ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    022546 เกือบ10ปีที่ไม่รู้ว่าภรรยาเก่าไม่ผ่อนบ้านที่กู้ร่วม โดนด้วยซิผม กรรมprapan chankaew11 กรกฎาคม 2550

    คำถาม
    เกือบ10ปีที่ไม่รู้ว่าภรรยาเก่าไม่ผ่อนบ้านที่กู้ร่วม โดนด้วยซิผม กรรม

    เรียนอาจารย์มีชัยที่เคารพอย่างสูง

    อันนี้เรื่องยาวหน่อยนะครับ เพราะเรื่องมันเริ่มเมื่อ12ปีมาแล้ว

    หลังจากที่ช่วยผ่อนเงินดาวน์ให้แฟนผมจนครบแล้ว  ผมก็ได้ลงชื่อเป็นผู้กู้ร่วมกับภรรยาในใบขอกู้เพื่อซื้ออาคารพาณิชย์ในขณะที่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน

    แล้วเราก็ได้จดทะเบียนสมรสในเดือนมิถุนาปี 2539แล้ว  เธอได้ดำเนินการในเรื่องการโอนทรัพย์สินจากผู้ขาย จดจำนอง และเข้าครอบครองสิทธิ์ในทรัพย์สินแต่เพียงผู้เดียวและย้ายเข้าเป็นเจ้าบ้านในทะเบียนบ้านโดยผมมิได้มีส่วนร่วม นอกจากการเซ็นใบมอบอำนาจให้เธอ

     
    จากนั้นเราได้จดทะเบียนหย่ากันในเดือนมิถุนายน 2542โดยมีการเขียนแจ้งในเอกสารแนบทะเบียนหย่าว่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นของเธอแต่เพียงผู้เดียว
    จากนั้นมาผมไม่เคยรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างกับทรัพย์สินนั้นเพราะถือว่าเป็นทรัพย์สินของภรรยาเก่าไปแล้ว


    จนกระทั่งเมื่อวานนี้(มิ.ย.10) ผมได้รับใบแจ้งจาก บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย แจ้งให้ทำการชำระหนี้ซึ่งมีดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นมาอีกถึงกว่า 2ล้านบาทจากราคาหลักทรัพย์เดิม และมีชื่อผมเป็นอันดับแรกของลูกหนี้
    ในหนังสือแจ้งมิให้ดำเนินการดัดแปลงหรือโยกย้ายทรัพย์จากอาคารพาณิชย์ดังกล่าว และแจ้งที่จะขายทรัพย์สินนั้นทอดตลาดหากไม่มีการไถ่ถอนชำระหนี้ภายในเวลาหนึ่งเดือน และแจ้งว่าผมยังคงมีภาระรับผิดชอบในหนี้ส่วนเกินที่ยังจะเกิดขึ้นหากการขายทอดตลาดไม่สามารถชำระหนี้ที่เกิดขึ้นทั้งหมดได้
    ในใบแจ้งจากบ.ส.ท.นั้นยังมิได้ระบุว่าผมตกเป็นผู้ถูกฟ้องในคดีใดๆที่เกิดขึ้น 

    ขอเรียนถามเป็นข้อๆนะครับ

    1.  การที่ธนาคารดำเนินการต่างๆกับอดิตภรรยาผมโดยที่ผมไม่ทราบเรื่องถึงเกือบ10ปี เริ่มจากการประนอมหนี้ในขั้นต้น ไปจนถึงการโอนหนี้เสียนั้นไปที่บ.ส.ท โดยมิได้พยายามติดต่อให้ผมทราบเรื่องนั้นจะมีผลต่อรูปคดีหรือไม่  *** ผมย้ายที่อยู่2ครั้งแต่ไม่เคยย้ายที่ทำงาน ทางธนาคารมีบันทึกอยู่ตลอดเวลาว่าผมทำงานที่ไหน***    นี่เป็นครั้งแรกที่ผมได้ทราบมีปัญหา หลังจาก10ปีซึ่งทำให้ปัญหาใหญ่ขึ้นจนเกินความสามารถของผมโดยสิ้นเชิง  ดอกเบี้ยได้ไต่ตัวขึ้นไปเกือบเท่ากับราคาทรัพย์สิน (ต้น 2.5ล.+ ด/บ 2.2ล.)

    2. ในหนี้สินที่เกิดจากการซื้อทรัพย์สินที่ผมไม่ได้เข้าไปมีผลประโยชน์หรือถือครองใดๆนั้น จะมีผลต่อรูปคดีอย่างไร

    3. ทำไมจึงไม่มีผู้ที่รู้กฏหมายในเรื่องนิติกรรมต่างๆโดยเฉพาะ ทางทรัพย์สินและหนี้สินของคู่สมรสไว้ในที่ทำการเขตเพื่อให้คำปรึกษาแก่คู่สมรสและผู้ที่ต้องการหย่า เพราะในวันที่ผมไปจดทะเบียนหย่า ผมไม่เคยทราบเรื่องของการขอถอนชื่อผู้กู้ร่วมในกรณีหย่าร้างว่าสามารถทำได้ และไม่มีใครแนะนำในเรื่องความเป็นไปได้ของปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้นตามมาหลังจากการหย่า
    ผมเสียภาษีปีละเป็นเงินที่มากสำหรับหลายคน และไม่เคยได้ใช้ประโยชน์อะไรจากสาธารณะประโยชน์ที่จัดให้โดยรัฐฯ นอกจากถนนสาธารณะและไฟทาง
    และนี่หรือคือสิ่งที่ผู้เสียภาษีอย่างผมจะได้รับจากการที่มัวแต่ทำงานเพื่อมีรายได้เสียภาษีให้บ้านเมืองจนไม่มีเวลาจะรับรู้กฏหมายที่ซับซ้อน

    ผมหวังว่าอาจารย์มีชัยจะช่วยกรุณาคนซื่อๆที่ด้อยการศึกษา และมองโลกในแง่ดี(เกินไป)ด้วยครับ

    Prapan Chankaew

    คำตอบ

    1. อาจสืบเนื่องจากการที่คนมอบอำนาจให้เธอทำแทน และเธอก็ทำแทนเรื่อยมาก็เป็นได้

    2. ถ้าในชั้นจำนองนั้นคุณได้มอบอำนาจให้เธอแทนแทนในการจำนองแทนคุณด้วย คุณก็เป็นลูกหนี้ชั้นต้น และคงหลีกเลี่ยงการรับผิดชอบไม่ได้

    3. กฎหมายนั้นก็เป็นสาขาวิชาหนึ่งเหมือนกับสถาปนิกหรือวิศวกร หรือแพทย์ จึงล้วนแต่ต้องอาศัยผู้มีความรู้เป็นการเฉพาะ แต่คนไทยเราทั่วไปมักจะนึกว่าความรู้ในเรื่องกฎหมายนั้นไม่ต้องปรึกษาก็ได้ เวลาเกิดเรื่องจึงมักจะแก้ไขลำบาก  จู่ ๆ จะให้ทางราชการมาแนะนำ ก็คงยาก เพราะทางราชการก็ไม่รู้ตื้นลึกหนาบางของคู่กรณีว่าตกลงกันอย่างไร


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    11 กรกฎาคม 2550