ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    040526 พ.ร.บ. ล้างมนทิน 2550พจ9 มิถุนายน 2553

    คำถาม
    พ.ร.บ. ล้างมนทิน 2550

    เรียนท่านอาจารย์มีชัย

       ผมสังสัยเกี่ยวกับผลของการล้างมนทินตาม พ.ร.บ.ล้างมนทินฯ พ.ศ. 2550 ในส่วนของสถานภาพของผู้ได้รับการล้างมนทินดังนี้ครับ

    หากนาย ก กระทำความผิดอาญาฐานทำร้ายร่างกายโดยศาลอาญามีคำพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ให้ลงโทษจำคุก 2 ปี ซึ่งนาย ก ได้รับโทษจำคุกและพ้นโทษแล้ว ก่อนวันที่ 5 ธ.ค. 2550 ย่อมได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ.ล้างมนทินฯ พ.ศ.2550 แต่การล้างมนทินมีผลเป้นการล้างเฉพาะโทษที่ผู้ต้องหาได้รับเท่านั้น มิได้มีผลเป็นการลบล้างการกระทำความผิดอันเป็นเหตุให้ถูกลงโทษ โดยให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ

    1.คำว่า "...ให้ถือว่าผู้นั้นมิได้เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้น ๆ..." จะมีผลถือว่านาย ก ไม่เคยเป็นผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เนื่องจากกระทำความผิดดังกล่าวเลย แต่ยังอาจถือว่าเป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดีเท่านั้น

    หรือจะมีผลนาย ก. ยังคงมีสถานภาพเป็นผู้เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก แต่ถือว่าไม่เคยถูกลงโทษในกรณีความผิดนั้นๆครับ ไม่ทราบว่าจะมีผลอย่างไรครับ

    2.นาย ก. จะเป็นผู้มีลักษณะต้องห้ามตาม พ.ร.บ. คุณสมบัตมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ มาตรา 9 (5) "...ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ไม่ว่าจะได้รับโทษจำคุกจริงหรือไม่.." ครับ 

    รบกวนท่านอาจารย์กรุณาตอบคำถามด้วยนะครับ

    ขอขอบพระคุณอย่างสูงครับ

     

                                

    คำตอบ

    1. ในคดีอาญานั้น เวลาศาลพิพากษา จะพิพากษา ๒ ส่วน ส่วนหนึ่งคือ บุคคลผู้นั้นกระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่   ถ้าไม่ได้ทำผิด ก็จบกันไป ศาลก็จะยกฟ้อง  หากทำผิด ศาลก็จะพิพากษาในส่วนที่สอง คือ จะกำหนดโทษให้ต้องรับอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดนั้นเท่าไร และอย่างไร  เมื่อมีการล้างมลทินเกิดขึ้น เขาจะล้างมลทินในส่วนที่สอง คือ ให้ถือว่าไม่เคยได้รับโทษนั้น ๆ แต่ส่วนที่หนึ่งที่ว่าเคยทำผิดนั้นจะยังอยู่   คนทั่วไปอาจสงสัยว่าเมื่อล้างมลทินอย่างนี้แล้ว จะมีประโยชน์อะไร  ประโยชน์นั้นมีอยู่ กล่าวคือ ในเวลาที่เขากำหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของคนที่จะดำรงตำแหน่งต่าง ๆ นั้น มักจะกำหนดว่าต้องไม่เคยได้รับโทษจำคุก หรือต้องคำพิพากษาให้จำคุก (ลองดูมาตรา ๑๐๒ (๕) ของรัฐธรรมนูญ) ในกรณีที่ใครเคยถูกศาลพิพากษาว่ากระทำความผิดและสั่งลงโทษให้จำคุก คนนั้นก็จะได้รับการล้างมลทิน และถือว่าไม่เคยได้รับโทษจำคุกเลย และจะไม่ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด   แต่มีกฎหมายบางฉบับ (ซึ่งน้อยมาก) ที่จะกำหนดลักษณะต้องห้ามว่า ต้องไม่เคยเป็นผู้กระทำความผิดฐานต่าง ๆ  ซึ่งแปลว่าในกรณีนั้นกฎหมายเคร่งครัด ไม่ได้ถือเอาโทษเป็นเกณฑ์ หากแต่ถือเอาการกระทำความผิดเป็นเกณฑ์ ในกรณีเช่นนั้นถึงแม้จะมีกฎหมายล้างมลทิน คนนั้นก็จะไม่ได้รับประโยชน์ที่จะทำให้ไม่ขาดคุณสมบัติ  เช่น กฎหมายลักษณะปกครองท้องที่ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติของกำนันผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น

    2. ในกรณีนี้ เขาย่อมได้รับประโยชน์จากกฎหมายล้างมลทิน ทำให้ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    9 มิถุนายน 2553