ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    024846 ข้อกฎหมายและการสอบสวนวินัยร้ายแรงผู้เสียหายมีเคราะห์กรรม29 พฤศจิกายน 2550

    คำถาม
    ข้อกฎหมายและการสอบสวนวินัยร้ายแรง

    สวัสดีครับท่านอาจารย์ที่เคารพ

            ผมเป็นพนักงานราชการถูกตั้งข้อกล่าวหาว่า ร่วมกับข้าราชการระดับ 7 กระทำผิดวินัยร้ายแรงเกี่ยวกับเรื่องทุจริตเรียกรับเงิน  ซึ่งยืนยันได้ว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ซึ่งเรื่องดังกล่าวอาจเกิดจากความเข้าใจคลาดเคลื่อนระหว่างตัวแทนออกของซึ่งมีหลายคน ผู้บังคับบัญชา และ/หรือ ปัญหาระหว่างผู้บังคับบัญชาด้วยกันในแต่ละลำดับชั้นภายในหน่วยงานราชการนี้เอง จนกระทั่งมีการสั่งพักราชการทั้งสองคนในวันดังกล่าว เนื่องจากตรวจพบเงินในที่เกิดเหตุ (25.6.2550) และมีผู้ร้องเรียนเป็นตัวแทนฯ ห้างฯ (ซึ่งข้อเท็จจริงทางห้างไม่มีการมอบอำนาจหรือทราบเรื่องแต่อย่างใด)  และให้เหตุผลว่าเป็นความผิดชัดแจ้ง  แต่ไม่มีการสอบสวนข้อเท็จจริงก่อนถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นและที่มาของเงิน และความเป็นมาถึงปัญหาที่มีมาก่อนวันเกิดเหตุ 

            ปัจจุบัน (29.11.50) อยู่ในระหว่างพักราชการและสอบวินัยโดยมีผู้ใหญ่ภายในหน่วยงานนั้นสั่งผ่านมาทางผู้ที่มีส่วนร่วมในการพิจารณาความผิดท่านหนึ่งแนะนำมาโดยตลอดให้ผมนิ่งเฉยภายในหน่วยงานแล้วทุกอย่างจะดีเอง และห้ามบอกใคร และในระยะหลังยังแนะนำและชักจูงให้ผมรับสารภาพเพื่อให้เรื่องจบเร็วทันวันที่ 5.12.50 โดยแนะนำว่าจะได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ. ล้างมลทิน พ.ศ.2550 (แต่ยังไม่มีหลักประกันที่แน่ชัด)

             จึงเรียนมาเพื่อสอบถามในแต่ละประเด็น ดังนี้

    1. เรื่องนี้ปกติควรจะต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงขึ้นก่อนหรือไม่ อย่างไร (หนังสือร้องเรียนมีผู้ร้องเรียนเป็นผู้รับมอบอำนาจห้างฯ      แต่เรื่องนี้ข้อเท็จจริงไม่มีการมอบอำนาจให้ร้องเรียน และทางห้างฯ ไม่ทราบเรื่องมาก่อนเลย)

    2. กรณีตรวจพบเงินในที่เกิดเหตุ ถือเป็นความผิดชัดแจ้งอันเป็นเหตุให้สั่งพักราชการได้หรือไม่ อย่างไร

    3. ผมหนักใจและอึดอัดใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่สามารถบอกใครได้ และอยากให้เรื่องจบลงด้วยดีและโดยเร็ว และถ้ายอมรับก็เท่ากับว่าผมต้องผิด ทั้งๆ ที่ไม่ผิด และก็ยังไม่มีหลักประกันที่แน่ชัดว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร และได้รับประโยชน์จาก พ.ร.บ. ดังกล่าวจริงหรือไม่ เพียงใด  และเรื่องนี้หากผลการพิจารณาออกมาเข้าใจว่าหลังวันที่ 5.12.50 แล้ว      หากต้องได้รับโทษขอทราบว่าจะมีผลย้อนหลังมาถึงวันที่มีการกระทำความผิด (25.6.50) หรือไม่ หรือมีผลนับแต่วันที่มีคำสั่งครับ  ซึ่งผมจะได้รับประโยชน์จริงหรือไม่ แค่ไหน เพียงใด

             ขอแสดงความเคารพและนับถืออย่างสูง

                             ผู้เสียหายมีเคราะห์กรรม

     

            

         

     

     

    คำตอบ

    เรียน ผู้เสียหายมีเคราะห์กรรม

    1. การจะลงโทษใครก็ต้องมีการตั้งกรรมการสอบสวน

    2. อาจยังไม่ถือว่าเป็นความผิดชัดแจ้ง เพราะถ้าเป็นความผิดชัดแจ้งเขาก็คงสั่งลงโทษคุณไปแล้วโดยไม่ต้องสั่งพักงาน  การสั่งพักงานนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นความผิดปรากฏชัดแจ้ง หากการให้อยู่ในราชการจะเป็นการเสียหายต่อการสอบสวนเขาก็สั่งพักงานได้

    3. คุณถูกเขาหลอกแล้ว  เมื่อใดที่ถูกกล่าวหา ปัญหาจึงอยู่ที่ความจริงว่าคุณได้ทำผิดหรือไม่  ถ้าคุณทำผิดก็อาจต้องหาลู่ทางในการหลีกเลี่ยง ใครแนะนำอะไรก็มักจะทำตามเขา แต่ถ้าคุณไม่ได้ทำผิดจริง จะไปเก็บความจริงเอาไว้ทำไม ยิ่งไปรับสารภาพยิ่งแล้วใหญ่ เพราะเมื่อรับสารภาพแล้วต่อไปจะกลับคำย่อมไม่มีประโยชน์   สำหรับการล้างมลทินนั้น เป็นการล้างให้สำหรับโทษที่ได้รับเรียบร้อยแล้วก่อนหรือในวันที่ ๕ ธค.๕๐  และถึงแม้จะได้รับการล้างมลทิน ก็ไม่ได้ก่อให้เกิดสิทธิในการที่จะกลับเข้ารับราชการโดยอัตโนมัติ  หากแต่ต้องยื่นขอกลับเข้ารับราชการซึ่งเขาจะรับหรือไม่ก็ไม่มีอะไรแน่นอน โดยเฉพาะถ้าทำผิดเกี่ยวกับการทุจริตต่อหน้าที่ (รับเงิน) แม้จะได้รับการล้างมลทินแล้ว เขาก็อาจถือว่าเป็นการบกพร่องในศีลธรรมอันดี จนไม่อาจกลับเข้ารับราชการได้


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    29 พฤศจิกายน 2550