ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    045391 ที่ดินชนะคดีศาลฎีกา แต่ฝ่ายจำเลยกลับมีเอกสารสิทธิ์ที่ดิน26 กรกฎาคม 2554

    คำถาม
    ที่ดินชนะคดีศาลฎีกา แต่ฝ่ายจำเลยกลับมีเอกสารสิทธิ์

                                                                                    26  กรกฎาคม  2554

    เรียน       ท่านมีชัย  ฤชุพันธ์

    เรื่อง       ที่ดินชนะคดีศาลฎีกา แต่ฝ่ายจำเลยกลับมีเอกสารสิทธิ์

    นาย ม. มีที่นาแปลงหนึ่ง  เนื้อที่ประมาณ  40 ไร่  ครอบครองทำประโยชน์มาโดยตลอด  แต่ เอกสารสิทธิ์ ส.ค.  ๑ ที่มีนั้น  ไม่ได้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด  ต่อมา นิคมสร้างตนเอง ได้เข้ามาจัดสรรพื้นที่ทำกิน และจัดสรรที่ดินบางส่วนของนาย ม. ให้กับนาย พ.  เกิดเป็นเรื่องราวพิพาทกันขึ้น  นาย ม. เห็นว่าไม่ถูกต้องจึงดำเนินการฟ้องร้องแสดงสิทธิ์  ในที่สุด ศาลฎีกา  ตัดสินคดีให้นาย ม. โจทย์ เป็นผู้ชนะ   โดยพิพากษาว่า “ที่ดินพิพาทเป็นของโจทย์ ห้ามจำเลยและบริวาร เกี่ยวข้อง”   (พิพากษาเมื่อ ปี 2532) 

    หลังจากสิ้นสุดคดี  ไม่มีการบุกรุกใดๆ นาย ม. และบุตรหลาน  ยังคงทำประโยชน์ บนที่ดินผืนดัง กล่าวมาโดยตลอด ต่อมาเมื่อมีโครงการจัดทำเอกสารสิทธิ์ เป็นโฉนดที่ดิน  มีเจ้าหน้าที่เข้ามาดำเนินการรังวัด  และออกโฉนดให้  กลับได้รับโฉนดที่ดินระบุพื้นที่เท่ากับ ส.ค. ๑ เท่านั้น  พื้นที่ส่วนที่เคยเกิดคดีความจำนวน 12 ไร่ กลับไม่มี  ทางนาย ม.  จึงได้ทักท้วงและสอบถามทางเจ้าพนักงานที่ดิน  ซึ่งก็ได้รับคำตอบว่า  เขตพื้นที่ดังกล่าว อยู่ในความรับผิดชอบของนิคมฯ  ให้นาย ม. ไปดำเนินการติดต่อและชี้แจงเรื่องราว กับทางนิคมฯ เอาเอง

    นาย ม. ได้ไปติดต่อ  โดยแนบเอกสารต่างๆ รวมทั้งคำพิพากษาศาลฎีกา  แต่เรื่องราว ก็เงียบหายไปนาน จึงได้ไปสอบถามเจ้าหน้าที่นิคมฯใหม่อีกครั้ง  ได้รับคำตอบว่า เอกสารที่เคยยื่นไว้ทั้งหมดสูญหาย ให้ยื่นเรื่องใหม่  ซึ่งได้เนินการครั้งใหม่ไปแล้ว     ขณะนี้อยู่ระหว่างรอการดำเนินการของเจ้าหน้าที่นิคมฯ   ซึ่งแจ้งว่า  หากมีโครงการรังวัดออกโฉนดอีกเมื่อใด จะแจ้งให้ทราบทันที

