ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    039699 ค้ำประกันรถยนต์ผู้ฟ้อง26 มีนาคม 2553

    คำถาม
    ค้ำประกันรถยนต์

    สวัสดีค่ะ อาจารย์  หนูมีเรื่องร้อนใจรบกวนถามหน่อยค่ะ

    คือญาตสนิทของหนูได้รับจดหมายจากบริษัทรถยนต์แห่งหนึ่งว่าเป็นผู้ค้ำประกันรถยนต์ แต่รถยนต์ผ่อนไปได้ 3 งวด ก็หายไปเลย ตามไม่เจอ จดหมายเลยส่งมาทวงถามผู้ค้ำประกัน ทั้งที่ญาตของหนูไม่ได้เป็นผู้เซ็นค้ำประกัน มีเซลล์ขายรถเป็นคนปลอมลายเซ็น ในหนังสือสัญญาค้ำประกัน ก่อนหน้านั้นญาตได้ให้เอกสารเพื่อค้ำประกันให้ผู้จะซื้ออีกรายหนึ่ง แต่รายนั้นเอกสารไม่ผ่าน เอกสารก็ไม่ได้ไปเอาคืน เซลล์ขายรถเลยเอาเอกสารไปปลอมลายเซ็นเพื่อค้ำให้อีกคนหนึ่ง ซึ่งทั้ง 2 คน ญาตหนูก็รู้จัก (เค้าเป็นสามี ภรรยากันค่ะ) เมื่อสามีซื้อไม่ผ่านจึงให้ภรรยาซื้อแทน แล้วเอาเอกสารไปปลอมลายเซ็น รับรองสำเนาถูกต้อง และในสัญญาค้ำประกันด้วย พอญาตหนูได้รับหนังสือ ก็คิดว่าตนเองไม่ได้เซ็นเลยไม่ได้สนใจ(อายุก็มากแล้ว และไม่ค่อยรู้กฎหมาย) แต่พอบริษัทรถโทรทวงถามมากๆ จึงมีคนแนะนำให้ไปแจ้งความจึงไปแจ้งความไว้ พอหลังจากนั้นก็มีหมายศาลมาที่บ้าน ฟ้องผู้ค้ำประกัน ญาตหนูก็ไปตามนัด ก็ชี้แจงกับศาลว่าไม่ได้เซ็น และเป็นผู้เสียหาย  มีการพิสูจน์ลายนิ้วมือเรียบร้อยแล้วว่าไม่ใช่ลายเซ็นตนเอง จึงพ้นผิด(ชนะ)  ต่อมา ทนายจึงได้แนะนำให้ฟ้องกลับเรียกค่าเสียหาย ทางเราก็ทำตามคำแนะนำของทนาย ก็เรียกค่าเสียหายเป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท พอไปศาลตามนัดเพื่อไกล่เกลี่ย บริษัทรถก็ให้ทางเราลดหย่อนให้ เราก็ลดให้เหลือ 100,000 บาท  เค้าก็โทรไปปรึกษากับคณะที่บริษัทรถ ผลคือก็จะไม่จ่ายให้อีก อ้างว่าที่กระทำมิได้มีเจตนากลั่นแกล้งแต่อย่างใด ศาลจึงให้สืบ เรื่องก็เหมือนเดิม(สืบที่เคยสืบไปแล้วซ้ำๆ)  ศาลจึงนัดฟังคำพิพากษา ปรากฎศาลสั่งยกฟ้อง แต่ขณะนี้ทางเรายังไม่ได้ไปคัดสำเนามา จึงยังไม่ทราบว่า เอาเหตุผลประการใดมายกฟ้อง ในเมื่อเราชนะคดีไปแล้ว ครั้งแรก และเราเป็นผู้เสียหายจริงๆ ทำไมศาลจึงสั่งยกฟ้อง

    ขอเรียนถามอาจารย์ดังนี้ค่ะ

    1. ถ้าเราอุทธรณ์ไปอีก ศาลจะสั่งยกฟ้องเหมือนเดิมหรือเปล่า หนูกลัวจะเสียเวลาค่ะ เพราะคดีเนิ่นนานมากแล้ว ไม่จบเสียที

    2. แล้วที่เราชนะไปครั้งก่อน ผู้แพ้จะต้องจ่ายค่าเสียหายเป็นค่าทนายความ หรือค่าต่างๆ ให้กับผู้ชนะตั้งแต่ครั้งนั้นด้วยหรือเปล่าคะ

    3. การที่ศาลสั่งยกฟ้องนั้น (ถ้าไม่อุทธรณ์) ก็เท่ากับว่าคดีนี้เป็นอันสิ้นสุด ทางหนูไม่ได้ค่าเยียวยา และเรื่องเป็นอันยุติ ไม่ต้องมาเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อีกใช่หรือไม่คะ

    4. ที่ศาลสั่งยกฟ้อง เพราะเราไปแจ้งความช้าเป็นไปได้หรือไม่คะ แต่หนูคิดว่าจะแจ้งช้าหรือเร็ว เราก็คือผู้เสียหายอยู่ดี ญาตต้องหยุดงานบ่อย มีผลกับโบนัสปลายปี และสุขภาพก็ไม่ดี เพราะเขาเครียดมากกับเรื่องนี้

    5. อาจารย์ว่าทางหนูควรอุทธรณ์มั้ยคะ เหตุผลเพราะอะไร

     

                                                 ขอบคุณมากๆ ค่ะ

                                                อยากทราบมากจริงๆ ค่ะ

    คำตอบ

    1. ตอบไม่ได้หรอก เพราะไม่รู้รายละเอียดในการอุทธรณ์ และถึงรู้ก็เดาใจผู้พิพากษาไม่ถูกหรอก  อย่างไรก็ตามในคดีแรกที่คุณชนะ ก็เพราะคงจะนำสืบในศาลได้ความเป็นที่ยุติว่า ลายมือนั้นเป็นลายมือปลอม ไม่ใช่ลายมือของญาติคุณ  คุณจึงชนะคดี  แต่ในคดีที่สองที่คุณฟ้องเรียกค่าเสียหายนั้น คุณจะชนะได้ก็ต่อเมื่อนำสืบให้ได้ความว่าบริษัทรู้เห็นเป็นใจและนำความเท็จมาแกล้งฟ้องคุณให้คุณได้รับความเสียหาย ซึ่งคงนำสืบได้ยาก  จึงไม่ควรอุทธรณ์ให้เสียค่าทนายความมากขึ้นไปอีก

    2. ก็ต้องไปดูในคำพิพากษาคดีแรกว่าศาลสั่งว่าอย่างไร ได้ให้อีกฝ่ายจ่ายค่าทนายความให้คุณหรือไม่  แต่ถึงศาลจะสั่งให้จ่าย ก็ต้องเข้าใจว่าที่ศาลสั่งให้จ่ายนั้นจะมีจำนวนนิดเดียว เช่น อาจจะสั่งให้จ่ายค่าทนายความสามพันบาท ซึ่งจะไม่ใช่จำนวนที่คุณได้จ่ายให้ทนายความไปจริง

    3. ใช่

    4-5 ดูข้อ 1


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    26 มีนาคม 2553