ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    044496 อำนาจหน้าที่ ปปท.TTK6 พฤษภาคม 2554

    คำถาม
    อำนาจหน้าที่ ปปท.

    ปปท.มีหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบของข้าราชการระดับ 8 ลงไปมิใช่หรือ  สองกรณีล่าสุดตามข่าว  ไปตรวจจับสถานบันเทิง และสถานการพนัน  ตามกฏหมายทำได้หรือไม่  ตำรวจเขาว่าตำรงจเองยังต้องขอหมายศาล  แต่กรณีสถานการพนันตำรวจว่า ปปท.ไม่มีหมายศาล  จะถูกตำรวจจับดำเนินคดีได้หรือไม่  หรือสถานการพนันจะฟ้องได้หรือไม่

    งานในหน้าที่  โดยเฉพาะการทุจริตใน อบจ. และ อบต. ทำหมดแล้วหรือ  หรือว่าไม่เป็นข่าวทาง นสพ.และ ทีวี. เลยไม่ทำ

    ผมเกษียณจากอาชีพขายเครื่องมือแพทย์แล้ว  ไม่มีส่วนได้เสียกับสถานบันเทิง  หรือสถานการพนัน  หรือตำรวจแต่ประการใด  ยืนยันครับ

    คำตอบ

    เท่าที่ตรวจดู พรบ.มาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๕๑ ซึ่งกำหนดอำนาจของคณะกรรมการ ปปท.ไว้ ยังไม่พบเห็นว่ามีอำนาจในการปราบปรามการพนัน หรือการกระทำผิดของประชาชน ทั้งเจตนารมณ์ของกฎหมายและบทบัญญัติ มาตรา ๑๗ ของ พรบ.ดังกล่าว ที่พอจะเป็นชิ้นเป็นอันได้ ๓ อย่าง คือ

            (ก) ไต่สวนข้อเท็จจริงและชี้มูลเกี่ยวกับการกระทำการทุจริตในภาครัฐของเจ้าหน้าที่ของรัฐ (อยู่ในมาตรา ๑๗ (๔))  

            (ข) ไต่สวนข้อเท็จจริงและสรุปสำนวนพร้อมทั้งความเห็นส่งพนักงานอัยการเพื่อฟ้องคดีอาญาต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ (อยู่ใน ม. ๑๗ (๕)) และ

            (ค) ปฏิบัติการอื่นตามพรบ.ดังกล่าวหรือการอื่นใดเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายหรือคณะกรรมการ ปปช มอบหมาย (อยู่ใน ม. ๑๗ (๘)) 

             นอกจากนั้นก็เป็นอำนาจในการเสนอแนะบ้าง จัดทำรายงานบ้าง

         อำนาจหน้าที่เหล่านั้นเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งนั้น ไม่เกี่ยวกับการจับโจรผู้ร้ายหรือการกระทำผิดกฎหมายของประชาชน

         แม้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ การจะเข้าไปในเคหสถานใด ๆ ก็ต้องขอให้ศาลที่มีเขตอำนาจออกหมายให้ (ตามม. ๑๘ (๓)) หรือขอให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐให้ความช่วยเหลือสนับสนุนหรือเข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่ได้ แต่ก็เฉพาะการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้น   ยังไม่เห็นมีที่ไหนบอกว่า คณะกรรมการ ปปท.มีอำนาจไปจับยาเสพติด หรือการพนันที่ไหนได้ (หรือจะมีอยู่ที่ไหนที่ผมอ่านไม่พบก็ไม่รู้)

            ที่สำคัญอำนาจที่ว่ามาข้างต้น เป็นอำนาจของ คณะกรรมการ ปปท. ไม่ใช่อำนาจของสำนักงาน ปปท. หรือเลขาธิการ ปปท. สำหรับสำนักงาน ปปท.มีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๕๑ ซึ่งที่เป็นชิ้นเป็นอันก็มีเพียง รับผิดชอบงานธุรการของ คณะกรรมการ ปปท. และประสานงานและให้ความร่วมมือกับส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐอื่นที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริต ไม่ได้มีอำนาจไปจับกุมใครได้

            ดังนั้นการทำงานสำคัญ ๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับการสอบสวนการทุจริตของเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีคณะกรรมการ ปปท.แล้ว  แต่จนบัดนี้มีคณะกรรมการ ปปท.แล้วหรือไม่ จำไม่ได้แล้ว

            การทำอะไรโดยไม่ได้นึกถึงอำนาจหน้าที่ที่แท้จริง บางทีก็อาจเป็นอันตรายแก่ตัวผู้ปฏิบัติ (แม้จะหวังดีอย่างไรก็ตาม) ได้ เพราะประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๔๕ บัญญัติไว้ว่า ผู้ใดแสดงตนเป็นเจ้าพนักงาน และกระทำการเป็นเจ้าพนักงาน โดยตนเองมิได้เป็นเจ้าพนักงานที่มีอำนาจกระทำการนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

            


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    6 พฤษภาคม 2554