ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
  • นานาสาระ
  • คำสำคัญ
     
    กลับไปหน้า ลิสต์

     
    นานาสาระ

    คืนชีวิตให้เต่าทะเล

    ….. ปัจจุบันนี้ เต่าทะเลได้ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วจนถึงจุดวิกฤต สาเหตุจากพื้นที่ชายหาดที่เต่าทะเลขึ้นมาวางไข่ ถูกรบกวน หรือเปลี่ยนสภาพไป รวมทั้งการประมงในท้องทะเลที่ควบคุมได้ยาก และการลักลอบเก็บไข่เต่า จับเต่าทะเลมาเป็นอาหาร และเครื่องประดับ เต่าทะเลจึงเหลือน้อยลง จนถือได้ว่าเป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของโลก

    เต่าทะเล ….. สิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ใต้ท้องทะเล ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์ท้องทะเล และยังเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและประโยชน์มากมายหลายประการ ควรค่าแก่การศึกษา เต่าทะเลเป็นสัตว์เลื้อยคลานเลือดเย็น มีกระดูกสันหลัง และปอดใช้ในการหายใจ ถือกำเนิดในโลกเมื่อ 200 ล้านปี  มีการดำรงชีวิตในน้ำเป็นส่วนใหญ่ และจะขึ้นบกที่มีหาดทรายเพื่อวางไข่เท่านั้น เต่าทะเลที่พบในโลกมีเพียง 2 วงศ์ รวม 5 สกุล และมีอยู่ 8 ชนิด คือ เต่ากระ, เต่าตนุ, เต่าตนุหลังแบน, เต่าตนุดำ, เต่าหญ้า, เต่าหญ้าแอตแลนติก, เต่าหัวฆ้อน และเต่ามะเฟือง

    ชนิดของเต่าทะเลที่สามารถพบได้ในประเทศไทยมีอยู่ 5 ชนิด คือ เต่ากระ (Hawksbill turtle) จะอาศัยอยู่ในแนวปะการัง กินฟองน้ำเป็นอาหาร เต่าตนุ (Green turtle) อาศัยอยู่ไม่ใกล้และไม่ไกลจากฝั่งมากนัก กินพืชเป็นอาหาร เช่น หญ้าทะเล และสาหร่ายทะเล เต่าหญ้า (Olive Ridley’s turtle) จะตัวเล็กกว่าเต่าชนิดอื่นๆ อาศัยอยู่ไม่ใกล้และไม่ไกลจากฝั่งมากนัก กินอาหารหลายชนิด เช่น ปลา กุ้ง แมงกะพรุน หญ้าทะเล เต่าหัวฆ้อน (Loggerhead turtle) พบน้อยมากบริเวณอ่าวไทย และไม่เคยมีรายงานการวางไข่ในน่านน้ำ และเต่ามะเฟือง (Leatherback Turtle) ซึ่งเป็นเต่าทะเลที่ใหญ่ที่สุด เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดความยาวของลำตัวประมาณ 1.5 – 2 เมตร อาศัยอยู่ในท้องทะเล ชอบกินแมงกะพรุน

     

    เต่าทะเล จะกินพืชและสัตว์เป็นอาหาร โดยเต่าตนุวัยอ่อนจะกินพวกสัตว์เล็กๆ และเมื่อโตขึ้นจะกินพืชเพียงอย่างเดียว ส่วนเต่ากระที่นำมาเลี้ยงไว้นั้นสามารถกินสัตว์ได้ และในระหว่างเวลาตอนกลางวันจะไม่พบเต่าทะเลในบริเวณน้ำตื้น จึงสันนิษฐานได้ว่าเต่าทะเลคงจะหากินในเวลากลางคืนและช่วงเวลาน้ำขึ้น แต่ในบางครั้งพบเต่าทะเลในบริเวณน้ำที่มีความลึกประมาณ 13-15 เมตร ในช่วงเวลากลางวัน นอกจากนี้ เต่าทะเลยังมีสัญชาติญาณอีกหลายประการที่น่าสนใจ เช่น การรู้ทิศทางของทะเลในการขึ้นมาวางไข่ หรือแม้แต่ลูกเต่าทะเลที่เพิ่งออกจากไข่และหลุมใหม่ๆ จะมีความสามารถรู้ทิศทางในการลงสู่ทะเลได้ถูกต้อง และความสามารถอีกอย่างของเต่าทะเลก็คือการรู้เวลาว่าเมื่อใดเป็นเวลาน้ำขึ้นและน้ำลง ซึ่งทำให้เต่าทะเลสามารถระบุเวลาที่เหมาะสมได้

     

