ค) มาตรา ๗๘ (๔) เมื่อมีผู้ขอให้จับโดยแจ้งว่าบุคคลนั้นได้กระทำความผิดและแจ้งด้วยว่าได้ร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบแล้ว        กรณีตามมาตรา ๗๘ (๒) (๓) และ (๔) นั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติไว้เป็นข้อยกเว้นในการจับกุมโดยไม่ต้องมีหมาย ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติเห็นว่า กรณีดังกล่าว

    พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจสามารถจับกุมได้โดยไม่ต้องมีคำสั่งหรือหมายของศาลตามมาตรา ๒๓๗ วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

     

          คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๑๑) ได้พิจารณาปัญหาข้อหารือของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยมีผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรม ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด และผู้แทนกระทรวงมหาดไทย (กรมการปกครอง) เป็นผู้ชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงแล้ว

    มีความเห็นดังต่อไปนี้

          (๓) กรณีตามมาตรา ๗๘ (๔) [๘] แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เห็นว่า กรณีเมื่อมีผู้ขอให้จับโดยแจ้งว่าบุคคลผู้นั้นได้กระทำความผิดและแจ้งด้วยว่าได้ร้องทุกข์ไว้ตามระเบียบนั้น ไม่เป็นข้อยกเว้นที่ให้อำนาจพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจับได้โดยไม่ต้องมีคำสั่งหรือหมายของศาล

    เนื่องจากมิใช่กรณีเป็นความผิดซึ่งหน้าหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นที่ให้จับได้ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติเป็นข้อยกเว้น เพราะไม่ใช่กรณีเร่งด่วน

     

    รวมถึงลิขสิทธิ์การ์ตูนด้วยหรอเปล่าครับ

     

     

    คำตอบ
    กรณีอาจเข้าข่ายความผิดซึ่งหน้าซึ่งสามารถจับได้โดยไม่ต้องมีหมาย
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    16 มิถุนายน 2554