ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    042540 ขายฝากหลุดแล้วควรทำอย่างไรต่อคะธนัญญา5 พฤศจิกายน 2553

    คำถาม
    ขายฝากหลุดแล้วควรทำอย่างไรต่อคะ

    ดิฉันเอาที่ดิน+บ้านไปทำขายฝาก 750000 บาท ทุก 6 เดือนต้องไปต่อสัญญา ส่งดอก 18750 บาทไปได้6 เดือนแรกก็หมดเงินคะ 6 เดือนหลังที่ต้องต่อสัญญากันใหม่วันที่ 12 ตุลาคม 2553 นี้มันขาดแล้วคะ นายทุนคิดดอกไปๆมาๆเป็น 1200000 คะ ดิฉันพอจะมีอะไรไปต่อรองได้ไหมคะ และประเด็นที่ว่าดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปีพอจะสู้ได้ไหมคะ รบกวนอาจารย์ด้วยนะคะ ขอบคุณคะ

    คำตอบ
    การขายฝากก็คือ การขายโดยมีเงื่อนไขว่าผู้ขายมีสิทธิซื้อคืนภายในเวลาที่กำหนดในราคาที่กำหนดกันไว้ ซึ่งต้องจดทะเบียน ถ้ามิได้จดทะเบียนการขายฝากนั้นก็ไม่เกิดขึ้น ส่วนการไถ่นั้น อาจตกลงกันให้ไถ่ในราคาที่สูงกว่าตอนขายได้ แต่เมื่อคำนวณแล้วต้องไม่เกินร้อยละ ๑๕ ต่อปี อนึ่ง ระยะเวลาการขายฝากนั้นเป็นข้อสำคัญ เมื่อกำหนดไว้แล้ว พอครบกำหนด ก็ไถ่ไม่ได้ ถ้าจะซื้อคืนก็เป็นการซื้อขายกันตามปกติ ซึ่งเจ้าของใหม่เขาจะขายราคาเท่าไรก็ได้  กรณีของคุณถ้าไม่ได้จดทะเบียนการขายฝาก ก็อาจกลายเป็นการกู้เงินตามปกติโดยเอาโฉนดไปให้เขายึดเป็นประกันก็ได้ ซึ่งกรณีนั้นเขาก็เรียกดอกเบี้ยเกินร้อยละ ๑๕ ต่อปีไม่ได้เช่นกัน  ลองไปปรึกษาทนายความดู บางทีอาจจะมีช่องทางในการเอาคืนก็ได้
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    5 พฤศจิกายน 2553