ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    045114 ถามแทนพ่อเรื่องสปกเด็กสุราษฎร์ฯ26 มิถุนายน 2554

    คำถาม
    ถามแทนพ่อเรื่องสปก

    เรียน อาจารย์

       

    เมื่อปี 2525 พ่อแม่ดิฉันได้ร่วมกันซื้อที่ดิน ภบท.๕ และได้ปลูกสวนปาล์มเต็มเนื้อที่ทั้ง ๒๐ ไร่(โดยประมาณ) จนถึงปัจจุบันสวนปาล์มอายุประมาณ ๒๙ ปี    ต่อมา ปี ๒๕๔๘ ทางราชการได้ประกาศให้ที่ดินดังกล่าวเป็นที่ดิน ส.ป.ก.๔-๐๑ และถามความประสงค์พ่อกับแม่ว่าจะใส่ชื่อบุคคลใดเป็นผู้ถือสิทธิในที่ดินแปลงนี้ โดยขณะนั้นนายก (พี่ชายคนโต ในจำนวนบุตรจำนวน ๖ คน ) ซึ่งมีความจำเป็นจะซื้อที่ดินเพื่อปลูกบ้าน ต้องกู้เงินจากธนาคารฯและต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน พ่อแม่จึงเห็นพ้องกันว่าให้ใส่ชื่อนาย ก ในที่ดิน ส.ป.ก.๔-๐๑ แปลงดังกล่าว เพื่อไว้สำหรับค้ำประกันนเงินกู้ในอนาคต แต่จริงๆแล้วมิได้มีเจตนายกที่ดิน แปลงนี้ ให้แก่นายก แต่อย่างใด เป็นเพียงใส่ชื่อแทนพ่อแม่เท่านั้น โดยความจริงดังกล่าวนาย ก และบุตรทุกคนรวมถึงบุตรเขยและบุตรสะใภ้ต่างทราบดี ต่อมา แม่ดิฉันได้เสียชีวิตมาเมื่อปี 52 และนายก เสียชีวิตในเวลาใกล้เคียงกัน(ต้นปี53) ดังเห็นได้จากเมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๕๓ นางข ภรรยานาย ก ได้ทำหนังสือในแบบคำขอรับมรดกสิทธิที่ดินแปลงดังกล่าวยกให้แก่นางสาว ค บุตรคนที่ห้าของพ่อแม่ ซึ่งตรงกับเจตนาเดิมของพ่อแม่ ทุกประการ แต่ต่อมานาง ข มาทำการคัดค้านการสละสิทธิใหม่อีกเมื่อต้นปี 54 อ้างความเป็นผู้จัดการมรดก หลังจากที่พ่อยินยอมให้เธอเป็นผู้จัดการมรดกของนายก ไปแล้ว ตอนนี้พ่อเครียดมาก ดิฉัน(บุตรคนที่ 2)และน้องๆไม่รู้จะจัดการอย่างไรดี ต้องการถามอาจารย์..

      

      1. จะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้พ่อได้ทำตามเจตนาเดิม คือเอาที่สปก แปลงนี้ให้น้องสาวได้

       2.  ต้องดำเนินการที่ สปก.มีขั้นตอนอย่างไรได้บ้าง เพื่อที่แปลงดังกล่าวไม่ติดชื่อของพี่สะใภ้

      3. กรณีที่แปลงดังกล่าวใช้ชื่อพี่ชาย แต่สิทธิและการได้ประโยชน์ทุกอย่างตั้งแต่ต้น พ่อแม่ได้รับมาตลอด กรณีนี้พี่สะใภ้และลูกๆจะได้เป็นทายาทหรือไม่       

         4. ถ้าดำเนินการในขั้นของสปก.ไม่ผ่าน ต้องดำเนินคดี ใครควรเป็นโจทก์ พ่อหรือน้องสาวคะ

                                                          ขอบคุณคะ

                                                          เด้กสุราษฎร์

                                                                                        

    คำตอบ
    ที่ดินที่พ่อกับแม่คุณซื้อนั้น แสดงว่าเป็นที่ดินของหลวงซึ่งอาจเป็นป่าสงวนก็ได้ ดังนั้นเมื่อมีโครงการ สปก.เกิดขึ้น เขาจึงเอาที่ดินนั้นคืนไป และเมื่อมีการจัดสรรที่ดินให้ พ่อของคุณกลับให้ลูกชายเป็นผู้รับการจัดสรร ที่ดินนั้นจึงกลายเป็นที่ดินที่ลูกชายเป็นผู้ได้รับการจัดสรร ไม่ใช่ของพ่อกับแม่อีกต่อไป  เมื่อลูกชายตาย ทายาทของลูกชายหรือคู่สมรสของลูกชายจึงมีสิทธิเข้ารับช่วงที่ดินนั้นต่อ การจะนำที่ดินนั้นกลับคืนมาให้น้องสาว จึงเป็นเรื่องที่จะตกลงกับทายาทของลูกชาย ถ้าเขาไม่ยอมก็คงยาก
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    26 มิถุนายน 2554