ความคิดเสรีของมีชัย
เรียนรู้กฏหมายใกล้ตัว
เรื่องสั้น
จดหมายถึงนาย
 
  • นายช่าง อบต กำหนดให้ใช้วิศวกรระดับเกินกว่าที่สภาวิศวกรกำหนด
  •  
  • การยกเลิกกำนันผู้ใหญ่บ้าน
  •  
  • ค่าส่วนกลาง
  •  
  • ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างเป็นเจ้าของอาคารแต่ผู้เดียวจริงหรือไม่
  •  
  • ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภครับคำขออนุญาตฎีกาอีกครั้งได้หรือไม่
  • อ่านทั้งหมด
    มุมของมีชัย ถาม-ตอบ กับมีชัย
     
         ถาม-ตอบ กับมีชัย จะเป็นกุญแจ ไขข้อข้องใจของทุกๆท่าน ในเรื่องกฎหมายและการเมือง โดยท่านอาจารย์มีชัย ฤชุพันธุ์ จะขจัดความสงสัยที่เกิดขึ้นของคุณให้หมดไป เมื่อคุณส่งคำถามเข้ามาที่นี่ ส่งคำถาม
    คำสำคัญ
    ค้นหาใน
     
    เลือกประเภทคำถาม-ตอบ > การเมือง | กฏหมาย | เศรษฐกิจ | ทั่วไป | มรดก | แรงงาน | ท้องถิ่น | มหาวิทยาลัย | ราชการ | ครอบครัว | ล้มละลาย | ที่ดิน | ค้ำประกัน | 22128 ค้ำ | archanwell.org | ล้างมลทิน | 24687 | hhhhhhhhhhh | คำถามทั้งหมด ... อ่านสักนิดก่อนตั้งคำถาม

    ปิดหน้าต่างนี้
    คำถามที่ หัวข้อคำถามโดยวันที่
    046157 การแก้ไขชื่อสกุลของบุตรคนทะเบียน24 มกราคม 2555

    คำถาม
    การแก้ไขชื่อสกุลของบุตร

    เรียน ท่านอาจารย์ที่เคารพ

           ผมมีประเด็นข้อกฎหมายที่รบกวนท่านอาจารย์กรุณาให้ความกระจ่าง ดังนี้ครับ ..ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจดทะเบียนหย่าตามคำสั่งศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง โดยศาลมีคำสั่งให้ทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงใช้อำนาจปกครองบุตรร่วมกัน โดยให้บุตร (อายุ ๗ ปี) อยู่กับฝ่ายหญิง

           ต่อมาฝ่ายหญิงได้ยื่นคำร้องเพื่อขอให้นายทะเบียนแก้ไขชื่อสกุลของบุตรจากชื่อสกุลของฝ่านชายมาเป็นชื่อสกุลของฝ่ายหญิง ซึ่งนายทะเบียนก็ได้ดำเนินการให้ตามคำร้องโดยที่ฝ่ายชายไม่ทราบเรื่อง 

           เมื่อฝ่ายชายทราบเรื่องดังกล่าวก็ได้ยื่นเรื่องคัดค้านการดำเนินการของนายทะเบียนว่าเป็นการออกคำสั่งที่ไม่ชอบ ซึ่งนายทะเบียนได้ยกเลิกคำสั่งเดิมและแก้ไขชื่อสกุลของเด็กกลับไปเป็นชื่อสกุลของฝ่ายชายดังเดิมโดยไม่ได้แจ้งเรื่องให้ฝ่ายหญิงทราบ

