ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    048686 ปิดทางเดิน (ต่อ)ป้าแก่30 มกราคม 2556

    คำถาม
    ปิดทางเดิน (ต่อ)

    อาจารย์ค่ะ  ดิฉันคือผู้ที่ถามอาจารย์เรื่องปิดทางเดิน  ดิฉันเปิดเมล์ของดิฉันทุกวันรอคำตอบจากอาจารย์ค่ะ  วันนี้เอ๊ะใจเปิดเว็บของอาจารย์เห็นคำตอบของอาจารย์ ดีใจมาก ดีใจที่สุด  ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง  จึงอยากหารือาจารย์เพิ่มเติมค่ะ  ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยชี้แนะข้อกฎหมาย และแนวทางการต่อสู้คดี  เพราะดิฉันไม่มีความรู้ทางกฏหมาย  เพราะตอนนี้กำลังทำคำฟ้องศาลปกครองอยู่  คือ  ดิฉันพบว่า จนท.ธนารักษ์แต่คนก็พูดไปคนละทางกัน  บางคนดิฉันว่าเขาพูดไม่ถูกต้อง  ดิฉันอยากทราบว่าความคิดเห็นของดิฉันถูกหรือผิดอย่างไร  อาจารย์กรุณาช่วยดิฉันด้วยนะ 1. มีจนท.ธนารักษ์มาตามที่ดิฉันร้องเรียน บอกดิฉันว่า  ทางเดินที่ดิฉันอ้างว่าเดินมา 16 ปี  ไม่ใช่ทางสาธารณะ เป็นเพียงทางเดินของดิฉันเอง  ไม่มีหลักฐานปรากฎอยู่ในโฉนด ดังนั้น ผู้เช่าจึงมีสิทธิ์เต็มที่จะทำอย่างไรก็ได้ จะปิดไม่ให้เดินผ่าน  ดิฉันแย้งว่า  เป็นทางสาธารณะเพราะประชาชนใช้ร่วมกันอย่างเปิดเผย และไม่ต้องขึ้นทะเบียนก็ได้ กฎหมายไม่ได้บังคับไว้  2. ขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า  เมื่อผู้เช้าที่จากราชพัสดุได้สร้างอาคาร 2 หลัง ๆ แรกเป็นบ้านคล่อมทางเดินทั้งหมด ห่างออกไป 5 เมตรสร้างอาคารหลังที่สอง ให้ผ่านได้ตรงกลาง ตรงนี้จึงเป็นทางเดินใหม่ที่ผู้เช่ากำหนดมาเพียง 4 ปี ที่เขาปิดก็คือทางเดินใหม่นี่เอง แต่จากการคุยกับช่างโยธาของ อบต.ที่อนุญาติให้สร้างอาคารบอกว่า  ไม่ใช่เป็นการย้ายทางเดินของดิฉันเท่านั้น แต่อาคารหลังแรกสร้างคล่อมทางสาธารณะ  ดังนั้น อยากทราบว่า  ในการขอทวงทางเดินคืนนี้  เราต้องขอทางเดิมที่เขาสร้างอาคารคล่อมลงไปแล้ว หรือที่ใหม่ที่เพิ่งจะเดินกันมา 4 ปีนี่เอง  คิฉันคิดว่าทางใหม่ก็ไม่ถึง 10 ปีนี่ค่ะ ส่วนทางเก่าเขาก็สร้างอาคารคล่อมลงไปแล้ว  3.  จนท.บอกว่า ไม่สามารถนำที่ราชพัสดุมาเป็นทางเดิน หรือทางธารณะได้  ดิฉันว่าเขาพูดผิดใช่ไหมคะ 4. ทางเดินกับทางสาธารณะต่างกันอย่างไร   แต่ถ้าไม่เหมือนกัน  กรณีของดิฉันเป็นทางเดินหรือทางสาธารณะ  5. เมื่อเป้าหมายก็คือขอทางเดินคืน ดังนั้นในคำฟ้องเราต้องขอให้ยกเลิกการเช่าส่วนที่เป็นทางเดิน หรือ ให้แก้ไขโฉนดให้ถูกต้องอย่างไร  ดิฉันก็งง ๆ อยู่ค่ะ  6. กรณีนี้มี อบต.เข้ามาเกียวข้องที่อนุญาตให้สร้างอาคารคล่อมทางเดิน  คำขอจะต้องบอกให้รื้ออาคารใช่หรือไม่ (กรณีขอทวงคืนที่เดิม) 7.  อาจารย์ค่ะ   ขอความกรุณาชี้แนะแนวทางในการต่อสู้คดี  โดยชี้ประเด็นการต่อสู้ค่ะ จะรอคำตอบทุกวันค่ะ                          

