ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    040164 เอารถไปค้ำเงินกู้เดือดร้อน12 พฤษภาคม 2553

    คำถาม
    เอารถไปค้ำเงินกู้

    เรียน อ.มีชัย

    คือว่าเมื่อเดือนกรกฎาคมปี 52 ดิฉันเดือดร้อนเรื่องเงินมากหายืมที่ไหนไม่ได้เลย

    แต่จำเป็นต้องใช้เงินเลยต้องไปกู้เงินนอกระบบ โดยเจ้าหนี้เขาให้ดาวน์มอไซค์

    ออกมาแล้วเอาไปค้ำกู้มาได้แค่13000 บาทโดยเขาจะมีสัญญาที่เขียนขึ้นมา

    เป็นลายลักษณ์อักษรระบุเงื่อนไขชัดเจนระหว่างผู้ให้กู้กับผู้กู้มีการลงชื่อในสัญญา ในสัญญาจะระบุว่าเป็นสัญญาการกู้เงิน โดยมีรถมอเตอร์ไซค์เป็นสิ่งค้ำประกัน ถ้าเราคืนเงินต้นครบเมื่อไหร่เขาก้อจะคืนรถให้เรา แต่ปรากฏว่า 4 เดือนผ่านไป(พ.ย)เราจะเอาเงินต้นที่ค้างอยู่ 9000 ไปคืนเพื่อไถ่รถแต่ไม่สามารถติดต่อบุคคลที่ทำเรื่องสัญญาได้ และตอนที่ทำสัญญากันก้อไม่ได้ไปทำที่บริษัทแต่นัดกันในสถานที่ข้างนอก ตอนที่ทำสัญญาลืมนึกไปว่าเรายังไม่ได้เป็นเจ้าของรถไม่สามารถเอารถไปทำอะไรได้ ดิฉันคิดได้แค่ว่าถ้าเจ้าหนี้โกงเอารถไปเราก้อมีหลักฐานเป็นสัญญาคงไปดำเนินคดีได้ พอติดต่อไม่ได้ดิฉันเลยไม่รู้จะทำไงตอนนี้ค้างค่างวดอยู่ 4 เดือนไฟแนนซ์โทรมาทวงก้อเลยบอกความจริงไปว่าเอารถไปค้ำเงินกู้ แต่โดนเจ้าหนี้เอารถไปเลย จะไปแจ้งความแต่คนที่เป็นชื่อเจ้าของรถคือหลานสาวเขายังลางานไม่ได้ไม่ว่าง ดิฉันเป็นคนค้ำและค่างวดดิฉันก้อเป็นคนจ่ายเองตั้งแต่แรก แค่ให้หลานออกรถให้

    คำถาม.

    1.ในเมื่อเรามีหลักฐานเป็นสัญญากู้เราจะขอใบมอบอำนาจจากไฟแนนซ์ไปแจ้งความตามจริงได้ใช่หรือไม่คะ

    2.ความผิดของเราในกรณีที่เราเอารถที่ยังเป็นชื่อของไฟแนนซ์ไปค้ำเงินกู้มีความรุนแรงขนาดไหนต้องถึงขั้นติดคุกหรือป่าว

    3.ถ้าเราแจ้งความไปแล้วทางไฟแนนซ์จะดำเนินการกับเราอย่างไรต่อไป

    4.ในกรณีนี้จะถือว่าเจ้าหนี้ยักยอกทรัพย์ได้หรือไม่ เพราะดิฉันไม่ได้ผิดสัญญาจ่ายดอกเงินกู้ครบทุกบาทตัดเงินต้นด้วย

    5.ดิฉันได้ไปแจ้งความว่ารถหาย(เหมือนแจ้งความเท็จเพราะไม่ได้บอกว่าเอารถไปค้ำเงินกู้แล้วเจ้าหนี้เอารถหายไปเลย)ทางตำรวจได้ลงบันทึกประจำวันไว้เฉยๆเพราะต้องให้ไฟแนนซ์มาแจ้งเองหรือใช้ใบมอบอำนาจ การลงบันทึกไว้เฉยๆมีอายุความหรือไม่และมีผลทางกฏหมายหรือยัง ดิฉันต้องไปถอนแจ้งความหรือป่าวคะ เพราะคราวนี้จะเอาใบมอบอำนาจจากไฟแนนซ์แล้วให้หลานเป็นคนไปแจ้งเองเพราะเป็นเจ้าของรถ

    ขอขอบคุณอาจารย์ ในคำตอบล่วงหน้าค่ะ

     

