ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    039478 พ่อใกล้จะล้มละลาย เจ้าหนี้สามารถมายึดบ้านที่เป็นชื่อลูกสาวได้มั๊ยคะมล8 มีนาคม 2553

    คำถาม
    พ่อใกล้จะล้มละลาย เจ้าหนี้สามารถมายึดบ้านที่เป็นชื่อลูกสาวได้มั๊ยคะ

    คือร้านพ่อตอนนี้ขาดทุนหนัก เป็นหนี้ supplier เยอะมาก ดูท่ารอบนี้แล้วลูกๆคงช่วยไม่ไหว

    ที่ร้านจดทะเบียน หจก แปลว่าเค้าสามารถมายึดทรัพย์สินส่วนตัวได้ใช่มั๊ยคะ

    ตอนนี้พ่อไม่มีทรัพย์สินที่เป็นชื่อพ่อเลย ที่ผ่านมาเวลาซื้ออะไรพ่อใช้ชื่อลูกๆอย่างเดียว

    มีแต่บ้านนี่แหละค่ะ แล้วหลายปีก่อนพ่อเอาไปเข้า OD เอาเงินมาหมุน สุดท้ายไม่มีเงินเอาไปโปะ OD ซะที

    จ่ายแต่ดอก เงินต้นไม่ลดมาหลายปี  ลูกสาวเลยติดต่อแบงค์ทำเรื่องเป็นผ่อนบ้านแทน แล้วโอนเป็นชื่อลูกสาวแทน

    ตอนนี้เพิ่งผ่อนมาได้แค่ครึ่งปี ร้านพ่อทำท่าจะไม่รอดแล้วจริงๆ ตอนนี้เลยกังวลว่า แบบนี้เจ้าหนี้มีสิทธิ์ฟ้องยึดบ้านมั๊ยคะ

    คือตอนที่ทำโอน ไม่ได้โอนซื้อขายด้วย เพราะไม่มีเงินจ่ายค่าภาษี เลยทำโอนแบบ ให้ กันธรรมดาค่ะ

    แต่ตอนติดต่อที่แบงค์ จะเป็นซื้อขายกันในราคา 6 ล้าน แต่ผ่อนแค่ 4 ล้าน ค่ะ

    ขอคำแนะนำด้วยนะคะ

    ขอบคุณค่ะ

    คำตอบ
    ถ้าเป็นการยกให้โดยเสน่หา เจ้าหนี้ก็มาบอกเลิกการยกให้และเอาไปขายเพื่อชำระหนี้ได้ แต่ถ้าเป็นการซื้อขายกันโดยสุจริต ก็มาเอาไปไม่ได้ เว้นแต่เป็นการทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    8 มีนาคม 2553