ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    017256 ค้ำประกันให้น้องดร. สุชาติ23 มิถุนายน 2549

    คำถาม
    ค้ำประกันให้น้อง

    กราบเรียนท่านอาจารย์ที่นับถือ

     

    พี่น้อง 4 คนมีชื่ออยู่ในโฉนดร่วมกัน เมื่อปี 2532 น้องคนหนึ่งต้องการทุนมาใช้ในธุรกิจที่น้องทำอยู่ จึงได้นำโฉนดเข้าจดจำนองเพื่อขอกู้เงินกับธนาคารเป็นจำนวน 5 ล้านบาท โดยมี พี่น้องทั้ง 4 คน แต่ละคนได้ทำหนังสือค้ำประกันให้ไว้กับธนาคาร ซึ่งเป็นแบบฟอร์มที่ไม่ได้ระบุวันที่  มีการระบุ ชื่อ ที่อยู่ และ อายุของผู้ค้ำประกัน และ เงื่อนไขต่างๆ รวมทั้งระบุไว้ว่า

    “ผู้ค้ำประกันตกลงยอมรับผิดเป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้ และจะชำระหนี้เงินต้นเป็นจำนวน -5,000,000.- บาท  รวมทั้งดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทนซึ่งลูกหนี้ค้างชำระ รวมตลอดทั้งค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ที่เกี่ยวกับสินเชื่อดังกล่าวให้แก่ธนาคารในทันทีที่ได้รับแจ้งจากธนาคาร”

    ต่อมาปลายปี 2536 น้องที่ทำธุระกิจได้ทำเรื่องขึ้นเงินจำนองจาก  5  ล้าน เพิ่มอีก   7  ล้าน  รวมเป็น  12 ล้าน   ต่อมาจากเหตุทางธุระกิจทำให้บริษัทประสพปัญหาทางการเงิน มีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น  เมื่อกลางปี 2542  น้องชายได้นำ  “สัญญารับสภาพหนี้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้”

    จำนวน 2  ฉบับ ฉบับหนึ่งเป็น    “สัญญารับสภาพหนี้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ”  สำหรับเบิกเงินเกินบัญชี อีกฉบับหนึ่งสำหรับขายลดตั๋วเงิน ซึ่งทั้ง 2 ฉบับมีมูลหนี้เงินต้นที่สูงมาก และมีดอกเบี้ยค้างชำระเป็นจำนวนมากเช่นกัน   และมีข้อความระบุว่า

    “ผู้ค้ำประกันตกลงเข้าค้ำประกันการชำระหนี้ตามหนังสือนี้ต่อไป จนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้โดยสิ้นเชิง โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้   และให้หนังสือค้ำประกันที่ผู้ค้ำประกันได้ทำให้ไว้กับธนาคารตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน คงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน”

     พี่ชายคนหนึ่งซึ่งมิได้รู้เห็นกับการดำเนินการของธุระกิจนอกจากการเซ็นต์หนังสือค้ำประกันให้ไว้ตอนทำจำนองครั้งแรก จึงไม่ยอมเซ็นต์หนังสือ    “สัญญารับสภาพหนี้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ”  ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว     สัญญาทั้ง 2 ฉบับจึงมีลายเซ็นต์ของลูกหนี้ (บริษัท) และผู้ค้ำประกันเพียง 3 คน  (มีคนหนึ่งไม่เซ็นต์)    แต่ธนาคารก็มิได้ฟ้องร้อนหรือบังคับจำนองเพื่อให้ใช้หนี้ และก็มิได้ติดต่อพี่คนที่ไม่ได้ลงลายเซ็นต์ในช่อง ผู้ค้ำประกัน  เวลาผ่านไปอีกประมาณ 2 ปีครึ่งคือเมื่อต้นปี 2545  ธนาคารก็มีหนังสือส่งมาให้ลูกหนี้ (บริษัท)“ขอให้ชำระหนี้ และลดส่วนเกินวงเงินเบิกเกินบัญชี “  ซึ่งจดหมายดังกล่าวส่งสำเนามาให้ผู้ค้ำประกันทั้ง 4 คน  และจากนั้นก็ยังไม่มีอะไรอีกมาจนถึงปัจจุบันครับ

     

    คำถามที่จะขอความอนุเคราะห์จากท่านอาจารย์มีดังนี้ครับ

    1.  พี่คนที่ไม่ลงลายเซ็นต์เป็นผู้ค้ำประกันในหนังสือ   “สัญญารับสภาพหนี้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ”  ทั้ง 2 ฉบับ จะต้องร่วมรับผิดชอบหนี้ที่เกิดขึ้น รวมทั้งสัญญาและเงื่อนไขในการผ่อนชำระหนี้ตามที่ได้ระบุไว้ใน  “สัญญารับสภาพหนี้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ”  หรือไม่หากลูกหนี้ไม่สามารถชำระได้ และการบังคับจำนองเพื่อขายที่แล้วยังไม่พอที่จะใช้หนี้  

     

    2. การที่ไม่ได้เซ็นต์หนังสือ “สัญญารับสภาพหนี้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ”  ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว  “และให้หนังสือค้ำประกันที่ผู้ค้ำประกันได้ทำให้ไว้กับธนาคารตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน คงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน” สามารถถือว่าไม่ต่อสัญญาค้ำประกันที่ให้ไว้ในครั้งแรกหรือไม่ครับ  

     

    3.  หนังสือ   “สัญญารับสภาพหนี้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ”  ทั้ง 2 ฉบับ ถือเป็นการ “แปลงหนี้ใหม่”  หรือไม่ครับ 

     และถ้าใช่   สัญญาค้ำประกันที่เซ็นต์ไว้ในครั้งแรก (เมื่อนำที่ดินไปจำนองเมื่อปี 2532 ในวงเงิน 5 ล้านบาท)  ธนาคารจะสามารถนำมาบังคับใช้ได้หรือไม่ครับ   หรือถือเป็นการระงับของสัญญาค้ำประกัน

    ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูงครับ

    คำตอบ

    เรียน ดร.สุชาติ

       1. สัญญารับสภาพหนี้ใหม่ย่อมไม่ผูกพันคนที่ไม่ได้ลงชื่อ ๆ คงผูกพันตามสัญญาค้ำประกันที่มีอยู่เดิม

       2. ไม่ใช่ เพราะข้อ 2 ก็ยังระบุให้สัญญาค้ำประกันเดิมยังคงใช้ต่อไป

        3. กรณีไม่ได้เป็นการแปลงหนี้ หากแต่เป็นการรับสภาพหนี้


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    23 มิถุนายน 2549