ทางภาระจำยอมของที่ดินที่มีทางออกสู่ทางสาธารณะอยู่แล้ว
เรียน อาจารย์ที่เคารพ
เนื่องจากผมได้ไปซื้อที่ดินแปลงหนึ่งจากกรมบังคับคดีเมื่อปี 2546 และไม่ได้ดำเนินใดๆ จนกระทั่งปี 2554 (แปดปีให้หลัง) จึงได้ดำเนินการขอรังวัดสอบเขต จึงพบว่าที่ดินแปลงดังกล่าว มีญาติพี่น้องของเจ้าของที่เดิมใช้เป็นทางผ่านเข้าออกบ้านของพวกเขามาเป็นเวลาประมาณ 20 ปี(ที่ดินที่ผมซื้ออยู่ติดกับถนนสาธารณะ ส่วนที่ดินของญาติเจ้าของที่ดินเดิมอยู่ถัดจากที่ดินของผม เข้าไปด้านหลังจึงใช้ที่ดินที่ผมซื้อเป็นทางผ่านเข้าออก)
เมื่อตรวจสอบจากโฉนดกับพนักงานของกรมที่ดินพบว่าที่ดินแปลงด้านหลังของญาติเจ้าของที่ดินเดิมมีทางออกสู่ถนนสาธารณะเช่นกันโดยเจ้าที่ดินเดิมได้หักที่ดินด้านหน้าไว้กว้างประมาณ 6 เมตรสำหรับเป็นทางเข้าออก ให้ที่ดินแปลงด้านหลังอยู่แล้ว แต่ดินที่หักไว้เป็นทางเข้าออกดังกล่าว รกมากและมีแอ่งน้ำกว้างประมาณ 4 เมตรขวางกัน ยังไม่สามารถใช้เป็นทางเข้าออกได้
เมื่อสอบถามกับญาติของเจ้าของที่ดินเดิมและผู้ใหญ่บ้านพบว่า เนื่องจากเมื่อก่อนเจ้าของที่ทั้งสองแปลงเป็นญาติกันจึงขอใช้ที่ดินแปลงด้านหน้าเป็นทางเข้าออกไปก่อน เมื่อทางเทศบาลมีงบมาทำทางสาธารณะให้ ก็จะไปใช้ทางสาธารณะแทน
ทางญาติของเจ้าของที่ดินเดิมได้มาคุยกับผม ขอร้องว่าอย่าเพิ่งปิดทางเข้าออกรอให้ผู้ใหญ่บ้านของบประมาณมาทำทางให้ก่อน
จากเดิมญาติของเจ้าของที่ดินเดิมนั้นก็มีที่ดินอยู่ด้านหน้าติดถนนสาธารณะและติดกับที่ดินแปลงด้านหลัง(ที่ดินแปลงที่ปลูกบ้านอยู่ในปัจจุบัน)อยู่ด้วยเช่นกันแต่ได้ขายที่ดินแปลงดังกล่าวไปแล้ว
ปัจจุบันผมได้คุยกับทางญาติเจ้าของที่ดินเดิมว่าจะให้ทำสัญญาเช่าที่เพื่อใช้เป็นทางเข้าออก โดยบอกเหตุผลไปว่าจะขายที่ดินแปลงดังกล่าวถ้าคนจะซื้อมาเห็นว่ามีคนใช้เป็นทางเข้าออกอยู่จะขายไม่ได้จึงต้องทำสัญญาเช่าไว้ แต่ทางญาติๆของเจ้าของที่เดิมเขาคุยกันว่าผมกลัว โดนฟ้องเป็นทางภาระจำยอม หรือถูกครอบครองโดยปรปักษ์ ตอนนี้ยังไม่ได้เอาสัญญาเช่าไปให้เขาเซ็นต์ครับเพราะกำลังร่างสัญญาอยู่
ผมขอสอบถามอาจารย์ดังนี้ครับ 1.การทำสัญญาเช่าดังกล่าวเป็นแก้ปัญหาที่ดีหรือไม่ครับ 2. ถ้าข้อ 1 ไม่ดี ควรจะดำเนินการอย่างไรดีครับ 3.ในกรณีนี้ญาติของเจ้าของที่ดินเดิมสามารถขอจดทะเบียนเป็นทางภาระจำยอมได้หรือไม่ |