ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    044331 สัญญาการใช้ทุนรัฐบาล ๒ปอม20 เมษายน 2554

    คำถาม
    สัญญาการใช้ทุนรัฐบาล ๒

    ขอบคุณมากครับสำหรับคำตอบ

    ผมลองสอบถามเเล้วทาง กพ ไม่สามารถ ปรับสัญญาได้ครับ

    ผมมีทางไหนทางกฏหมายที่จะใช้เจรจาให้เกิดความเป็นธรรมเท่าเทียมกับสัญญาใช้ทุนในปัจจุบันได้ไหมครับ เช่น

     

    ๑ ศาลปกครอง เป็นการใช้อำนาจปกครองที่ไม่เท่าเทียมกัน หรือมีประเด็นอื่นใดไหมครับ

    ๒ คกก สิทธิมนุษยชน ในเรื่องการบังคับใช้ทุน เพราะว่าบังคับยี่สิบปีก็เท่ากับทั้งชีวิต สัญญาที่บังคับทางกฏหมายเเรงงานให้คนทำงานให้ใครทั้งชีวิต ไม่เเน่ใจว่าถือว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่

    ๓ ผมได้ยินว่ามีรุ่นพี่ที่เก่งมากคนนึงได้มีบริษัทมาซื้อตัวไป เเล้วเจรจากับ กพ ให้จ่ายเงินคืนได้ตามจริง ไม่ต้องเสียค่าปรับสองเท่า 

    อยากทราบว่าการเสียค่าปรับสองเท่าบวกกับเงินที่จ่ายจริงอย่างในกรณีผมนี้สามารถบังคับได้จริงหรือไม่ เพราะว่าอาจเป็นการละเมิดกฏหมายเกี่ยวกับหนี้สิน การที่นับค่าปรับนี้น่าจะเป็นภาระกับลูกหนี้ที่เกินกฏหมายกำหนด เพราะอย่างค่าปรับบัตรเครดิต อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ กฏหมายก็ควบคุมให้อยู่ในกรอบที่เหมาะสม ไม่ใช่ให้เจ้าหนี้กำหนดได้ตามใจชอบ 

    คำตอบ

    ใ  สัญญาที่เขาทำในแต่ละห้วงเวลา แต่ละคนก็มีเงื่อนไขเหมือนกัน ไม่ได้มีใครได้เปรียบใคร หรือไม่เท่าเทียมกัน

    2. การที่ทางราชการจ่ายเงินให้ไปเรียนหนังสือ และในระหว่าง

    เรียนบางคนก็ได้รับเงินเดือนด้วย ทางราชการก็หวังว่าจะได้คนกลับมาทำงานให้  เขาไม่ได้บังคับให้ให้ต้องรับทุน เงื่อนไขต่าง ๆ เขาก็กำหนดไว้ล่วงหน้า ไม่ใช่เพิ่งจะมากำหนดในภายหลัง เงินที่จ่ายไปก็เป็นเงินภาษีอากรของราษฎร และเมื่อกลับมาทำงานก็จ่ายเงินเดือนให้ ไม่ได้เอารัดเอาเปรียบอะไร ในระหว่างที่นักเรียนทุนไปเรียน ท่างราชการก็ต้องรอจนกว่าจะสำเร็จ จึงจะได้คนกลับมาทำงานให้  ผมเองก็ได้รับทุนรัฐบาลไปเรียน และสำนึกอยู่เสมอว่า ถ้าไม่ได้ทุนไปเรียน ชาตินี้ก็คงไม่ได้มีโอกาสไปเรียนได้ ระหว่างเรียนรัฐก็ออกค่าเล่าเรียนให้ ออกค่ากินอยู่ ค่าใช้จ่ายให้  ที่นั่งตอบคำถามให้คนทั่วไปอยู่ทุกวันนี้ โดยไม่มีค่าตอบแทนใด  ก็เพราะสำนึกในบุญคุณของแผ่นดิน จึงเอาความารู้ที่ได้มาจากเงินภาษีอากรมาตอบแทนประชาชนทั่วไปเป็นการทดแทนบุญคุณ แม้จะใช้ทุนหมดแล้วก็ตาม 

    3. ดูเหมือนเขาเรียกเงินที่จ่ายไปคืนพร้อมด้วยดอกเบี้ยเท่านั้น  ลองศึกษาสัญญาดูให้ดี ๆ เถอะ  บางทีบริษัทใหญ่ที่เขาอยากได้เขาก็ยอมออกเงินใช้ทุนให้ เพราะเขาถือว่าเขาได้กำไร เพราะไม่ต้องรอ อยากได้คนไหนที่ตรงตามที่เขาต้องการและเป็นประโยชน์ที่จะทำกำไรให้เขาได้ เขายอมจ่ายเงินซื้อตัวมา

           รัฐดูแลอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ก็จริง แต่ถ้าใครผิดนัด อัตรานั้นก็เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ยี่สิบกว่าเพียงไม่กี่ปีก็ท่วมต้น

           ความจำเป็นที่จะต้องหาเงินเลี้ยงชีพและช่วยครอบครัวนั้นก็มีด้วยกันทุกคน แต่ถ้าอดทนให้ผ่านพ้นไปได้ ความภูมิใจในตัวเองอาจจะคุ้มค่ากับความยากลำบาก  นอกจากนั้นเมื่อรับราชการแล้ว ทางราชการมิได้ดูแลเฉพาะตัวเอง แต่ดูแลไปถึงพ่อแม่ ลูกเมียด้วย   


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    20 เมษายน 2554