ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
  • นานาสาระ
  • คำสำคัญ
     
    กลับไปหน้า ลิสต์

     
    นานาสาระ

    ประเพณี ลอยกระทง

    “วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง เราทั้งหลายชายหญิง สนุกกันจริง วันลอยกระทง …….” ผ่านวันลอยกระทงกันมาหลายวันแล้ว หลานคนคงจะได้ไปเที่ยวกันอย่างสนุกสนาน แต่จะมีใครทราบประวัติประเพณีลอยกระทงกันบ้างว่ามีความเป็นมาอย่างไร

     

    ประเพณีลอยกระทง ตรงกับคืนวันเพ็ญ เดือน 12 เป็นประเพณีเก่าแก่ ที่มีมาแต่โบราณ โดยมีคติความเชื่อหลายอย่าง เช่น เชื่อว่าเป็นการบูชาและขอขมาแม่พระคงคา เป็นการสะเดาะเคราะห์ เป็นการบูชาพระเจ้าในศาสนาพราหมณ์ หรือเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท เป็นต้น

     

    สำหรับการลอยกระทงนิยมทำกันในวันเพ็ญ เดือน 12 ของทุก ๆ ปี ซึ่งถือเป็นช่วงที่น้ำในแม่น้ำลำคลองขึ้นสูงและอากาศเริ่มเย็นลง และวรรณคดีไทยหลายเรื่อง ได้กล่าวถึง ประเพณีลอยกระทงไว้ ทั้งในลักษณะ ประเพณีราษฎร์ และประเพณีหลวง อย่างเช่น ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ หรือตำรับนางนพมาศ ได้กล่าวถึงพระราช พิธีจองเปรียง ลอยพระประทีป ไว้ว่า

     

    "พอถึงพระราชพิธีจองเปรียง ในวันเพ็ญเดือน สิบสอง เป็นนักขัตฤกษ์ ชักโคมลอยโคม บรรดาประชาชน ชาย หญิง ต่างตกแต่งโคม ชักโคม แขวนโคมลอย ทุกตระกูล ทั่วทั้งพระนคร แล้วก็ชวนกัน เล่นมหรสพ สิ้นสามราตรี เป็นเยี่ยงอย่าง แต่บรรดาข้าเฝ้าราชบุรุษนั้น ต่างทำโคมประทีป บริวารวิจิตร ด้วยลวดลายวาด เขียนเป็นรูป และสัณฐานต่างๆ ประกวดแขวนเป็นระเบียบเรียงราย ตามแนวโคม เสาระหง ตรงหน้าพระที่นั่ง ชลพิมาน ถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ทรงพระราช อุทิศ สัการะบูชา พระเกศาธาตุจุฬามณี ในชั้นดาวดึงส์ ฝ่ายสนมกำนัล ทำโคมฉาย ด้วยบุปผาชาติ เป็นรูปต่าง ๆ ประกวดถวาย ให้ทรงอุทิศบูชา พระบวรพุทธบาท ซึ่งประดิษฐาน ยังนัมมทานที่ข้าน้อย ก็กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งาม ประหลาด กว่าโคมพระสนมกำนัล ทั้งปวง"

     

    ซึ่งนางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระสนมเอกในพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย เป็นผู้ริเริ่มประดิษฐ์กระทงสำหรับลอยประทีปเป็นรูปดอกบัวบานขึ้น ซึ่งคนทั่วไปนิยมทำตามสืบต่อมา นอกจากนี้ ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ยังได้กล่าวถึง งานเผาเทียน เล่นไฟ ของกรุงสุโขทัยไว้ด้วยว่า เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ที่

    http://www.ku.ac.th
    1 พฤศจิกายน 2548