ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    040905 สัญญาค้ำประกันหนี้ทุกชนิดของธนาคารกรุงเทพมนชัย2 กรกฎาคม 2553

    คำถาม
    สัญญาค้ำประกันหนี้ทุกชนิดของธนาคารกรุงเทพ

    สัญญาค้ำประกันหนี้ทุกชนิดของธนาคารกรุงเทพ

     

    อดีตภรรยาทำธุรกิจส่งออก ตั้งแต่ปี 2536  ธนาคารปล่อยสินเชื่อ โดยนำหลักทรัพย์ ของกระผม ไปค้ำประกัน และให้กระผมเซ็นต์ยินยอมในนิติกรรมทุกอย่างในฐานะคู่สมรส

    กรรมการ ผู้มีอำนาจ ตามหนังสือรับรอง มีอดีตภรรยา ของกระผม และกระผม แต่กระผมไม่เคยทำธุรกิจกับภรรยา  และ ได้ทำงานเป็นลูกจ้างบริษัทเอกชนตลอดมา  ธนาคารก็รับรู้ทุกอย่างว่า กิจการของอดีตภรรยา เป็นผู้ดำเนินกิจการด้วยตัวเอง

    ทุกครั้งที่ปล่อยสินเชื่อ และมีการจดจำนอง กระผมต้องเข้ายินยอม และร่วมเป็นผู้ค้ำประกันเพราะทรัพย์สินที่จำนองเป็นของกระผมทั้งหมด  (ฐานะของกระผมดีกว่าภรรยา)

    ต่อมากระผมและอดีต ตัดสินใจหย่าร้างกันในปี 2549  แต่ยังมีชื่อกระผม ในหนังสือรับรองของบริษัท ในฐานะผู้กรรมการผู้มีอำนาจ  (กระผมลืมเรื่องนี้ไปเลย โดยไม่ได้คิดว่าจะมีปัญหาในภายหลัง)

    พอหย่าขาดกับภรรยา กระผมได้ขอหลักประกันคืน หมายถึงฉโนดที่ดิน และ บ้านทั้งหมด ซึ่งเป็นทรัพย์สินของกระผม และ แจ้งความประสงค์ ขอยกเลิกการค้ำประกันทั้งหมดต่อธนาคาร เจ้าหนี้ที่สินเชื่อที่รีบผิดชอบได้นำ ฉโนดที่ดิน ฉโนดบ้านทั้งหมด คืนให้กระผม และ แจ้งด้วยวาจาว่ากระผมได้พ้นจาการเป็นผู้ค้าประกันทุกชนิดของอดีตภรรยา โดยอดีตภรรยาได้นำหลักทรัพย์ที่นำไปจดจำนองเป็นของบริษัท ของอดีตภรรยาเอง และ อดีตภรรยาได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ทั้งหมดด้วยตัวเองเป็นฉบับใหม่  หลังจากที่กระผมได้หย่าขาดกับภรรยาแล้ว  ในวันที่ผมของไถ่ถอนหลักประกันคืนทั้งหมด และยกเลิกการเป็นผู้ค้ำประกัน ทั้งในฐานะคู่สมรส และ เจ้าของทรัพย์สินที่เคยจดจำนองไว้

     

    ต่อมาธุรกิจของอดีตภรรยาประสพภาวะขาดทุนในปี 2551   (สองปีต่อมา หลังหย่าขาด )  และอดีตภรรยาขอปรับโครงสร้างหนี้  ถ้อยคำในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ว่า  ธนาคารไม่ได้ปลดผมออกจากการเป็นผู้ค้ำประกัน ตามที่ได้แจ้งไว้ โดยวาจา  และหนังสือค้ำประกันหนี้ หนังสือยืนยอม ที่เซ็นต์ในอดีตหลายปี กับยังมีผลผูกพัน กับกระผมทั้งหมด

    อดีตภรรยา จึงไม่สามารถเซ็นต์หนังสือปรับโครงสร้างหนี้ กับธนาคารได้ เพราะเป็นสัญญาซึ่งไม่ถูกต้อง  หนี้สินจึงกลายเป็นหนี้มีปัญหาต่อมา และ ในปี 2552  ธนาคารได้ยื่นฟ้อง กระผมเป็น จำเลยที่ 2 (ทั้งๆที่ผมได้เกี่ยวข้องใดๆ กับริษัทเลย เพียงเพราะกระผมเป็นคู่สมรส  กระผมเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่จดจำนองเดิม ตั้งแต่อดีต  และ กระผมมีชื่อเป็นผู้มีอำนาจในหนังสือรับรองบริษัทตั้งแต่ ปี 2536)