    และเมื่อถึงฤดูวางไข่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธุ์ เต่าทะเลตัวเมียที่เจริญเติบโตพอที่จะแพร่พันธุ์ได้จะเดินทางจากแหล่งอาศัย หรือแหล่งอาหารไปยังแหล่งผสมพันธุ์ ซึ่งจะมีแหล่งแน่นอนและคาดว่าไม่น่าจะไกลจากแหล่งวางไข่มากนัก โดยเต่าทะเลตัวเมียในหนึ่งฤดูกาลแม่เต่าตัวเดียวสามารถวางไข่ได้ 2 - 3 ครั้งๆ ละประมาณ 50 - 150 ฟอง แต่ละครั้งจะห่างกันสองสัปดาห์ โดยเต่าทะเลตัวเมียจะวางไข่ในบริเวณหาดทรายที่อยู่เหนือระดับน้ำขึ้น และหาดนั้นจะต้องมีลักษณะเป็นทรายขาวและสะอาด ซึ่งเต่าทะเลจะสร้างรังไข่เหนือระดับที่ขึ้นสูงสุด แต่ก็มีเต่าทะเลบางตัวที่ขึ้นวางไข่ไกลจากระดับน้ำขึ้นสูงสุดถึง 200 เมตร ถึงแม้ว่าเต่าจะสามารถวางไข่ได้มากในหนึ่งฤดูกาล แต่อัตรารอดจนเติบโตที่จะแพร่พันธุ์ได้นั้นมีไม่ถึง 0.04 เปอร์เซ็นต์

     

    ส่วนระยะที่ไข่ใช้ในการฟักตัว เต่ากระจะใช้เวลาในในการฟักตัวเร็วกว่าเต่าชนิดอื่น คือประมาณ 45-53 วัน เต่าตนุจะใช้เวลาในการฟักเป็นตัว ประมาณ 47-58 วัน เต่าหญ้าจะใช้เวลาในการฟักเป็นตัวประมาณ 60 วัน และเต่ามะเฟือง ใช้เวลาในการฟักเป็นตัว ประมาณ 58-65 วัน และหลังจากที่ลูกเต่าทะเลฟักออกจากไข่จะยังไม่ออกจากหลุมทันที จนกว่า 2-3 วันผ่านไป และโดยสัญชาติญาณเมื่อลูกเต่าโผล่พ้นทรายมาก็จะลงสู่ทะเลทันที ซึ่งเป็นในช่วงเวลากลางคืน

     

    อย่างไรก็ตาม เต่าทะเล เป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและประโยชน์มากมายหลายประการ อีกทั้งยังมีประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจอีกด้วย และสาเหตุนี้ที่ทำให้ในปัจจุบัน จำนวนของเต่าทะเลในธรรมชาติได้ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว จนอยู่ในภาวะใกล้จะสูญพันธุ์ แต่ได้มีหน่วยงานที่เห็นความสำคัญของเต่าทะเลจึงได้มีการริเริ่มการอนุรักษ์เต่าทะเลขึ้น จึงเชื่อได้แน่ว่าในอนาคตเต่าทะเลจะมีจำนวนมากขึ้นในธรรมชาติและพอเพียงกับความต้องการที่จะนำเต่าทะเลมาใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น และเพื่อเป็นการอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตที่มีคุณค่าและประโยชน์ให้อยู่คู่โลกเราตลอดไป

     

    แม้ปัจจุบันประเทศไทย จะมีการรณรงค์อนุรักษ์เต่าทะเล โดยประกาศให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง โดยมีกฎหมาย ห้ามล่า ห้ามครอบครอง ห้ามค้า หรือห้ามนำเข้า-ส่งออก มีการจัดตั้งสถานีอนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล เพื่อการเพาะพันธุ์เต่าทะเล และการศึกษาในรูปแบบต่างๆ นอกจากนี้ หน่วยงานภาครัฐ อาทิ กรมประมง กรมป่าไม้ กองทัพเรือ และหน่วยงานเอกชน อาทิ สมาคมสร้างสรรค์ไทย ได้ร่วมมือกันจัดทำโครงการอนุรักษ์และเพาะพันธุ์เต่าทะเล รวมถึงหามาตรการและวิธีการอนุรักษ์ เช่น เฝ้าระวังไม่ให้คนรบกวนพื้นที่วางไข่ ดำเนินการตรวจตราและรวบรวมไข่เต่าทะเลมาเพาะฟักในที่ที่ปลอดภัย เพื่อปกป้องและอนุรักษ์เต่าทะเลมิให้สูญพันธ์


    1 พฤศจิกายน 2548