ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    044263 มรดกยกให้แฟนคนกรุงนอนดึก12 เมษายน 2554

    คำถาม
    มรดกยกให้แฟน

    เรียนท่านมีชัยที่เคารพค่ะ

    ดิฉันมีแฟนเป็นเพศเดียวกัน และต้องการยกบ้านที่กำลังผ่อนอยู่ให้เป็นมรดกของแฟนไว้อยู่อาศัยในยามที่ดิฉันเสียชีวิตแล้ว ใคร่ขอเรียนถามเป็นข้อๆดังนี้นะคะ

    1.ต้องทำพินัยกรรมลักษณะใด หรือต้องทำอย่างไรคะที่จะให้แฟนได้รับมรดกบ้านนี้ไปอย่างสมบรูณ์ เนื่องจากเป็นคนละนามสกุล ไม่ได้เป็นญาติพี่น้อง ดิฉันเกรงว่าเมื่อดิฉันเสียชีวิตไปแล้วพี่-น้องอาจจะบิดพลิ้วไม่ปฏิบัติตามพินัยกรรม ไม่ยอมยกบ้านของดิฉันให้แฟนตามที่ต้องการ และเข้าครอบครองเสียเอง

    2.การที่ไม่ได้โอนบ้านเป็นชื่อของแฟน และเป็นบ้านที่กำลังผ่อนอยู่ เมื่อดิฉันเสียชีวิตไปแล้ว แฟนสามารถผ่อนต่อเองได้หรือไม่คะ และเธอสามารถขายเองได้หรือไม่คะในฐานะที่เป็นผู้รับมรดกมา

    3.พินัยกรรมที่ทำเสร็จแล้ว เป็นการพิมพ์จากcomputer ไม่ได้เขียนด้วยลายมือตัวเองแต่เซ็นชื่อและลงวันที่ไว้ แต่ไม่มีพยานเซ็น ถือว่าสมบรูณ์ทางกฎหมายหรือไม่คะ

    4.หากดิฉันแต่งตั้งผู้จัดการมรดกซึ่งระบุในพินัยกรรมเรียบร้อยแล้ว ต้องผ่านกระบวนการรับรองจากศาลอีกหรือไม่คะ

    ขอกราบขอบพระคุณที่ท่านให้ความกรุณาค่ะ

    จาก คนกรุงนอนดึก

     

     

     

    คำตอบ

    1. จะทำพินัยกรรมในลักษณะใดก็ใช้ได้เหมือนกัน พินัยกรรมมี ๓ ลักษณะ คือ ๑พินัยกรรมที่มีผู้อื่นเขียนและทำให้ ๒. พินัยกรรมเขียนเอง ซึ่งต้องเขียนด้วยลายมือของตัวเอง หากมีผิดตกต่อเติมก็ต้องลงชื่อกำกับไว้ทุกแห่ง แล้วลงลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ โดยไม่ต้องมีพยาน ทำเสร็จแล้วก็ใส่ซองปิดผนึกใส่ตู้เซฟไว้ ๓. พินัยกรรมฝ่ายเมือง คือไปให้นายอำเภอทำให้ เสียค่าธรรมเนียมเพียงเล็กน้อย ทำแล้ว เขาเก็บไว้ที่อำเภอฉบับหนึ่งให้เจ้าตัวมาฉบับหนึ่ง   ถ้าพินัยกรรมที่ทำไว้มีผลใช้บังคับได้ คนที่เป็นญาติพี่น้องก็ไม่มีสิทธิมาโต้แย้งอะไร

    3. ใช้ไม่ได้  ถ้าไม่อยากให้ใครรู้ ก็ทำตามแบบที่ ๒  ถ้าอยากให้เป็นหลักฐานและไม่เสียเงินมาก ก็ทำแบบที่ ๓

    4. ถ้าว่าโดยกฎหมายก็ไม่จำเป็น แต่ในทางปฏิบัติ เวลานำไปอ้างเจ้าหน้าที่มักไม่ค่อยเชื่อ  แต่ถ้าได้ระบุผู้จัดการมรดกไว้ในพินัยกรรมแล้ว เวลาไปศาลเพื่อขอให้ศาลตั้งให้ ก็ไม่มีปัญหายุ่งยากอะไร เพราะศาลก็จะตั้งให้ตามที่ระบุไว้

    2. ถ้าเขารับมรดกมา เขาก็ทำได้ทุกอย่าง เพราะกลายเป็นทรัพย์สินของเขาแล้ว (รวมทั้งหนี้สินที่ติดอยู่ด้วย)

         ถ้าเขียนหนังสือเองได้ การทำพินัยกรรมแบบที่ ๒  คือเขียนเองทั้งฉบับเป็นการดีที่สุด เพราะจะแก้ไขเพิ่มเติมหรือเขียนใหม่เมื่อใด ก็ย่อมทำได้  เพราะคนที่รักกันอยู่ดี ๆ พอนาน ๆ ไปก็อาจร้างรากันไปได้ จะได้เปลี่ยนพินัยกรรมใหม่ได้ไม่ยุ่งยาก ข้อสำคัญถ้าทำฉบับใหม่เมื่อใด ก็ให้นำฉบับเก่าเผาไฟทิ้งเสีย อย่าเก็บไว้ เพราะจะทำให้เกิดปัญหาได้  หรือถ้าอยากเก็บไว้จริง ๆ ก็ต้องตีเส้นขีดฆ่า แล้วเขียนคำว่า "ยกเลิก" แล้วลงชื่อกำกับไว้ด้วย ให้ครบทุกหน้า


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    12 เมษายน 2554