     

    ต่อมาธนาคารฟ้องกระผมใบฐานะผู้ค้ำประกันเป็นจำเลย ที่ 2 บริษัทของอดีตภรรยาเป็นจำเลยที่ 1  และ อดีตภรรยาเป็นจำเลยที่ 3  โดยใช้เอกสารเก่า ซึ่งเป็นเอกสารที่เซ็นต์ไว้ตั้งแต่ทรัพย์สินที่จดจำนอง หลายปี  ซึ่งควรเป็นสัญญาค้ำประกันที่สิ้นสุดไปแล้ว  แต่นำเอกสารเก่าๆ ที่กระผมเคยเซ็นต์ไว้ ก่อนหย่า มาฟ้องกระผมเป็นหนี้ถึง 15 ล้านบาท  ซึ่งเป็นหนี้ที่ผมไม่ได้ก่อและผมควรจะสิ้นสุดการค้ำประกัน ตั้งหลายปีแล้ว  (กระผมไม่ทราบข้อกฏหมายและไม่คาดว่ากิจการของอดีตภรรยาจะมีปัญหาในภายหลัง จึงมิได้ขอเอกสาร ยืนยันจากธนาคารกรุงเทพฯ)

     

    หลังจากถูกฟ้องกระผมได้นำเอกสารทั้งหมดที่เซ็นต์มาตรวจสอบพบว่า  ในสัญญาค้ำประกันหนี้ทุกชนิดของธนาคารกรุงเทพฯ ให้ผู้ค้ำประกัน ยอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วม  ทั้งก่อนทำสัญญา  ขณะทำสัญญา และ หลังทำสัญญา  ซึ่งเป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรมต่อกระผม

     

    หากมีการผ่อนเวลาให้กับลูกหนี้ กระผมจะยอมรับได้การผ่อนเวลาทั้งหมด   โดยระบุว่า “ ในกรณีที่ธนาคารยอมผ่อนเวลาชำระหนี้ให้กับจำเลยที่ 1 โดยจะแจ้งหรือไม่แจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบก็ตาม ให้ตกลงว่าผุ้ค้ำตกลงยินยอมด้วยในการผ่อนเวลาและมิให้ถือเอาการผ่อนเวลาเป็นเหตุปลดเปลี้องความรับผิดของผู้ค้ำประกัน และหากจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาผู้ค้ำประกันยอมสละสิทธิ์ในการต่อสู้ให้ธนาคารบังคับเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อน”

     

    นอกจากนี้ พฤติกรรมต่างๆ ส่อเป็นการกระทำที่ไม่สุจริตใจต่อกระผม  และ สัญญาฉบับนี้ ถือว่าไม่เป็นธรรมกับผุ้ค้ำประกันซึ่งเป็นวิญญูชน  หากจะเข้าใจในข้อความและคำพูดในภาษากฏหมายแบบนี้ ไม่

    เอกสารที่อดีตภรรยาผม ได้เซ็นต์ค้ำประกันฉบับสุดท้าย  เพื่อเป็น ไถ่ถอนหลักทรัพย์ ของกระผม พร้อมภาระการค้ำประกันในฐานะคู่สมรส ที่ผ่านมา  โดยทดแทนด้วยหลักทรัพย์ของบริษัท จะเป็นการสิ้นสุดการค้ำประกัน และ นิติกรรมทุกชนิด  กลับถูกหน่วงเหนี่ยวไม่จัดส่งให้ ตั้งแต่ปี 50  แม้ขอให้ส่ง (หลังฟ้อง) กลับเพิกเฉย และ บ่ายเบี่ยง

     

    ขอเรียนอาจาร์ย์ ช่วยพิจารณาว่ากระผม จะมีทางต่อสู้ๆ ใด ๆ กับสัญญาที่ไม่เป็นธรรมแบบนี้  พฤติกรรมที่ไม่สุจริต สามารถนำสู่ศาลเพื่อขอความเป็นธรรม ให้แก่กระผมได้หรือไม่  กระผมเป็นทุกข์เหลือเกิน 

    มนชัย

     

    คำตอบ
    เท่าที่จะแนะนำได้ก็คือ ควรหาทนายความมือดี ๆ ไปสู้คดี  แต่ก็เป็นเรื่องยากไม่น้อย ต้องอาศัยกฎหมายที่ว่าด้วยสัญญาที่ไม่เป็นธรรมมาประกอบ
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    2 กรกฎาคม 2553