ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    050723 ผู้จัดการมรดกมีอำนาจแบ่งหักที่ดินให้เป็นทางสาธารณะ ได้หรือไม่ผู้มีข้อสงสัย24 พฤษภาคม 2558

    คำถาม
    ผู้จัดการมรดกมีอำนาจแบ่งหักที่ดินให้เป็นทางสาธารณะ ได้หรือไม่

    เจ้ามรดกได้ตายไปเมื่อ พ.ศ. 2530 โดยมีที่ดินหลายแปลงและมีทายาทหลายคน แต่ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ บรรดาทายาทจึงได้มอบให้หนึ่งในนั้น เป็นผู้จัดการมรดกเมื่อ พ.ศ.2557 แต่ก่อนหน้าที่จะตั้งผู้จัดการมรดก บรรดาทายาทได้ตกลงทำการแบ่งที่ดินทำกินกันเอง โดยแยกเป็นของๆตัวเองมานานแล้วตั้งแต่เจ้ามรดกได้ตายไป

    มีคำถามว่า มีที่ดิน 1 แปลง ได้จดเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ซึ่งบรรดาทายาทได้ตกลงร่วมกันยกให้แก่ทายาท 2 คน จึงได้มาขอรังวัดแบ่งแยกที่ดิน แต่ปรากฏว่าที่ดินที่ทำการรังวัด มีทางสาธารณประโยชน์ ตัดผ่านกลางแปลง โดยความยินยอมของทายาทผู้ที่จะได้รับมรดกในที่ดินแปลงนี้ตั้งแต่เมื่อ 10 ปีก่อน ปัจจุบันมีการปรับปรุงให้เป็นพื้นผิวจราจรคอนกรีตโดยทางองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้มาดำเนินการให้ เจ้าหน้าที่รังวัดดำเนินการรังวัดแบ่งหักให้แล้ว แต่กลับไม่สามารถดำเนินการจดทะเบียนแบ่งหักที่ดินให้เป็นทาง ได้ โดยฝ่ายทะเบียนได้แจ้งให้ทราบว่า ผู้จัดการมรดก ไม่มีอำนาจแบ่งหักที่ดินให้เป็นทางฯ ที่เกิดหลังจากเจ้ามรดกตายได้ เพราะจะทำให้เสื่อมทรัพย์ และไม่มีข้อกฎหมายให้อำนาจผู้จัดการมรดกแบ่งหักที่ดินให้เป็นทาง ที่ไม่มีหนังสือยินยอมหรืออุทิศจากเจ้ามรดก และเกิดหลังจากเจ้ามรดกตายไปแล้วได้  ต้องแบ่งแยกที่ดินที่เป็นทางให้เป็นโฉนดที่ดินมา 1 แปลงก่อน แล้วให้โอนแก่ทายาท และจึงมาดำเนินการโอนที่ดินให้เป็นทางในภายหลังได้ โดยจะดำเนินการส่งเรื่องคืนให้ช่างรังวัดไปดำเนินการแก้ไขใหม่ เป็นแบ่งแยกในนามเดิมเพิ่มอีก 1 แปลง (แปลงที่เป็นทาง)  ไม่ทราบว่าการดำเนินการในลักษณะนี้ เป็นการถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ครับ ทายาทต้องโอนที่ดินส่วนที่เป็นทางให้แก่ตนเอง แล้วถึงค่อยยกให้เป็นทางสาธารณะประโยชน์ อย่งนั้นหรือครับ 

    ขอบคุณครับ

    คำตอบ
    ไม่ถูกหรอก เพราะผู้จัดการมรดกย่่อมมีอำนาจกระทำการเกี่ยวกับทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์ของทายาทได้ทั้งหมด เมื่อที่ดินนั้นเป็นที่ตกลงกันในหมู่ทายาทแล้วว่าเป็นเช่นนั้น การที่ผู้จัดการดำเนินการไปจึงผูกพันกองมรดกและทายาททั้งปวง  หากเสียหายอย่างไรทายาทเขาก็ฟ้องร้องผู้จัดการมรดกเอง ไม่ใช่หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่จะไปวุ่นวายกับเขา  และการที่เขาจัดให้มีการทำถนนสาธารณะผ่านที่ดินนั้น เป็นการยกที่ดินให้เป็นทางสาธารณะแล้ว แม้ไม่มีการกันโฉนดออก ที่ดินนั้นก็ตกเป็นทางสาธารณะตั้งแต่แรก จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ที่ดินที่จะต้องดำเนินการกันที่ดินไว้เป็นทางสาธารณะ
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    24 พฤษภาคม 2558