ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    024650 โทษทางวินัยกับ พ.ร.บ.ล้างมงทิน 2550ด.ต.ชูชาติ พ่อค้า19 พฤศจิกายน 2550

    คำถาม
    โทษทางวินัยกับ พ.ร.บ.ล้างมงทิน 2550

    เรียนถามท่านมีชัย

    1.ผมถูกจับกุมฐานมีอาวุธปืน โดยผิดกฏหมาย ศาลได้พิพากษาแล้วว่าผิดและได้รับโทษแล้ว คดีถึงที่สุด แต่โทษจำให้รอลงอาญา ปรับแล้ว

    2.ผมถูกตั้งกรรมการผิดวินัยร้ายแรง เรื่องอยู่ในระหว่างการดำเนินการทางวินัยในชั้นกองบังคับการ

    3.มี พ.ร.บ.ล้างมลทิน ม.4 ได้กล่าวไว้ว่า ให้ล้างมลทินให้แก่บรรดาผู้ต้องโทษในกรณีความผิดต่างๆ ซึ่งได้กระทำก่อน ฯ และได้พ้นโทษไปแล้ว ฯ โดยให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องโทษในความผิดนั้น ๆ

    4.มีกฏ ก.ตร.ออกตาม พ.ร.บ.ข้าราชการตำรวจ พ.ศ.2547 หมวด 3 ข้อ 29 ..กล่าวไว้ว่า หากมีคำพิพากษาถึงที่สุด ให้คณะกรรมการสอบสวนถือเอาคำพิพากษาฯลฯ

    5.ในกรณีของผม เมื่อ พ.ร.บ.ล้างมลทินมีผลบังคับใช้ ผมได้รับผลตาม ม.4

    ผมอยากเรียนถามว่า คณะกรรมการหรือผู้บังคับบัญชาที่สั่งตั้งกรรมการ จะยกเอาคำพิพากษามากล่าวในเรื่องวินัยได้อีกหรือไม่ ในเมื่อตาม ม.4 ได้นิรโทษกรรม

    ให้ผมแล้ว

    6.กราบขอบพระคุณท่านอีกครั้งที่กรุณาตอบ

    คำตอบ

    เรียน ด.ต.ชูชาติ

    การล้างมลทินเขาล้างให้เฉพาะโทษ แต่ไม่ได้ล้างความผิดที่กระทำ ดังนั้นคณะกรรมการจึงหยิบยกพฤติกรรมของการกระทำมาพิจารณาเพื่อลงโทษทางวินัยได้

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    19 พฤศจิกายน 2550