ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    031886 การค้ำประกันรถยนต์กรณีอยู่ในชั้นศาลครูทัศน์5 พฤศจิกายน 2551

    คำถาม
    การค้ำประกันรถยนต์กรณีอยู่ในชั้นศาล

    เรียน  อาจารย์มีชัยที่เคารพอย่างสูง

            คือว่าผมได้ค้ำประกันรถยนต์ให้เพื่อนและเขาก็ได้ค้างการชำระค่างวดมาได้สามงวดแล้ว และบริษัทโตโยต้าได้ฟ้องร้องผมผู้ค้ำประกันและได้ขึ้นศาลแพ่งกรุงเทพใต้เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2551 และศาลได้สั่งให้ผู้เช่าซื้อและผมผู้ค้ำประกันร่วมกันส่งมอบรถแก่บริษัท ปัญหาคือรถอยู่ในมือของนายทุนที่เพื่อนไปกู้เงินนอกระบบเขามาใช้ ผมได้ติดต่อให้เขาส่งมอบรถให้ผมแต่ต้องมีเงินมาไถ่ถอนจากนายทุน 250,000 บาท ผมไม่มีเงินไถ่ถอนและเพื่อนได้ค้างค่ารถในโตโยต้าลีสซิ่งสามแสนกว่าบาท  ในวันที่ 1 ธันวาคม 2551 ผมจะต้องขึ้นศาลอีก ผมขอเรียนถามว่า

          1.ผมจะทำอย่างไรเพื่อจะชี้แจงต่อศาล เพราะผมไม่มีรายได้พิเศษอะไรนอกจากเงินเดือน หนี้สินสหกรณ์ครูของผมก็มีแยอะต้องมารับภาระส่งงวดให้เพื่อนอีก

         2.ผมจะทำอย่างไรจะสามารถส่งชำระตามกำลังเงินเรามีอยู่ ศาลท่านจะมีเมตตาไหมครับ ผมไม่ได้ปฏิเสธการชำระหนี้แต่มันเกินความสามารถของเราในแต่ละเดือนผมจะทำอย่างไร  ขอความกรุณาได้ให้ความกระจ่างแก่ผมด้วยครับ ขอขอบคุณครับ

    คำตอบ
    คำถามทั้งสองข้อนั้น เป็นเรื่องที่ต้องคิดก่อนที่จะเที่ยวได้ไปค้ำประกันใครเขา  เพราะทันทีที่ไปเซ็นค้ำประกันใครเข้า แม้คนที่เขามาให้เซ็นจะเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย และคุณเองก็เห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยนั้น แท้ที่จริงได้สร้างหนี้ผูกพันให้ยิ่งกว่าตัวคนที่เขาเป็นลูกหนี้เองเสียอีก  เมื่อเขาไม่ชำระจึงเป็นหน้าที่ของคุณที่จะต้องชำระตามภาระที่คุณไปผูกพันไว้
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    5 พฤศจิกายน 2551