ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    044745 ผู้จัดการมรดกทุกข์ใจ28 พฤษภาคม 2554

    คำถาม
    ผู้จัดการมรดก

    สวัสดีค่ะอ.มีชัย

    ดิฉันได้ไปขอเป็นผู้จัดการมรดกแทนลูกสาวซึ่งเป็นผู้เยาว์อยู่เพื่อนำเงินของผู้ตายออกจากแบงค์ให้กับลูกสาวเรียบร้อยแล้ว ซึ่งผู้ตายกับดิฉันได้หย่าร้างกันไปนานแล้ว ผู้ตายได้มีหนี้จากการกู้ซื้อบ้านของทางแบงค์โดยมีผู้กู้ร่วมเป็นน้องชายของผู้ตาย แต่ขาดส่งเงินกับทางแบงค์โดยผู้ส่งค่าบ้านเป็นลูกสาวดิฉันแต่ลูกสาวยังเรียนอยู่ไม่มีเงินพอส่ง แล้วทางแบงค์มีจดหมายทวงหนี้มาแล้วมีชื่อของดิฉันในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกอยู่ ขอคำแนะนำค่ะ

    1. ดิฉันจะต้องรับผิดชอบด้วยรึเปล่าค่ะ

    2. จะขอถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้หรือเปล่าค่ะ

    3. ถ้าจะโอนกรรมสิทธิ์ให้กับน้องชายของผู้ตายซึ่งเป็นผู้กู้ร่วมอีกคนนึงได้หรือเปล่าค่ะ

    ขอบคุณค่ะ

    คำตอบ

    1. ในแง่ทางกฎหมาย คุณไม่ต้องรับผิดชอบด้วย แต่ในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดก กับผู้แทนของลูก คุณก็คงต้องดำเนินการเพื่อให้ลูกซึ่งเป็นทายาทชำระหนี้นั้น

    2. ถึงไม่เป็นผู้จัดการมรดกก็คงต้องทำในฐานะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองของลูก

    3. กรรมสิทธิ์ในทรัพย์จะโอนให้เขาก็ได้ แต่หนี้นั้นก็ยังอยู่กับลูกของคุณ เหมือนคุณไปซื้อกระเป๋าราคาแพงมาแล้วโอนให้เพื่อนไป เพื่อนก็คงขอบคุณ แต่เงินค่าซื้อกระเป๋านั้นคุณก็ยังคงต้องชำระจนกว่าจะหมด

         เรื่องของคุณควรปรึกษากับทนายความ เพราะถ้าเดินหน้าต่อไปเอง อาจทำให้ภาระเรื่องหนี้มีสูงกว่าที่ควรเป็นได้ เพราะตามกฎหมายนั้นทายาทไม่ต้องรับผิดในหนี้ของผู้ตายเกินมรดกที่ได้รับมา


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    28 พฤษภาคม 2554