ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    027556 กำลังจะล้มละลาย, เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท มีรายได้เลี้ยงดูบุตรต้องทำอย่างไร?ส.หนี้ร่วม16 เมษายน 2551

    คำถาม
    กำลังจะล้มละลาย, เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท มีรายได้เลี้ยงดูบุตรต้องทำอย่างไร?

    สวัสดีครับ อาจาร์ย

    ผมได้อ่าน คำถาม-คำตอบมาบ้าง 10-20รายในเว็บนี้"ได้ความรู้ตามสมควร" และในที่สุดผมก็ได้รับหมายศาลฟ้องศาลคดีล้มละลาย ในเดือน มิย.นี้ ผมมีประเด็นที่แตกต่างจากที่ผมอ่านมา คำถามคือ

    1) ผมเป็นกรรมการบริษัท ฯ มีรถยนต์หนึ่งคันระหว่างอยู่ผ่อนชำระในนามบริษัท ฯ รถยนต์จะถูกยึดไหมครับ?

    2) รายได้/เงินเดือน ผมที่ต้องส่งเสีย บุตร และบิดา-มารดา, ส่งกรมธรรม์,  ส่งค่างวดรถยนต์ จะต้องแจ้งอย่างไรที่ไม่กระทบกับส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้อยู่ในอุปการะของเรา

    3) ผมควรจะดำรงค์ตำแหน่งกรรมการ หรือควรลาออก (ให้บุตรสาว รับหน้าที่ต่อดีหรือไม่?)

    4) ผมยังต้องส่งกรมธรรม์อุบัติเหตุ และประกันชีวิตอยู่ประมาณ 4-5บริษัท แต่ยังไม่ครบวาระได้เงินปันผล จะนำรายได้ไปส่งต่อได้หรือไม่? อย่างไร?  (ระหว่าง 3ปี หากเกิดอุบัติเหตุ ต้องมีการเคลมประกันอุบัติเหตุ ผมต้องชำระเงินเอง, หรือเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์ จะเป็นตัวกลางครับ?)

    5) ผมจะทำธุรกรรม หรือสั่งจ่ายเช็คในนามบริษัท ฯได้หรือไม่? ถ้าไม่ได้ แนะนำว่าผมควรทำธุรกิจต่ออย่างไร? (บริษัทใหม่ผมมีความมั่นคงพอสมควรที่จะเลี้ยงชีพ แต่ไม่มากพอที่จะชำระหนี้ก้อนใหญ่ที่ธนาคารเรียกมา "ก้อนเดียว" ให้ชำระทั้งหมด)

    6) หลังมีคำสั่งล้มละลายแล้ว ผมรับโอนรถยนต์ ในนามบริษัทได้หรือไม่? อย่างไร?

    7) จากข้อ 6. ผมจะสามารถผ่อนชำระกับ แบงค์ ผ่านศาล ได้หรือไม่? ซึ่งผมพยายามเจรจากับแบงค์ มาตลอด แต่แบงค์ยืนกรานจะเอาเงินก้อนมาตลอด

    8) ผมส่งบัตรเครดิต (อยู่ 1 ใบ/บริษัท) เดือนละ หมืนกว่าบาท(ส่งมาตลอด), เมื่อถูกศาลสั่งล้มละลาย ต้องส่งต่อ หรือต้องระงับ? ถ้าผมต้องการส่งต่อ เจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์ จะยอมหรือไม่? อย่างไร? แล้วผมจะโดนฟ้อง อีกวาระหรือไม่ หากไม่ส่งต่อ?

    9) ผมเป็นผู้กู้ร่วมกับเพื่อน, เมื่อครบวาระ 3ปี ผมจะดำเนินการอย่างไร เฉพาะส่วนที่ผมต้องรับผิด ?

    10) ที่ผมต้องระงับการส่งแบงค์เพราะ บ้านโดนไฟไห้ม, และเข้าสู่ช่วง เศรษฐกิจตกต่ำปี '39-'40 หมดความสามารถที่จะผ่อนชำระ และผมไม่มีเจตนาหลบเลี่ยง จะมีเงื่อนไขอื่นที่ทำให้ผมมีคดี ล้มละลายโดยทุจริตอีกหรือไม่?

    เป็นเหตุสุดวิสัยของผมจริงๆ ที่ต้องเผชิญกับเรื่องนี้ในชีวิต

    ขอขอบพระคุณอาจาร์ยล่วงหน้าครับ

    คำตอบ

    เรียน ส.หนี้ร่วม

    1. ถ้าเป็นรถของบริษัท ก็ไม่เกี่ยวกับคุณ เจ้าหนี้มายึดไม่ได้

    2. ต้องแจ้งตามความเป็นจริง มิฉะนั้นก็จะกลายเป็นผู้ล้มละลายทุจริต อันจะทำให้ระยะเวลาการล้มละลายยาวนานไปไม่มีที่สิ้นสุด แทนที่จะพ้นเมื่อครบ ๓ ปี

    3. เมื่อล้มละลายแล้ว คุณก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะไปทำการแทนบริษัทได้ เพราะจะทำให้บริษัทเสียหาย

    4. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเป็นผู้พิจารณาเองว่าจะควรดำเนินการอย่างไรจึงจะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหนี้ เช่นถ้าส่งเงินต่อไปอีกเพียงไม่นานก็จะได้เงินคืน เขาก็อาจให้คุณส่งต่อ เพื่อว่าเมื่อได้เงินแล้วเขาจะได้นำไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้

    5. ไม่ทราบเหมือนกันว่าจะควรทำธุรกิจอะไร

    6. ถ้าเป็นรถยนต์ของบริษัทก็ทำได้ แต่อาจมีปัญหาเกิดข้อสงสัยแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ว่าเป็นรถของคุณหรือของบริษัท

    7. เมื่อคุณล้มละลายแล้ว ทรัพย์สินทั้งหมดของคุณจะถูกนำมาเฉลี่ยใช้ให้แก่เจ้าหนี้ตามสัดส่วนที่เขาจะพึงได้รับอยู่แล้ว  แต่เมื่อไรถ้าคุณตกลงกับเจ้าหนี้ทุกรายได้ คุณก็อาจพ้นจากการล้มละลายก่อนกำหนด

    8. ในเวลาที่คุณล้มละลายนั้นเจ้าหนี้ทุกรายเขามีหน้าที่ต้องมายื่นคำขอเฉลี่ยทรัพย์อยู่แล้ว  คุณไม่มีสิทธิไปชำระหนี้ให้ใครคนใดคนหนึ่งได้  การล้มละลายก็คือการที่ไม่มีสิทธิจัดการทรัพย์สินโดยตัวเองอีกต่อไป

    9. เมื่อเป็นผู้กู้ร่วม ก็ต้องรับผิดเต็มตามวงเงินที่กู้กันมา ส่วนคุณจะมีสิทธิไปไล่เบี้ยเอาจากใครอย่างไรก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง  จากคำถามของคุณแสดงว่าคุณยังเข้าใจฐานะของการเป็นคนล้มละลายไม่ถูกต้อง ทางที่ดีควรไปพบเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และให้เขาอธิบายให้ฟังว่าคุณจะทำอะไรได้หรือไม่ได้อย่างไรในชีวิตประจำวันที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินและการดำเนินธุรกิจ


    มีชัย ฤชุพันธุ์
    16 เมษายน 2551