     

    คำตอบ

    ๑. ถ้าที่ดินนั้นเป็นของกรมธนารักษ์ การที่อนุญาตให้ประชาชนเดินมาเป็น ๑๐ ปี ก็ไม่กลายเป็นทางสาธารณะ เพราะที่ราชพัสดุนั้นใครจะยกอายุความขึ้นต่อสู้ไม่ได้  แต่ถ้าไม่ปรากฏว่าที่ดินนั้นอยู่ในโฉนดของกรมธนารักษ์ ก็อาจเป็นที่ดินที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน คือเป็นทางสาธารณะได้ ข้อเท็จจริงนี้จึงต้องตรวจสอบให้ดี  อย่างไรก็ตามแม้จะเป็นที่ราชพัสดุ หากประชาชนได้อาศัยใช้เดินกันมาเป็นเวลานานแล้ว การที่กรมธนารักษ์จะให้ใครเช่าที่ตรงนั้นไปก็ต้องคำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชน เพราะกรมธนารักษ์เป็นหน่วยราชการ ที่มิได้มีวัตถุประสงค์ในการค้ากำไร การหาประโยชน์จะต้องคำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชนด้วย

    ๒. ก็ต้องทวงคืนทั้งสองทาง แต่หลักสำคัญก็คือต้องดูว่าเป็นที่ดินอะไร

    ๓. ได้ ถ้ากรมธนารักษ์ยอมให้ประชาชนใช้

    ๔. ทางสาธารณะ คือ ทางที่ประชาชนทั่วไปมีสิทธิใช้ได้ ส่วนทางเดิน อาจเป็นทางสาธารณะ หรือทางส่วนบุคคล หรือทางที่เจ้าของที่ดินยินยอมให้เดินเป็นการชั่วคราว ก็ได้

    ๕. ก็ขึ้นอยู่กับว่าหลักฐานที่เรามีอยู่บ่งชี้ไปในทางใด  ถ้าชี้ว่าที่ดินนั้นเป็นทางสาธารณะ ไม่ใช่ที่ดินของกรมธนารักษ์ ก็ต้องฟ้องให้เพิกถอนโฉนด (แก้ไขให้ถูกต้อง) แต่ถ้าเป็นที่ดินของกรมธนารักษ์แต่ได้ให้ประชาชนใช้เดิน มาเป็นเวลานาน  การปิดทางนั้นทำให้ประชาชนเดือดร้อน ก็อาจต้องขอให้ยกเลิกการเช่าส่วนที่เคยเป็นทางเดิน

    ๖. ก็ต้องขอไปเสียในคราวเดียวกัน คือขอให้ศาลสั่งเพิกถอนใบอนุญาตที่ให้ปลูกสร้างอาคาร

        คำแนะนำข้างต้นอยู่บนพื้นฐานที่แนะนำตามข้อเท็จจริงเท่าที่ได้จากการบอกเล่า ถ้าข้อเท็จจริงผิดไปคำแนะนำนั้นอาจใช้ไม่ได้


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    30 มกราคม 2556