ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    044095 พินัยกรรมร่วมมัลลิกา เรือนแก้ว23 มีนาคม 2554

    คำถาม
    พินัยกรรมร่วม

    ดิฉันมีความจำเป็นต้องหย่ากับสามี และตกลงจะทำพินัยกรรมร่วม ยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ จำเป็นจะต้องระบุรายละเอียดทรัพย์สินทั้งหมดหรือแค่เพียงระบุว่าขอยกทรัพย์สินทั้งหมดให้แก่ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ และเพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงแก้ไขพินัยกรรม สามารถระบุในพินัยกรรมว่าถ้ามีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขพินัยกรรมจะต้องกระทำโดยให้ทั้งสองฝ่ายรับรู้และยินยอมร่วมกัน ถูกต้องไม่คะ ดิฉันขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติม พร้อมทั้งขอคำแนะนำในการทำพินัยกรรมร่วมเพื่อไม่ให้พินัยกรรมเป็นโมฆะด้วยคะ ขอขอบพระคุณมากคะ

    คำตอบ
    การทำพินัยกรรมเป็นสิทธิเฉพาะตัวของแต่ละคน การทำร่วมกับคนอื่นไม่ได้มีผลอะไรแตกต่างไปจากการทำลำพังคนเดียว  และเมื่อทำแล้ว เขาจะเพิกถอนเมื่อไร หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเมื่อไรก็ย่อมได้เสมอ  เมื่อหย่ากันแล้วจะไปอาลัยอาวรณ์ถึงขนาดทำพินัยกรรมร่วมกันทำไมให้ยุ่งยาก  แต่ถ้าเป็นการหย่าหลอก ๆ และใช้วิธีการทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้กันและกันเพื่อป้องกันการเบี้ยวกันละก็ คงต้องเล่าความจริงมาให้ฟังว่าต้องการอะไร บางทีอาจจะพอแนะนำวิธีที่ดีให้ได้
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    23 มีนาคม 2554