    คำตอบ

    คุณไม่มีความรู้ทางกฎหมาย แต่กระทำการต่าง ๆ โดยนึกว่ารู้กฎหมายเพื่อจะหลีกเลี่ยงกฎหมาย ยิ่งทำก็จะยิ่งเป็นวัวพันหลักเข้าตัวมากขึ้น  เริ่มต้นตั้งแต่ไม่มีเงิน เมื่อจะจะไปกู้หนี้เขา ก็กลับไปสร้างหนี้ด้วยการซื้อรถเงินผ่อน เป็นการซ้ำเติมฐานะของตัวเองเข้าไปอีก และนอกจากซ้ำเติมตัวเองแล้วยังไปดึงหลานให้มาเป็นผู้ซื้อรถให้เขากลายเป็นลูกหนี้อีกคนหนึ่ง โดยมีคุณค้ำประกัน ซึ่งก็แปลว่าในกรณีของการซื้อรถนั้น อยู่ ๆ ก็เพิ่มภาระให้มีหนี้กันสองคน โดยไม่ได้อะไรเลยนอกจากเป็นหนี้เพิ่มขึ้น  แล้วก็เอารถนั้นไปมอบให้เป็นการค้ำประกันหนี้ที่ไปกู้มาโดยไม่คุ้มกับราคารถ ครั้นตามหาตัวเจ้าหนี้เงินกู้ไม่พบ ก็นึกว่าเขาโกง เลยไปแจ้งความ เวลาไปแจ้งความก็แจ้งความว่ารถหาย เป็นการแจ้งความเท็จเข้าไปอีก  คงนึกว่าเมื่อแจ้งว่ารถหายแล้วก็จะได้ปลอดจากหนี้ของบริษัทขายรถ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด เพราะไม่ว่ารถจะหายหรืออยู่ คุณก็ต้องรับผิดชอบในหนี้นั้นจนกว่าจหมด สมมุติว่าถ้าได้รถคืนมา คุณก็คงคิดอย่างคนทั่ว ๆ ไปคิด คือเอารถไปคืนบริษัทที่ขายรถให้แล้วก็นึกเอาเองว่าหนี้คงหมดกัน  แต่ในความเป็นจริง ไม่ได้เป็นอย่างนั้นหรอก เพราะเมื่อคุณเอารถไปคืนเขา เขาก็เอาไปขายในราคาถูก ๆ เช่น ราคาสี่หมื่น เขาอาจขายไปในราคาหนึ่งหมื่น ส่วนที่เหลืออีกสามหมื่นเขาก็มาตามเรียกเก็บจากคุณ ในระหว่างที่คุณยังนอนดีใจว่าหมดหนี้สินไปแล้วนั้น ดอกเบี้ยของเงินสามหมื่นดังกล่าวจะวิ่งขึ้นทุกวัน พอเวลาผ่านไปสองสามปี เงินต้นกับดอกเบี้ยก็จะกลายเป็นเงินแสน แล้วเขาก็จะฟ้องเพื่อทวงหนี้คุณ ถ้าไม่มีให้เขา ๆ ก็ตามมายึดทรัพย์ที่มีอยู่ไปขายทอดตลาดเพื่อเอาเงินไปชำระดอกเบี้ย หากมีเหลือก็ชำระเงินต้น ถ้าเงินต้นยังไม่หมด ก็จะผลิตดอกเบี้ยต่อไป อีกไม่นานก็กลายเป็นเงินแสนอีก

    1. จะไปแจ้งความเรื่องอะไรล่ะ ความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับเจ้าหนี้เงินกู้เป็นเรื่องทางแพ่ง คือ กู้เงินเขามาแล้วจะชำระหนี้เพื่อเอารถคืนแต่หาตัวเขาไม่เจอ เพียงเท่านี้ยังไม่เป็นความผิดอาญาอะไรที่จะไปแจ้งความเขาได้  ทางที่จะทำก็คือต้องตามหาตัวเขาให้พบ และถ้าเขาไม่คืนรถให้ก็ต้องไปฟ้องเพื่อเรียกรถคืนหรือเรียกค่าเสียหายจากเขา

    2. ถ้าทำดี ๆ ก็ไม่เป็นความผิดอาญา ที่ว่าทำดี ๆ ก็คือ ยอมกัดฟันชำระหนี้เขาไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะผ่อนหมด แล้วหากยังตามหารถไม่ได้ ก็คิดเสียว่าเป็นการซื้อความรู้ด้วยราคาแพง

    3. ไม่ว่าคุณจะแจ้งความหรือไม่แจ้งความ (ซึ่งก็ยังไม่รู้ว่าจะไปแจ้งเรื่องอะไร) ทางไฟแนนซ์เขาก็ต้องติดตามทวงเงินค่ารถจากคุณ  จนกว่าเขาจะได้ครบ ถ้าคุณไม่ชำระ เขาก็คงฟ้องศาล

    4. คุณเป็นคนเอารถไปจำนำเขาเองจะไปเรียกว่าเขายักยอกได้อย่างไร

    5. ที่คุณดิ้นรนจะไปแจ้งความ ก็คงเป็นเพราะนึกว่าถ้าแจ้งความว่าถูกโกงก็ดี หรือรถหายก็ดี แล้วจะได้ไม่ต้องรับผิดชอบต่อไฟแนนซ์ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด เพราะไม่ว่าจเกิดอะไรขึ้น คุณก็ยังมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่ารถเขาจนกว่าจะครบถ้วนอยู่นั่นเอง  การดิ้นรนไปแจ้งความว่ารถหายนั้น ก็เป็นการแจ้งความเท็จ เป็นความผิดอีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้น โดยตัวเองก็ไม่ได้รับประโยชน์อะไร นอกจากความผิดที่จะติดตัวต่อไป   ทางที่ดีไปถอนแจ้งความเสีย หรือมิฉะนั้นก็เฉย ๆ ไป ไม่ต้องไปตามเรื่อง

        


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    12 พฤษภาคม 2553