    แต่เมื่อต้นที 2554 ที่ผ่านมา  เนื่องจากหมดหน้านา  บุตรหลานนาย ม. ปิดบ้าน ออกไปทำงานต่างจังหวัด  กลับมีบุคคลบางกลุ่ม  เข้ามาล้มเสาหลักเขตที่ปักไว้ตลอดแนวเขตพื้นที่ซึ่งเคยมีคดีความ มีเพื่อนบ้านในละแวกเดียวกันแจ้งให้ทราบ  จึงได้แจ้งเหตุดังกล่าวให้ผู้ใหญ่บ้านรับทราบ

    ล่าสุดเมื่อ 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา บุตรนาย พ.(นาย พ. เสียชีวิตไปหลายปีแล้ว) ได้เข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า หลานนาย ม. บุกรุกที่ดินของตน โดยบุตรนาย พ. ยืนยันกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจว่ามีเอกสารสิทธิ์ครอบครองที่ดินถูกต้อง และที่ดินดังกล่าว เป็นที่ดินของบิดาตน เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเรียกคู่กรณีไปโรงพัก กลับทำได้เพียงลงบันทึกประจำวันไว้  ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้  เนื่องจากทั้งสองฝ่าย ต่างอ้าง เอกสารของฝ่ายตน  นาย ม. มีคำพิพากษาศาลฎีกา แต่ทางฝ่ายบุตรนาย พ. อ้างว่ามีโฉนดที่ดิน และโชว์ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดู เท่านั้น

    จึงอยากเรียนถามท่านดังต่อไปนี้

    1.             กรรมสิทธิ์บนที่ที่ดินผืนดังกล่าวควรเป็นของใคร  ระหว่างนาย ม. กับบุตร นาย พ.

    2.             นาย ม. ควรดำเนินการอย่างไรต่อไป เพื่อให้เรื่องยุติติโดยเร็วและไม่เกิดปัญหากระทบกระทั่งรุนแรง โดยมิให้เกิดการเผชิญหน้า จนกระทั่งบานปลายเป็นอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน  เนื่องจากขณะนี้ บุตร นาย พ. บุกเข้ามาทำประโยชน์ในพื้นที่อย่างไม่กลัวเกรง  โดยอาศัยบารมีเครือญาติที่เป็นผู้ปกครองท้องถิ่นทั้งกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน

    3.             ตำพิพากษาของศาล มีระยะเวลาสิ้นสุดหรือไม่อย่างไร

    4.             เหตุใดอีกฝ่ายจึงสามารถเดินเรื่องออกเอกสารครอบครองที่ดินผืนดังกล่าวได้ ทั้งๆที่มิเคยเข้ามาทำประโยชน์แต่อย่างใด

    5.             เอกสารสิทธิ์ที่ฝ่าย บุตรนาย พ. ถือครองอยู่นั้นถูกต้องหรือไม่  สามารถดำเนินการตรวจสอบ เพื่อยกเลิกหรือเพิกถอนได้หรือไม่อย่างไร

     

    ขอแสดงความนับถือ

    konsaren@hotmail.com

    คำตอบ

    1. ถ้าว่าตามคำพิพากษาของศาลที่อ้างมา ที่ดินก็น่าจะเป็นของ นาย ม.

    2. ถ้าพูดคุยกันไม่ได้ นาย ม.ก็คงได้แต่ฟ้องศาลเพื่อขับไล่ บุตรนาย พ. ออกไปจากที่ดิน และขอให้ศาลสั่งห้าม บุตรนาย พ.และบริวารมายุ่งเกี่ยวด้วย

    3. ไม่มี  เว้นแต่ บุตรนาย พ.จะได้สิทธิมาโดยทางอื่น ที่ดีกว่า เช่น นาย ม.เผลอไปขายให้เขาไป

    4. ไม่ทราบเหมือนกัน ในการฟ้องร้องจึงต้องฟ้องร้องให้ศาลสั่งเพิกถอนเอกสารนั้น (ถ้ามี) เสียด้วย

    5. ไม่ทราบ เพราะไม่รู้ว่าเป็นเอกสารอะไร และออกมาได้อย่างไร


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    26 กรกฎาคม 2554