ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
    มุมของมีชัย
  • ความคิดเสรีของมีชัย
  • เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
  • เรื่องสั้น
  • จดหมายถึงนาย
  •  
     
    เรื่องสั้น

    เรื่องของคนสองคน ตอนที่ 7 การยอมรับผลของสิ่งที่เคยชอบ

    คนสองคนที่จะรักกันนั้น โดยเริ่มต้นย่อมต้องขึ้นอยู่กับความถูกอัธยาศัย ความนิยมยกย่อง หรือความชอบใจในบางสิ่งบางอย่าง แต่เมื่อรักกันแล้วและอยู่ด้วยกันไปนาน ๆ เข้า มักจะลืมสิ่งที่ตนเคยชอบเพราะสิ่งเหล่านั้นกลายเป็นของธรรมดาที่เคยชินไปแล้ว และเริ่มมองหาสิ่งใหม่ ๆ เพิ่มพูนขึ้นเพื่อให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น อย่างน้อยก็ในความคิดของตน แล้วก็มักจะเคี่ยวเข็ญอีกฝ่ายหนึ่งให้ทำหรือเป็น


    เมื่อไม่ได้ดังใจจึงหงุดหงิด หรือคร่ำครวญคิดแต่ว่าตนโชคไม่ดีที่ “ไม่ได้ดังใจ”


    อันเป็นต้นเหตุแห่งการถกเถียงหรือระหองระแหงกันได้


    ถ้ายิ่งเป็นคนประเภท “คิดมาก” ด้วยแล้ว ย่อมมีเรื่องมีราวมีปากมีเสียงกันไม่หยุดหย่อน


    ลืมนึกถึงความจริงที่ว่า ของบางอย่างมาควบคู่หรือพร้อมกันไม่ได้ เพราะขัดกันเองอยู่ในตัว เช่น คนที่เงียบขรึม ย่อมไม่ช่างพูดหรือช่างเอาใจ คนที่ช่างพูดช่างเอาใจก็ไม่มีทางที่จะวางมาดให้ดูน่าเกรงขาม หรือคนที่มีมนุษย์สัมพันธ์ชอบคบค้าสมาคมกับคนทั่วไป ย่อมยากที่จะเป็นคนอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน หรือคนที่ชอบขลุกอยู่แต่กับครอบครัวหรือในบ้าน ย่อมยากที่จะเป็นคนชอบพาคู่ของตนออกงานการ คนที่เป็นคนเจ้าระเบียบเรียบร้อยย่อมจะเป็นคนขี้บ่นจู้จี้ คนที่แต่งตัว “นิ๊ง” อยู่ตลอดเวลา ย่อมยากที่จะไม่ใช้เงินเปลือง คนที่เป็นคนอ่อนนุ่มตามใจคู่ครองทุกอย่างก็ยากที่จะหวังให้เขามีความคิดริเริ่มหรือเป็นตัวของตัวเองหรือเป็นผู้นำได้อย่างสมบูรณ์ ในทางกลับกันคนที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง มีลักษณะเป็นผู้นำ ย่อมยากที่จะหวังให้เขาคอยเอาอกเอาใจเราอยู่ตลอดเวลา


    ของเหล่านี้ย่อมเป็นสิ่งที่คู่กันหรือมีอยู่พร้อมกัน


    เมื่อเราเลือกสิ่งหนึ่ง ต้องยอมรับอีกสิ่งหนึ่งที่เป็น “ผลพลอยได้” ของอีกด้านหนึ่งด้วย และเมื่อเราได้เลือกที่จะชอบเพราะเขามีอุปนิสัยอย่างใดแล้ว ก็ต้องรับรู้และไม่ไปพยายามให้เขามีในสิ่งที่ตรงกันข้ามกับอุปนิสัยนั้น และพยายามหาความสุขจากสิ่งที่อีกฝ่ายหนึ่งมีและเราเคยชอบ พร้อมทั้งยอมรับทุกข์อันเกิดจาก “ผลพลอยได้” นั้น ๆ