ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    026904 ภรรยา ไปค้ำประกัยพี่ชายอาปรีส7 มีนาคม 2551

    คำถาม
    ภรรยา ไปค้ำประกัยพี่ชาย

    เรียนอาจารย์ ที่นับถือ

    ผมขอรบกวนให้ท่านอาจารย์ตอบครับ เป็นปัญหาทุกข์ใจมาก

    ขอเริ่มเรื่องเลยนะครับ...กลางปีที่แล้วผมได้ซื้อบ้านเพื่อต้องการสภาพแวดล้อมที่ดีสำหรับลูกน้อยที่เกิดขึ้น โดยแต่เดิมอยู่บ้านเช่า ในสภาพแวดล้อมที่ค่อนข้างไม่ดีและอันตราย เมื่อทำการกู้ ได้เกิดไม่ผ่าน อันเนื่องมาจากผมได้ไปเซนต์ค้ำประกันให้เพื่อนที่ซื้อรถ แล้วเขาไม่ส่งค่างวด แถมยังเอารถไปขายที่ชายแดน แล้วก็หายไปในหลับเฆม..โดยที่เราไม่ทราบเรื่องมากอนเลย ศาลจึงฟ้อง โดยผมเป็นผู้อาสา ชำระเงินที่ ไฟแนนช์ฟ้อง เป็นเงิน 100,000 บาท เพราะต้องการให้ตัวพ้นเคดิตบรูโร และจะได้ทำเรื่องกู้เงินซื้อบ้าน ปัจจุบันผมได้ผ่านวิกฤตนั้นมาแล้ว และได้เข้ามาอยู่บ้านนี้แล้ว โดยผ่อนมาได้ 10 เดือนแล้ว

    ต้องขอโทษที่เกริ่นมาเยอะ เรื่องของเรื่อง คือ ไม่ 2 วันก่อนภรรยาได้รับจดหมายจากสำนักทนายความ(ในนามธนาคาร) ว่าให้ติดต่อธนาคาร ช้ำหนี้ที่ไปค้ำประกันคอนโด ที่พี่ชายซื้อ เป็นเงิน 1,900,000 บาท ในจดหมายบอกว่า ธนาคารได้ยึดทรัพย์และขายทอดตลาดแล้ว แต่ไม่พอชำระหนี้ โดยให้ติดต่อธนาคารภายใน30 วัน จะรบกวนถามอาจารย์ ดังนี้ครับ

    ก. พี่ชาย(ต่างพ่อ) ได้ยื่มเงินภรรยา 200,000 บาท และให้ภรรยาเซนต์ค้ำประกัน ซื้อคอนโด โดยคอนโด ราคา 1,7000,000 บาท ดาวน์ 400,000 บาท และกู้ธนาคาร 1,400,000 บาท เขาทำการผ่อน 2 ปีแรกเดือนละ 17,000 บาท และพักหนี้ปีที่ 3 และปีที่ 4 ผ่อนอีก 1 ปี หลังจากนั้นก็ทิ้งเลย ทั้งนี้ภรรยาผมได้ท่วงถาม เขาก้บอก เคลียเรียบร้อยแล้ว

    ข.ซื้อปี 2540 ผ่อน 2540 ,2541 พักหนี้ 2542 ผ่อนต่อ 2543 พอ 2544  ทิ้งเลย

    1.เราพ้นวิกฤตต่อนซื้อบ้าน และกำลังจะเจอวิกฤตครั้งใหญ่ ภรรยาและผมทุกข์ใจมาก จนผมเป็นความดันสูง ไม่รู้จะทำอย่างไร

    คำถาม

    1. ทำไมเมื่อธนาคารขายทอดตลาดแล้ว และบอกยังขาด แล้วแจ้งเราให้ ติดต่อธนาคาร เพื่อชำระ เป็นเงินตั้ง 1,900,000 บาท ทั้งที่ กู้แค่ 1,400,000 บาท แล้วผ่อนอีก 3 ปี

    2 ภรรยาผมต้อง จดทะเบียนอย่าหรือไม่ และต้องย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านปัจจุบันหรือไม่ เพราะบ้านใหม่ กำลังผ่อนอยู่

