ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    020790 ค้ำประกันกับการฟ้องล้มละลายผู้เดือดร้อน27 กุมภาพันธ์ 2550

    คำถาม
    ค้ำประกันกับการฟ้องล้มละลาย

    เรียน คุณมีชัย

    เนื่องจากคุณแม่ได้ถูกฟ้องล้มละลายเป็นจำเลยที่ 2 เนื่องจากได้ไปเซ็นต์ค้ำประกันเช็คซึ่งมีมูลค่า 500,000 บาท  ซึ่งจำเลยที่1 เป็นเพื่อนบ้านเมื่อเกือบ 10 ปี มาแล้ว ซึ่งขณะนี้หนี้ทั้งหมดของจำเลยที่ 1 ประมาณ 8 ล้านกว่าบาทค่ะ ซึ่งทางเจ้าหนี้ได้ยึดทรัพย์ของจำเลยที่1และขายทอดตลาดก็ยังไม่สามารถชำระหนี้ได้ และขณะนี้จำเลยที่ 1 ได้หนีไปแล้ว ซึ่งทั้งหมดเป็นหนี้ที่ทางคุณแม่ไม่มีส่วนรู้เห็นด้วย ซึ่งทางบ้านเราเดือนร้อนมากค่ะ

    1.มีทางที่ให้คุณแม่พ้นผิดไม่เป็นบุคคลล้มละลายไหมค่ะ

    2.หากทางคุณแม่ยินยอมชำระหนี้เท่าที่เซ็นต์ค้ำประกัน 500000 บาท จะได้หรือไม่ และหนี้ที่เกินมาต้องชำระให้จำเลยที่1 หรือไม่

    3.หากคุณแม่จะโอนบ้านและที่ดิน ให้กับลูกๆ ในระหว่างที่คดีไม่ถึงที่สุด จะทำได้ไหมค่ะ และทางเจ้าหนี้มีสิทธิ์ยึดทรัพย์เหล่านี้หรือเปล่า

    ขอแสดงความนับถือค่ะ

    คำตอบ

    เรียน ผู้เดือดร้อน

        1. ทางที่จะไม่ต้องล้มละลายก็คือยอมชำระหนี้ตามที่จะตกลงกันได้

        2. ลองไปอ่านสัญญาค้ำประกันให้ดีว่าได้ค้ำประกันอะไรเขาไว้บ้าง  ส่วนใหญ่เขาจะกำหนดว่านอกจากเงินต้นแล้วยังต้องรับผิดในดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นด้วย

       3. ถึงโอนไปแล้ว เจ้าหนี้เขาก็ตามมายึดได้ พอดีพอร้ายอาจกลายเป็นความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ได้

       ว่าง ๆ ก็ลองเข้าไปอ่านในคำถามคำตอบในหัวข้อ ค้ำประกันดูบ้าง จะได้รู้ว่าคนค้ำประกันนั้นต้องทุกข์หนักอย่างไร อย่างน้อยก็จะได้เก็บไว้เตือนสติตัวเองในวันข้างหน้าเวลาใครเขามาออดอ้อนให้ค้ำประกันจะได้หลบหลีกได้

     


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    27 กุมภาพันธ์ 2550