ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    044198 เข้าทำงานแล้วผลตรวจสุขภาพเป็นโรคติดต่อ หรือโรคร้ายแรง จะถูกเลิกจ้างเจเจ4 เมษายน 2554

    คำถาม
    เข้าทำงานแล้วผลตรวจสุขภาพเป็นโรคติดต่อ หรือโรคร้ายแรง จะถูกเลิกจ้าง

    สวัสดีครับอาจารย์

            ผมเป็นเด็กจบใหม่มีโอกาสได้เข้าทำงานบริษัทฯ แต่ต้องเซ็นสัญญาจ้างโดยในสัญญาระบุไว้ข้อนึงว่าบริษัทฯ จะให้ตรวจสุขภาพหากผลการตรวจไม่เป็นที่พึงพอใจของบริษัทฯ  หรือสุขภาพไม่เอื้ออำนวยต่อการทำงานเดิมบริษัทฯ สามารถเลิกจ้างได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชย  1. ตรงนี้บริษัทฯ เอาเปรียบลูกจ้างหรือไม่ครับ  แล้วอย่างถ้าสุขภาพไม่เอื้ออำนวยเค้าไม่จ่ายจ้างเลิกจ้างตามที่กฎหมายกำหนดหรือครับ

            2. ในสัญญาระบุว่าทดลองงาน  3  เดือนหากผลทดลองงานไม่เป็นที่พึงพอใจจะบริษัทฯ จะจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงินเดือน 1 เดือนหมายความว่าได้เงินเดือนตามปกติ 1 เดือนและได้เพิ่มอีก 1 เดือน (เป็นค่าบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าตกใจเหรอครับ)

             ข้อความในสัญญาบางครั้งทำให้คนที่ไม่รู้กฎหมายอย่างผมตีความไม่ค่อยเข้าใจเพราะ  พอไปหากฎหมายอ่าน  พี่ๆ ที่เค้าเรียนกฎหมายก็บอกว่าต้องตีความตามกฎหมายให้ได้มันตรงตัวแต่ผมไม่เข้าใจอยู่ดีรบกวนอาจารย์ช่วยตอบผมด้วยครับ  (ปัจจุบันผมก็เซ็นสัญญาไปแล้วครับเพราะไม่อยากว่างงานหลังจากจบมา)

     

    ขอบคุณครับ

           

            

    คำตอบ

    1. ถ้าข้อกำหนดนั้นสำหรับคนที่เข้าทำงานครั้งแรก คือ ก่อนที่เขาจะบรรจุให้ทำงานเป็นการถาวร ก็ให้ตรวจร่างกายเสียก่อน ถ้าสุขภาพไม่ดีจนทำงานไม่ได้ เขาก็เลิกจ้าง ก็ชอบด้วยเหตุผลแล้ว แต่ถ้าข้อกำหนดนั้นใช้สำหรับคนที่ทำงานมานาน ๆ การกำหนดเช่นนั้นก็ไม่เป็นธรรม และที่กำหนดว่าจะไม่จ่ายเงินชดเชยให้นั้นอาจไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ได้

    2. เดาไม่ถูกหรอก เพราะต้องเห็นว่าเขาเขียนว่าอย่างไร


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    4 เมษายน 2554