           ภายหลังจากที่ฝ่ายหญิงทราบเรื่องก็ได้ยื่นคัดค้านคำสั่งของนายทะเบียนโดยอ้างเหตุผลว่าการขอแก้ไขชื่อสกุลของบุตรจากชื่อสกุลของฝ่ายชายมาเป็นชื่อสกุลของฝ่ายหญิงนั้นเป็นความประสงค์ของบุตร ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิของผู้ใช้อำนาจปกครอง โดยเด็กมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของมารดาโดยปราศจากข้อขัดข้องทางกฎหมาย ตาม ปพพ.มาตรา ๒๒ ที่ว่าผู้เยาว์อาจทำการใดๆ ได้ทั้งสิ้นหากเป็นเพียงเพื่อจะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนี่ง.. และมาตรา ๒๓ ที่ว่าผู้เยาว์อาจทำการใดๆ ได้ทั้งสิ้นซึ่งเป็นการต้องทำการเองเฉพาะตัว

    คำถามได้แก่

    ๑. กรณีฝ่ายหญิงและฝ่ายชายใช้อำนาจปกครองบุตรร่วมกัน การจะขอแก้ไขชื่อสกุลของบุตรให้แตกต่างไปจากเดิม หรือการทำนิติกรรมใดๆ เกี่ยวกับบุตร จำเป็นจะต้องได้รับความยินยอมจากฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย (ทั้งสองฝ่าย) และหากไม่สามารถติดตามตัวฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะด้วยเหตุใดก็ตาม จะต้องร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งจึงจะดำเนินการได้ ถูกต้องหรือไม่ครับ

    ๒. การที่ฝ่ายหญิงยกเหตุผลในเรื่องความประสงค์ของเด็ก และ ปพพ.มาตรา ๒๒ และมาตรา ๒๓ เพื่อสนับสนุนการขอแก้ไขชื่อสกุลของบุตรในครั้งแรกนั้น ถูกต้องหรือไม่ เพราะอะไร ขอคำอธิบายด้วยครับ

    ๓. ในการยกเลิกคำสั่งทางปกครองที่ออกไปโดยไม่ถูกต้องนั้น นายทะเบียนสามารถดำเนินการได้เลย หรือจะต้องแจ้งให้คู่กรณี (ฝ่ายหญิง) ทราบเพื่อเปิดโอกาสให้โต้แย้ง แสดงข้อเท็จจริงก่อนจึงจะดำเนินการยกเลิกคำสั่งได้

    ๔. ในการอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนที่แก้ไขชื่อสกุลของเด็กกลับไปเป็นชื่อสกุลเดิมนั้น คู่กรณี(ฝ่ายหญิง)ได้ขอให้นายทะเบียนแก้ไขคำสั่งเพื่อให้เด็กมีชื่อสกุลของฝ่ายหญิงไปก่อนจนกว่าการพิจารณาอุทธรณ์จะสิ้นสุด กรณีนี้จะสามารถดำเนินการตามที่ร้องขอได้หรือไม่ เพราะอะไร

    ๕. ท่านอาจารย์ช่วยกรุณาแนะนำด้วยครับว่า กรณีปัญหาดังกล่าวข้างต้นควรดำเนินการอย่างไรดี เพราะที่ผ่านมาไม่ว่าจะดำเนินการไปทางใดก็จะเกิดการโต้แย้งจากอีกฝ่ายซึ่งเสียประโยชน์

    ขอบพระคุณท่านอาจารย์มากครับที่กรุณาให้คำแนะนำ         

    คำตอบ
    การที่ฝ่ายหญิงยกข้ออ้างอย่างที่เล่ามา แสดงว่าเขามีทนายความคอยแนะนำ คำถามที่ถามมานั้น ถ้าตอบ ก็คงต้องตอบโดยอาศัยข้อเท็จจริงเพียงเท่าที่เล่ามา ซึ่งอาจคลาดเคลื่อนได้ ในกรณีที่ข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อน คำตอบก็จะพลอยคลาดเคลื่อนด้วย ทางที่ดีจึงควรปรึกษาทนายความ เพื่อเขาจะได้ซักไซร้รายละเอียดได้ครบถ้วน
    มีชัย ฤชุพันธุ์
    24 มกราคม 2555