    3.ทรัพยสินที่เป็นชื่อภรรยา ต้องขายหรือโอนเป็นชื่อคนอื่น(ญาติ , แม่) ได้หรือไม่

    4.ธุรกรรมทางการเงิน เช่น บัญชีเงินฝาก

    5.ถ้าทุกอย่างภรรยายทำตามขั้นต้นหมดแล้ว สามารถพักอยูบ้านนี้กับผมได้หรือไม่ (เรามีลูกน้อย อายุ 1 ขวบ)

    6. ถ้าเราไม่ติดต่อธนาคารเลยจะมีผลอย่างไร

    7.คดีความจะหมดอายุเมื่อไร และจดทะเบียนใหม่พร้อมย้ายชื่อภรรยาเข้ามาใรบ้านนี้ได้หรือไม่

           ท้ายนี้ กระผมขอขอบพระคุณท่านอาจารย์อย่างสูง คอนโดห้องดังกล่าว ภรรยาไม่เคยรับรู้ความเคลื่อนไหว และได้ประโยชน์เลย

          

    คำตอบ

    เรียน คุณอาบรีส

    1. ในเวลาที่กู้เงินจากธนาคารนั้น เงินที่ผ่อนส่งงวดต้น ๆ มักจะเป็นดอกเบี้ยเสียเป็นส่วนใหญ่ เหลือส่งใช้เงินต้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ถ้าเมื่อไรผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามปกติ ดอกเบี้ยก็จะกลายเป็นอัตราผิดนัด ซึ่งค่อนข้างสูงมาก บางทีถึงร้อยละ ๒๐ ก็มี ดังนั้นถ้าขาดส่ง ๑ ปี ดอกก็จะทบเข้า  เมื่อเขานำทรัพย์สินไปขาย เงินที่ได้มาเขาก็จะใช้ดอกเบี้ยก่อน ถ้ามีเหลือเขาจึงจะใช้เงินต้น ดังนั้น เงินต้นก็จะยุบไปเพียงไม่มากนัก แล้วก็จะผลิตดอกเบี้ยในอัตราสูงต่อไป ชั่วเวลาไม่นานก็อาจท่วมต้นได้  คนไทยส่วนใหญ่ซึ่งมักจะไม่ค่อยรู้กฎหมายและธรรมเนียมปฏิบัติของธนาคาร มักจะคิดเอาเองว่า ถ้าไม่ชำระเขาก็มายึดทรัพย์ไปขายทอดตลาดแล้วก็แล้วกันไป  ซึ่งไม่จริง ดังที่คุณเองกำลังประสบอยู่

    2. ถึงหย่าตอนนี้ก็ไม่มีผลอะไร เพราะเขาก็ตามมายึดทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสได้อยู่ดี

    3. ระวังก็แล้วกัน จากคดีแพ่งจะกลายเป็นคดีอาญาฐานฉ้อโกงเจ้าหนี้ ซึ่งมีโทษจำคุก   วิธีคิดอย่างที่คุณคิดก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ความไม่รู้กฎหมายแต่มักจะเล่นเอาเถิดกับกฎหมาย  บางทีก็เลยยิ่งนำผลร้ายมาให้

    4. ไม่รู้จะถามอะไร

    5. การที่ลูกหนี้จะพักอาศัยอยู่กับใครไม่เป็นปัญหา แต่ปัญหาอยู่ตรงที่ว่าถ้าทำอย่างที่คุณว่ามา ถึงเวลาเขาอาจไม่ได้มาพักอาศัยกับคุณ แต่ต้องไปอาศัยอยู่ในเรือนจำก็ได้

    6. เขาก็ใช้เวลาตามหาตัวจนกว่าเจอ ในระหว่างนั้นดอกเบี้ยก็จะวิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ ในอัตราสูงสุด

    7. การที่ออกเงินให้คนไปซื้อคอนโดแล้วยังแถมค้ำประกันให้เขาโดยไม่รู้ถึงหนักเบาแห่งความรับผิดชอบ ก็แย่อยู่แล้ว สิ่งที่กำลังจะทำอาจจะยิ่งแย่ยิ่งขึ้น ทางที่ดีถ้าคิดอ่านจะหาทางออกก็ควรปรึกษากับทนายความดูเผื่อเขาจะมีทางออกแนะนำให้ได้บ้าง

    2.


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    7 มีนาคม 2551