ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    044245 ค่าปรับพจมาลย์9 เมษายน 2554

    คำถาม
    ค่าปรับ

    เรียนอาจารย์มีชัยที่เคารพ

    ส่งต้นฉบับรายงานประจำปีให้ผู้รับจ้างล่าช้า  จึงขอขยายเวลาให้ต่อมาเมื่อครบกำหนดตามเวลาที่ขยาย  ยังไม่สามารถส่งเล่มฉบับสมบูรณ์ได้เนื่องจากมีการแก้ไขจากผู้ว่าจ้าง มีการเพิ่ม และเปลี่ยนแปลงต้นฉบับ  ขอเรียนถามว่าในกรณีเช่นนี้

    1. ถ้าเรียกค่าปรับมีโอกาสถูกฟ้องร้องจากผู้รับจ้างไหม

    2. ถ้างดเรียกค่าปรับเหตุผลที่มีเพียงพอหรือไม่

    ด้วยความเคารพและขออวยพรให้อาจารย์มีสุขภาพดีเป้นที่พึ่งให้สังคมค่ะ

    คำตอบ

    1. การจะเรียกค่าปรับได้นั้น ต้องแปลว่าคู่สัญญาเขาทำผิดสัญญา และเมื่อเรียกแล้ว ถ้าเขาไม่เห็นด้วยเขาก็ไม่ยอมจ่ายค่าปรับ หรือบางทีแม้จะเห็นด้วยแต่ก็ยังไม่ยอมจ่ายค่าปรับอยู่นั่นเอง ทางที่จะเอาค่าปรับให้ได้ส่วนใหญ่จึงมักจะต้องฟ้องร้องเขาเพื่อให้ศาลบังคับให้   จึงไม่เข้าใจคำถามที่ถามว่า จะถูกฟ้องร้องจากผู้รับจ้างหรือไม่  ว่าจะเกิดขึ้นได้อย่างไร   เว้นแต่คุณสั่งปรับแล้วส่งนักเลงไปจับตัวมาบีบบังคับให้เขาจ่ายค่าปรับ หรือบุกเข้าไปในบ้านเข้าหยิบเอาเงินจากลิ้นชักมาจากเขา อย่างนั้นเขาก็อาจจะฟ้องร้องเอาได้ทั้งทางแพ่งและทางอาญา

    2. ถ้าคุณเป็นฝ่ายผู้จ้าง ไม่ว่าเขาจะผิดหรือไม่ผิดมากน้อยเพียงไร ถ้าคุณไม่อยากปรับเขา ก็ไม่ต้องหาเหตุผลอะไร เพราะเมื่อเป็นสิทธิ คุณจะใช้สิทธินั้นหรือไม่ก็ได้ ไม่จำต้องให้เหตุผลกับใคร


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    9 เมษายน 2554