คุณแม่ผมและผมเป็นผู้จัดการมรดกร่วมของคุณพ่อที่เสียชีวิต และจะทำการโอนที่ดินถนนส่วนบุคคลเจ้าของ 4 คน ที่คุณพ่อเป็น 1 ในเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมเพื่อจดทะเบียนแบ่งให้ผมและน้องสาว แต่โฉนดฉบับที่ให้เจ้าของเก็บอยู่ที่ 1 ในเจ้าของกรรมสิทธิร่วมอื่น และทวงถามก็ไม่ให้ ให้เจ้าพนักงานที่ดินออกจดหมายทวงให้ก็ไม่ให้ ควรทำอย่างไรครับ
ปล. ผมเห็นว่าไม่ใช่การโต้แย้งสิทธิ เพราะผู้เก็บโฉนดไม่มีสิทธิที่จะมาโต้แย้งการใช้สิทธิในการรับมรดกของครอบครัวผม กรณีจึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 109 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินที่เป็นบทกำหนดโทษแก่ผู้ขัดขวางการจดทะเบียนตามมาตรา 74 แต่จะไปฟ้องเองก็เกรงว่าศาลจะตีว่าเป็นอำนาจฟ้องของเจ้าพนักงานที่ดิน ผมจึงควรทำจดหมายให้เจ้าพนักงานที่ดินฟ้องเอาโทษการขัดหมายเรียกโฉนดของพนักงานที่ดินดีหรือไม่ครับ หากเจ้าพนักงานที่ดินไม่ทำ ก็จะต้องฟ้องปอ.157 ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือครับ ทำไมมันยุ่งยากจัง จะไปฟ้องแพ่งก็เกรงจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเป็นมูลค่าเปอร์เซนต์ตามมูลค่าที่ดินแล้วอาจไม่ได้คืน
และจะเรียกดอกเบี้ยจากมูลค่าทรัพย์นับตั้งแต่วันที่ควรจดทะเบียนได้หรือไม่ (เพราะ
แม้เป็นที่ดินกรรมสิทธิ์ร่วมก็ยังจำนองเฉพาะส่วนได้ ทำประโยชน์ได้ การโอนไม่ได้จึงเกิดความเสียหาย)
หรือว่าจะฟ้องอาญามาตรา 353 ดีครับ กรณีทุจริตต่อหน้าที่การจัดการทรัพย์สินที่มีผู้อื่นมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ ?
ท่านอาจารย์โปรดชี้แนะด้วยครับ มันแปลกที่เรื่องที่ดูว่าง่ายกลับยุ่งยากมากจริงๆเพราะช่องว่างของกฎหมาย