ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    044502 แนวทางการทำงานข้าราชการ6 พฤษภาคม 2554

    คำถาม
    แนวทางการทำงาน

    เรียนท่านอาจารย์มีชัย

    ดิฉันมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดำเนินการของวุฒิสภา เนื่องจากอาจารย์เคยดำรงตำแหน่งประธานวุฒิ หนูมีข้อสงสัยเกี่ยวกับทำงานของวุฒิสภา ดังนี้

    1. การพิจารณากฎหมายของวุฒิสภาจะต้องพิจารณา 3 วาระ เมื่อวุฒิสภาได้รับกฎหมายจากสภาผู้แทนแล้วและบรรจุเข้าระเบียบวาระ สามารถขอขยายระยะเวลาการพิจารณาได้เลยหรือไม่ หรือ หากพิจารณาวาระที่ 1 แล้ว สามารถขยายระยะเวลาได้หรือไม่

    2. กรณีที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้คือ มีการเลือกตั้งประธานวุฒิสภาคนใหม่ และยังไม่มีบุคคลที่ดำรงตำแหน่งประธานวุฒิสภา อยากทราบการลงนามในหนังสือต่างๆ ของรองประธานวุฒิสภา ควรให้คำว่า รักษาราชการแทน หรือว่าปฏิบัติหน้าที่แทน (ตามคำพูดใน รธน.และข้อคับการประชุมฯ) รวมทั้งการลงนามในหนังสือของบุคคลอื่นในคณะกรรมาธิการกรณีที่ประธานคณะกรรมาธิการไม่สามารถลงนามได้ด้วยน่ะค่ะ

    ขอบคุณมากค่ะ

    คำตอบ

    1. ถ้ามีเหตุผลเห็นได้ชัดเจนว่าไม่มีทางทำได้ ก็อาจขอได้ ซึ่งก็สุดแต่สภาจะยอมให้หรือไม่

    2. ถ้าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ก็คงต้องใช้คำตามมาตรา ๑๒๕ ของรัฐธรรมนูญ คือ ปฏิบัติหน้าที่แทน  แต่ถ้าเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบบริหารรัฐสภาก็ต้องใช้คำตามกฎหมายนั้น


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    6 พฤษภาคม 2554